สูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 รุนแรง

การสูบบุหรี่มักจะก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มะเร็งปอด ระบบภูมิคุ้มกันจะลดต่ำกว่าคนปกติ และการสูบบุหรี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงหากติดเชื้อโควิด-19 ได้มากกว่าคนปกติ 5-14 เท่า เมื่อป่วยแล้วมักมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากทำให้เชื้อโควิด-19 ผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภัยจากการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นอันตรายต่อเซลล์ของปอดและลดความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจาก COVID-19

A closeup shot of a person lighting a cigarette in front of a black background

อีกทั้งการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ยังเป็นตัวการในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสู่ผู้อื่น เนื่องจากควันหรือละอองไอของบุหรี่ที่ถูกพ่นออกมาก ประกอบด้วยสารคัดหลั่ง น้ำลาย เสมหะ และแบคทีเรีย ที่สามารถกระจายไปได้ไกล หากผู้สูบบุหรี่เป็นผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว อีกทั้งควันของบุหรี่ไฟฟ้า มีสารโลหะหนัก เช่น นิเกิล โครเมียม ที่มีพิษต่อปอด แคดเมียมที่มีพิษต่อไต และสารก่อมะเร็ง เช่น เบนซีน อะเซตตัลดีไฮด์ และบุหรี่ไฟฟ้ายังมีการปลดปล่อยอนุภาคขนาดเล็ก PM 2.5 ที่แทรกซึมเข้าร่างกาย เป็นการสะสมพิษไปก่ออันตรายในอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย จึงขอแนะนำให้เลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจาก COVID-19 ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *