โรคปริทันต์อักเสบ สามารถเกิดขึ้นหากไม่รักษาปัญหาเหงือกอักเสบ โรคนี้มีสาเหตุมาจากการสะสมของคราบพลัคที่ด้านบนและด้านล่างแนวเหงือก (ส่วนที่เหงือกมาสัมผัสกับฟัน) ซึ่งอาจทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่รองรับฟันของคุณได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถคืนสภาพเดิมได้อีก ความเสียหายของเนื้อเยื่ออาจทำให้เหงือกแยกออกจากฟัน ทำให้เกิดช่องว่างหรือ ‘ร่อง’ ขนาดเล็กที่เป็นที่สะสมคราบพลัคและเกิดการติดเชื้อได้ เมื่อปัญหารุนแรงขึ้น กระดูกก็จะเริ่มกร่อน และหากไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลให้ฟันโยกคลอนได้ ซึ่งฟันก็จะหลุดออกหรือต้องให้ทันตแพทย์ถอนออกไป
โรคเหงือกเป็นหนึ่งในโรคช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม โดยโรคเหงือกนั้นมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ ก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือก และเนื้อเยื่อปริทันต์รอบๆ ที่ช่วยพยุงฟัน ทำให้เกิดฟันโยก จนนำไปสู่การสูญเสียฟันในที่สุด ดังนั้นจึงควรรักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี แปรงฟันให้สะอาด และพบทันตแพทย์เป็นประจำ
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์
อธิบดีกรมการแพทย์
ด้านทันตแพทย์อำนาจ ลิขิตกุลธนพร ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคเหงือกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามความรุนแรง คือ โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ โดยโรคเหงือกอักเสบนั้นจะเกิดจากแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ทำให้เกิดการอักเสบเฉพาะบริเวณเหงือก ทำให้เหงือกมีสีแดงคล้ำ บวมแดง แปรงฟัน มีเลือดออกง่าย มีกลิ่นปาก ซึ่งหากได้รับการรักษาที่เหมาะสมเหงือกจะสามารถกลับไปสู่สภาพเดิมได้ แต่หากปล่อยไว้ ไม่รักษา จะนำไปสู่การเกิดโรคปริทันต์อักเสบ คือ เกิดการทำลายของเอ็นยึดปริทันต์และการละลายของกระดูกเบ้าฟันตามมา โดยอาการเริ่มแรกของโรคคนไข้มักไม่รู้สึกเจ็บหรือปวด แต่เมื่อโรคเป็นรุนแรงมากขึ้นอาจมีเหงือกบวมเป็นหนอง คนไข้มักจะมาพบทันตแพทย์ด้วยอาการฟันโยก ฟันยื่นยาว เคี้ยวอาหารเจ็บ แต่ฟันเหล่านี้ก็มักจะไม่สามารถรักษาได้ และถูกถอนไปเนื่องจากมีการทำลายของกระดูกเบ้าฟันไปมากแล้ว
ดังนั้นจึงต้องหมั่นสังเกตสภาพของช่องปากของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และป้องกันการเกิดโรคเหงือกโดยการแปรงฟันให้ทั่วถึงอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับการทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละครั้งเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน