นักวิจัยคณะวิทย์ ม.อ. สร้างนวัตกรรม “Green plate” จานจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

จากปัญหาขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก และกล่องอาหารพร้อมทานที่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ถึงแม้บรรจุภัณฑ์บางชนิดสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ แต่ก็ใช้เวลานานจนทำให้เกิดการกำจัดขยะอย่างผิดวิธีเช่นการเผาจนเกิดปัญหามลภาวะเป็นพิษ คณะนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการลดใช้ Single use plastic โดยการนำโจทย์ปัญหาจากชุมชนมาแก้ไขและต่อยอดเป็นนวัตกรรมจานจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมภูมิปัญญาจากชุมชน

อ่านต่อ →

ม.สงขลานครินทร์ คิดค้นอุปกรณ์หนุนสะโพกจากยางธรรมชาติ สร้างความปลอดภัยให้ผู้สูงอายุ

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์หนุนสะโพก จากยางธรรมชาติ ประกอบด้วย แผ่นหนุนสะโพก และ ชุดหนุนสะโพกทำด้วยผ้ายืด ออกแบบเป็นเข็มขัดรัด สามารถลดแรงกระแทกได้ถึง ร้อยละ 37 มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อสะดวกต่อทุกสถานที่ในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถปรับได้ตามต้องการ ผลงานได้รับมาตรฐาน มอก. ๒๙๕๘-๒๕๖๒ และได้รับอนุสิทธิบัตรการออกแบบ และกระบวนการผลิต (หมายเลข 1703000630 และ 1703000631)

อ่านต่อ →

ทีมนักวิจัย ม.สงขลานครินทร์ ระบุชนิดโรคอุบัติใหม่ ใบร่วงยางพารา ได้สำเร็จเป็นรายงานแรกในโลก

จากสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงยางพาราที่เริ่มสำรวจพบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ในไทยพบระบาดครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และยังพบในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ได้แก่ ยะลา ตรัง พังงา ปัตตานี สุราษฎร์ธานี สงขลา กระบี่ และสตูล มีรายงานความเสียหายจากโรคใบร่วงยางพารามากกว่า 100,000 ไร่ โรคนี้สามารถพบได้ในยางพาราตั้งแต่ระยะต้นกล้าในแปลงเพาะชำจนถึงระยะในแปลงทุกช่วงอายุ สายพันธุ์ที่พบเป็นโรค ได้แก่ สายพันธุ์ RRIM 600, RRIT 251,PB 235 และ PB311 ซึ่งเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยาง ได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลง

อ่านต่อ →