[PSUBLaw] “กฎหมายร่างทรง” ในสังคมยุค 4.0

เรื่องของ “ความเชื่อ” เกี่ยวกับวิญญาณหรือเทพจากลัทธิต่างๆ  หรือสิ่งที่เหนือการพิสูจน์ของวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยยังมีให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกวันนี้คนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียที่นำเสนอเนื้อหาในประเด็นนี้มากมายหลากหลายรูปแบบ ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อในเรื่องนี้ไปโดยไม่รู้ตัว  รวมถึง “ร่างทรง” ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีกรรมและความเชื่อรูปแบบหนึ่งด้วย ประเด็นในเรื่องการกระทำการเป็นร่างทรงกับประเด็นทางกฎหมายนั้น หากจะกล่าวถึงบริบทภายใต้สังคมไทยนั้นถือได้ว่าเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากเกี่ยวพันกับความเชื่อและจิตใจของคนนั่นเอง 

การมีความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ผิดอีกทั้งเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคล แต่ถ้าหากว่าความเชื่อนั้นก่อให้เกิดปัญหาและทำให้บุคคลใดเดือดร้อนหรือเกิดความเสียหาย การถูกหลอกลวง หรือฉ้อโกงผ่านการแอบอ้างเป็นร่างทรงเทพต่าง ๆ ของบุคคล และการอ้างถึงการมีญาณทิพย์แล้วหลอกขอยืมเงินไปหรือในบางกรณีถึงขนาดเป็นการกระทำความผิดอาญา เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยภาพรวม 

การรักษามาตรฐานให้สังคมดังกล่าวอยู่และขับเคลื่อนต่อไปได้โดยความสงบเรียบร้อย ผู้รักษากฎระเบียบ เจ้าหน้าที่ภาครัฐหรือนักกฎหมายอาจจำเป็นต้องบังคับใช้และสร้างเครื่องมือทางกฎหมายขึ้นมาเพื่อลงโทษและเอาผิดกับความเชื่อหรือบุคคลที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหาย

ในปัจจุบัน ความผิดที่อาจเกิดขึ้นจากความเชื่อในเรื่องร่างทรงสามารถเกิดขึ้นได้ และประชาชนสามารถตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย เพราะการกระทำความผิดเกิดขึ้นจากการสื่อสารกันผ่านสื่อออนไลน์ การกระทำความผิดส่วนมากจะเกิดขึ้นผ่านการหว่านล้อมประชาชนด้วยความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น การแก้กรรม ทำพิธียกบายศรีเสริมความเป็นมงคลแล้วชีวิตจะราบรื่น ลงท้ายด้วยการวางแผนเอาไว้ของผู้กระทำผิดเพื่อต้องการพาไปร่วมเสพยาเสพติดหรือการทำอนาจาร หรือการหลอกลวงในเชิงทรัพย์สิน ทำให้กฎหมายจำเป็นต้องกำกับดูแลการกระทำบนฐานความเชื่อข้างต้น

รับฟัง Podcast รายการรู้กฎหมายง่ายนิดเดียว ตอน กฎหมายร่างทรง ||

ขอบคุณข้อมูล | ดร.ณัชชา สุขะวัธนกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, bangkokbiznews

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *