Kitchen Therapy สุขภาพจิตดีเพราะครัวบำบัด

มีใครอยู่บ้านเหมือนกันไหม นอกจากทำงานอยู่บ้าน แต่กองทัพก็ต้องเดินด้วยท้อง เข้าห้องครัววนไปค่ะ แต่จะทำยังไงให้ห้องครัวน่าใช้งานทุกวัน BuddyNews มีเคล็ดลับมาบอกทั้งเรื่องของการจัดแต่งครัว ข้อดีของการทำอาหารและประโยชน์ของอาหารแต่ล่ะอย่าง ว่ามีความเหมาะสมกับคนทำงานอย่างเราๆและสำหรับบางท่านที่มีอาการของโรคซึมเศร้าอีกด้วยนะคะ

การอยู่บ้านเพื่อหยุดเชื้อ แต่อยู่บ้านเราก็ต้องรอดด้วยเพื่อไม่ให้เรามีอาการเครียดมากกว่าเดิม หรือบางท่านมีอาการซึมเศร้าแย่ลง ช่วงนี้ห้องครัวน่าจะเป็นห้องที่หลายบ้านใช้งานบ่อยมากกว่าปกติ ออกไปไหนไม่ได้ นอกจากสั่งอาหารมาทาน กินอาหารสำเร็จรูป หลายคนหันมาทำอาหารทานเอง เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย วันนี้เรามีตัวช่วยดีๆ ในการจัดระเบียบห้องครัว รวมไปถึงตกแต่งห้องครัวให้น่าใช้งานเพื่อเปลี่ยนมุมจืดให้กลายเป็นมุมสุดโปรด ทำอาหารทุกๆ วันได้อย่างไม่น่าเบื่อ พร้อมทำความสะอาดห้องครัวแบบง่ายๆ มาบอกกัน

หมั่นเช็ดคราบสกปรกให้ทั่วถึง เนื่องจากทำอาหารทานเองทุกวัน กลิ่นไม่พึงประสงค์ รวมไปถึงคราบสกปรกต่างๆ คราบน้ำมัน ต้องมาเยือนเป็นแน่ หากไม่ทำความสะอาดอย่างห้องครัวอย่างสม่ำเสมอ นอกจากเก็บล้างจาน อุปกรณ์ต่างๆ ที่เราปรุงอาหารเสร็จแล้ว ควรหมั่นเช็ด ถู พื้นทุกวัน รวมไปถึงบนเคาน์เตอร์ครัว และขจัดคราบอ่างล้างจานโดยใช้แปรงสีฟันเก่าขัดทุกซอกทุกมุมที่เข้าถึงยาก เพราะเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย จากที่เคยใช้น้ำยาธรรมดาในช่วงนี้อาจใช้น้ำยาทำความสะอาดผสมน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อความสบายใจก็ได้ ที่สำคัญเลยต้องกำจัดเศษอาหารถูกวันเพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมมด้วยนะคะ

อาหารคลายเครียด ตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

อาจารย์ชินริณี วีระวุฒิวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า คนแต่ละช่วงวัยมีความเครียดแตกต่างกันไป การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัยจึงสำคัญมากเช่นกัน อาจารย์จึงอยากแนะนำอาหารที่กินแล้วอารมณ์ดี และช่วยคลายเครียด ซึ่งเป็นเมนูง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

มะเขือเทศ – อาจารย์ชินริณี ให้คำแนะนำว่า มะเขือเทศมีกาบาสูง ช่วยให้สมองรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยคลายเครียด เมนูก็จะทำง่ายกินง่าย อย่างเช่น ไข่เจียวมะเขือเทศ ซุปไก่ใส่มะเขือเทศ เป็นต้น

ข้าวโพด – มีสารเซโรโทนิน ที่ช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลาย สงบ และสามารถรับมือต่อความเครียดได้ดี แต่ถ้าเครียดฮอร์โมนเซโรโทนินจะลดลง

น้ำผึ้ง – การกินน้ำผึ้งครึ่งช้อนชาก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่าย และนอนหลับสนิทมากขึ้น ตื่นเช้ามาจะรู้สึกสดชื่น เหมาะกับผู้สูงอายุ และผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ

กล้วยหอม – การกินกล้วยหอม 1 ลูก ในตอนเช้าก่อนทำงาน จะช่วยให้อารมณ์ดี เพราะในกล้วยหอม มีเซโรโทนิน และกล้วยหอมยังช่วยแก้ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด ได้อีกด้วย

โสม – อาจารย์ชินริณี ให้คำแนะนำในผู้สูงอายุว่า การดื่มโสม จะช่วยลดความเครียด เพราะโสมมีวิตามินบี 12 ทำให้ระบบประสาททำงานได้ดี และช่วยลดความเครียดได้ หรือจะเป็นสมุนไพรไทยก็ได้อย่าง ‘โสมกระชายดำ’ ซึ่งช่วยปรับสมดุลร่างกายด้วย

น้ำมะนาว น้ำอัญชัน น้ำกระเจี๊ยบ – น้ำเหล่านี้จะมีรสเปรี้ยว ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว มีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี หรือจะเป็น ‘น้ำมะตูม’ ก็ได้ ซึ่งช่วยปรับฮอร์โมน และรักษาสมดุลในร่างกายด้วย

นอกจากนี้ อาจารย์ชินริณี ยังพูดถึงการดูแลสุขภาพการกินของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ด้วยว่า “ภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่เป็นอาการที่ฮอร์โมนในร่างกายไม่เท่ากัน มีเซโรโทนินน้อยเกินไป นั่นก็หมายถึง ร่างกายไม่มีความสมดุลนั่นเอง หากต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน จึงควรกินเนื้อสัตว์ เพราะในเนื้อสัตว์มีสารโดพามีน ไม่ว่าจะเป็น ไก่ หมู เนื้อ ปลา รวมทั้ง ไข่ และนมด้วย”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *