ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช สงขลา แนะวิธี ป้องกัน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ศัตรูสำคัญชาวสวนทุเรียนภาคใต้

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช สงขลา
แนะวิธีป้องกัน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ศัตรูสำคัญชาวสวนทุเรียนภาคใต้

ศัตรูตัวร้ายทำลายทุเรียน
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (Durian Seed borer)

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนเข้าดักแด้ในดินประมาณ 1 – 9 เดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและความชื้นในดิน เมื่อฟักออกมาจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวบริเวณผลทุเรียน และฟักเป็นตัวหนอนเข้าทำลายทุเรียนระยะพัฒนาผลตั้งแต่ 2 – 3 สัปดาห์ เป็นต้นไป หนอนจะเจาะเข้าไปในผลทุเรียนและมีการมูลสีน้ำตาลเข้มปกคลุมบริเวณรูทางเข้าและกัดกินเมล็ดอยู่ภายในผล จนกระทั่งเมื่อหนอนโดตเต็มวัยพร้อมเข้าดักแด้หรืออาหารไม่เพียงพอ จะจเาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน หรือ หาแหล่งอาหารใหม่เพื่อให้เจริญเติบโตได้ครบวงจนชีวิต

การติดตามและเฝ้าระวัง

  1. สำรวจและทำความสะอาดแปลงอย่างสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการเข้าทำลายในช่วงระยะพัฒนาผล ตั้งแต่ 2 – 3 สัปดาห์ เป็นต้นไป
  2. ควรใช้กับดักแสงไฟเพื่อตรวจดูตัวเต็มวัย โดยเฉพาะหลังฝนตกหนัก

การป้องกันและกำจัด

  • กำจัดวัชพืชเพื่อลดแหล่งหลบซ่อน และใช้เชื้อราเมตาโรเซียมรดหรือหว่านให้ทั่วแปลงเพื่อกำจัดดักแด้ ทุก 15 วัน ติดต่อกัน 5 ครั้งตั้งแต่ระยะดอกบาน
  • ใช้ควันไฟไล่ตัวเต็มวัยและรบกวนการผสมพันธุ์ในช่วงเวลาค่ำ โดยใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดควันและใส่กำมะถัน ในระยะพัฒนาผล 2 – 6 สัปดาห์
  • เก็บผลทุเรียนที่ถูกทำลายหรือร่วงหล่นไปเผาทำลาย
  • ใช้วัสดุห่อผล เช่น ถุงกระดาษ ถุงตาข่าย ถุงพลาสติกขาวขุ่น หรือถุง Magik growth เป็นต้น ในระยะพัฒนาผล 3 – 6 สัปดาห์ และควรพ่นสารกำจัดแมลง เช่น สารสกัดสะเดา เชื้อราบิวเวอเรีย หรือคาร์บาริล (MoA 1A) ก่อนการห่อผล
  • หากพบการระบาด ให้พ่นสารคาร์บาริล (MoA 1A) หรือเดลทาเมริน (MoA 3A) หรือ แลมบ์ดา – ไซฮาโลทริน (MoA 3A)

ข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *