การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ม.สงขลานครินทร์ จัดประกวดผลิตภัณฑ์ยางพาราส่งเสริมและพัฒนาเกษตรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง สู่ start up ยางพารา โดยรับสมัครนิสิต นักศึกษา เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยางรวมทั้งผู้สนใจเข้าโครงการพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดงานวิจัย และนวัตกรรมยางพาราไปสู่เชิงพาณิชย์ มีการบ่มเพาะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้พร้อมสู่การแข่งขันด้วยการอบรมทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ มาตรฐานการตลาด การขนส่ง ทรัพย์สินทางปัญญา การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ฯ ความร่วมมือระหว่าง กยท. และ ม.อ.พัฒนา 4 โปรแกรม คือโปรแกรมที่ 1 Design Contest หรือ I2D จำนวน 16 ทีม โปรแกรม ที่ 2 Idea to Prototype หรือ I2P (ไอเดีย/แนวคิดธุรกิจเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพารา ) 1จำนวน 9 ทีม โปรแกรมที่ 3 Product to Market หรือ P2M ( การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด ) จำนวน 5 ทีม โปรแกรมที่ 4 Product to Global/Market หรือ P2GM (การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราที่อยู่ในตลาดเมื่อเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ) จำนวน 3 ทีม
รศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ม.อ. เล่าว่าโครงการนี้เน้นทำความฝันให้เป็นจริง ให้คนมีไอเดียเข้ามาร่วมโครงการแล้วโครงการก็สร้างให้คนที่มีแค่ไอเดียทำแผนธุรกิจ สุดท้ายเกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบกับแผนธุรกิจไปทดลองกับตลาด นับเป็นการสร้างสรรค์การใช้งานยางพาราในมิติที่กว้างมากขึ้น โดยกลุ่มไอเดียยางพาราล้อตามเทรนด์ของสังคม เช่นสังคมผู้สูงอายุ หรือ health and wellness หรือเทรนด์การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะเห็นว่ายางพาราจะอยู่ในอุตสาหกรรมใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีงานวิจัยและองค์ความรู้ที่เหมือนเป็นซอฟ์แวร์ ทำงานร่วมกับการยางแห่งประเทศไทยก็เป็นหน่วยงานหลักที่พัฒนายางพาราอยู่แล้ว
คุณภานุพงศ์ ชูสิงห์แค นักวิชาการการส่งเสริมการเกษตร 6 การยางแห่งประเทศไทย สาขารัตภูมิ กล่าวเสริมว่า การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. ร่วมกับ ม.สงขลานครินทร์พัฒนาเรื่องยางพามารามาโดยตลอด ซึ่งในทัศนะของคุณภานุพงศ์มองว่างานสตาร์ทอัพยางพาราปีนี้น่าพอใจมากที่สุด ปีแรกที่จัดงานอาจยังไม่มีความพร้อม งานเลยจับทิศทางไม่ค่อยได้ แต่ปีนี้คาแรคเตอร์สตาร์ทอัพค่อนข้างชัดเจน ความเป็นตัวตนของผู้เข้าประกวดสะท้อนในผลิตภัณฑ์ยางพารา หลายชิ้นงานจะเห็นมุมมองการออกแบบที่ ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และก่อนที่จะได้ผลิตภัณฑ์ โครงการสนับสนุนโค้ชดูแลผู้เข้าประกวดกว่า 10 ชม.พร้อมด้วยเงินจำนวนหนึ่งเพื่อพัฒนาต้นแบบ ที่สำคัญโครงการยังเปิดกว้างไม่ว่าจะนิสิตนักศึกษา เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมโครงการได้
ด้านความคิดเห็นของตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับการอบรมการจักสานจากวัสดุหวายเทียมจากยางพาราจนเกิดกลุ่มฯในชุมชนและได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าร่วมพัฒนาและได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทชุมชนและรางวัล popular vote คุณสุชาดา นาคเล็ก ประธานกลุ่มวิสาหกิจจักสานยางพารา ต.ป่าแก่บ่อหิน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ซึ่งเรียนรู้การจักสานจากเส้นหวายเทียมยางพาราและสร้างกลุ่มวิสาหกิจฯเพราะต้องการสร้างอาชีพให้กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในชุมชนกล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า ดีใจที่ได้รับรางวัลเพราะอายุของกลุ่มประมาณ 7 เดือน ได้เข้าร่วมโครงการสตาร์ทอัพที่ กยท.จับมือกับม.อ.และ อยากสร้างกลุ่มให้เข้มแข็งกว่าเดิม อยากได้ความรู้ด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และความรู้เรื่องการพัฒนาการตลาดอีกด้วย
ผลการประกวดผลิตภัณฑ์ในโครงการ
ชนะเลิศอันดับ 1 Product to Market หรือ P2M หนังเทียมวัสดุทางการเกษตรและยางพารา
ชนะเลิศอันดับ 1 Idea to Prototype หรือ I2P product &service ทุ่นลอยน้ำยางพารา
ชนะเลิศอันดับ 1 Design Contest หรือ I2D ประเภทชุมชน สืบสานกลุ่มทะเลน้อยลำปำ /ชนะเลิศประเภทบุคคล Green Ocean เดอะริชเฮ้าส์ดีไอวายแอนด์คราฟท์
ชนะเลิศอันดับ 1 Product to Global/Market หรือP2GM รองเท้าโคจากยางพารา