การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย COVID-19 เมื่อออกจากโรงพยาบาลไปพักฟื้นที่บ้าน

ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานพักฟื้น  ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยนี้ ส่วนใหญ่จะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายสนิท แต่ในช่วงปลายสัปดาห์แรก ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการมากขึ้นได้ ผู้ป่วยต้องคอยสังเกตอาการ เมื่อไม่แน่ใจ โทรศัพท์ปรึกษา หรือเข้าไปรับการตรวจประเมินที่โรงพยาบาลก่อน ก็จะทำให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้

ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรืออาการดีขึ้นแล้ว แต่เชื้อไวรัสโควิด-19 อาจจะยังมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ยาวนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หลังจากเริ่มป่วย ดังนั้น ผู้ที่ป่วยจึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อยอย่างน้อย 2 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย   เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เช่น เริ่มมีไข้วันที่ 1 มีนาคม เข้าโรงพยาบาล วันที่ 3 มีนามคม  ออกจากโรงพยาบาล กลับบ้านวันที่ 9 มีนาคม ควร แยกตัวอยู่บ้าน อย่างน้อยถึง 15 มีนาคม เป็นต้น 

การปฏิบัติตนเมื่อออกจากโรงพยาบาลไปพักฟื้นที่บ้าน

  • สวมแมสก์เมื่ออยู่ร่วมกัน
  • ควรแยกห้องนอน/ห้องน้ำจากผู้อื่นหรือทำความสะอาดหลังใช้ทุกครั้ง
  • ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่เป็นประจำ
  • เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร
  • ทานอาหารสุก มีประโยชน์และดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ไม่ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

หากมีอาการป่วยเกิดขึ้น เช่น ไข้สูง, ไอมาก, เหนื่อย, หายใจลำบาก, แน่นหน้าอก, หอบ, เบื่ออาหาร ให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีและแนะนำให้สวมแมสก์ตลอดการเดินทาง

ขอบคุณข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข / สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *