กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์

กฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมและป้องกันโรคระบาด มีความสำคัญมาก เพราะการเกิดโรคระบาดสร้างความสูญเสียในแง่เศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้สัตว์ป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เชื้อโรคบางชนิดยังสามารถแพร่กระจายจากสัตว์มาสู่คนได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขอนามัยของผู้คนในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องโรคระบาดสัตว์ จึงได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน

เนื้อหาสาระสำคัญอย่างเช่น 1. เจ้าของสัตว์มีหน้าที่ป้องกันและควบคุมโรคระบาด โดยการป้องกันโรคระบาดต้องจัดให้มีการป้องกันโรค เช่น แยกพื้นที่อาศัยและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ การทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงสัตว์การเก็บรักษาอาหารและยา เป็นต้น (ยกเว้น สุนัขและแมว) ถ้านำสุนัขและแมวไปที่สาธารณะจะต้องมีอุปกรณ์ควบคุมดูแล เช่น สายจูงและปลอกคอ

2. ดูแลสุขภาพสัตว์อย่างสม่ำเสมอ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรค ทดสอบโรค จดบันทึกการตรวจ การรักษาโรค เป็นต้น

3. ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์ : ช้าว ม้า โค กระบือ แพะ แกะ กวาง สุกร หมูป่า สุนัขและแมว นก ไก่ เป็ด ห่าน

4. ถ้านำสุนัขและแมวไปที่สาธารณะจะต้องมีอุปกรณ์ควบคุมดูแล เช่น สายจูงและปลอกคอ

5. การควบคุมโรคระบาดสัตว์ ต้องจัดให้สัตว์อยู่ในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ห้ามยานพาหนะหรือบุคคลภายนอกเข้าไปในสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยเด็ดขาด เว้นแต่เป็นการเข้าไปเพื่อการควบคุมโรค

บทลงโทษทางกฎหมาย: จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและปรับเป็นรายวัน วันละไม่เกิน 1,000 บาทจนกว่าปฏิบัติให้ถูกต้อง

รับฟัง Podcast รายการรู้กฎหมายง่ายนิดเดียว ตอน กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์ โดย ผศ.ดร.กฤษรัตน์ ศรีสว่าง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ||

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *