นักวิชาการ ม.สงขลานครินทร์ แนะอย่ากินปลาจากแนวปะการัง กระทบสมดุลระบบนิเวศทะเล

แม้ปลาจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การบริโภคปลาบางชนิดที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลต่อโลกใต้ท้องทะเลได้ โดยเฉพาะปลาสวยงามที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังและคอยกินสัตว์น้ำตัวเล็กตัวน้อย รวมทั้งสาหร่ายและฟองน้ำทะเล ซึ่งปลาสวยงาม อย่างปลาสินสมุทรวงฟ้าที่มีความสำคัญต่อสมดุลระบบนิเวศทะเลเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ →

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคระบบหายใจ ม.สงขลานครินทร์ แนะวัณโรครักษาหายได้หากผู้ป่วยกินยาครบ พบหมอตามนัด

รศ.พญ.วรางคณา กีรติชนานนท์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตระบบหายใจ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า วัณโรคเป็นกลุ่มโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียMycobacterium tuberculosis พบมากในประเทศเขตร้อนชื้นสำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ทุกภูมิภาคและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยเนื่องจากพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในแต่ละปีค่อนข้างเยอะ วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่อกันง่ายผ่านละอองฝอยจากการไอและจามที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ (เชื้อที่แฝงอยู่ในละอองเสมหะประมาณ 30% สามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง) มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจหากผู้ป่วยได้รับเชื้อผ่านการสูดหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรงพบบ่อยที่สุด คือ วัณโรคปอด อาการเริ่มต้นส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการไอนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งอาการไอจะมีผลต่อทางเดินหายใจส่วนล่าง (ปอด หลอดลม) มีเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไอนานๆ มักก่อให้เกิดโพรงแผลในปอดและทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือดร่วมด้วยจะส่งผลให้มีการไอเป็นเลือด

อ่านต่อ →

“ไข่” ไร้ Food Waste พัฒนาเปลือกไข่ เป็นตัวดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ ในเฟอร์นิเจอร์และสารเคมีตกค้าง

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีการบริโภคไข่ ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่นกกระทา เป็นจำนวนหลายล้านฟอง ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรม เรียกได้ว่า “ไข่” เป็นวัตถุดิบยอดนิยม ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีเปลือกไข่จำนวนมหาศาล และด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่หลุมฝังกลบที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งแนวทางการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด การนำของเหลือทิ้งหรือของเสียต่างๆ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น เช่นเดียวกับแนวคิด “ทำอย่างไรเปลือกไข่ที่ไร้ค่าจะได้รับการนำมาใช้หรือผลิตให้เป็นประโยชน์” นี่จึงเป็นแนวคิดของงานวิจัยชิ้นนี้

อ่านต่อ →

สธ. เผย ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 ป้องกัน “โอมิครอน” ได้สูงขึ้น แนะ ปชช. ฉีดหลังครบ 3 เดือนทุกสูตร

กระทรวงสาธารณสุข เผยประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 จากการใช้จริงในจังหวัดเชียงใหม่ พบฉีด 2 เข็มป้องกันติดโอมิครอนไม่ได้ แต่ยังป้องกันเสียชีวิตได้สูง ฉีดเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อ 45-68% ป้องกันเสียชีวิตสูง 98% ส่วนเข็ม 4 ป้องกันติดเชื้อสูง 82% ยังไม่พบการเสียชีวิต เร่งจัดบริการฉีดเข็มกระตุ้นผู้สูงอายุให้ได้ 70% ก่อนสงกรานต์ พร้อมปรับแนวทางฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม อายุ 18 ปีขึ้นไป รับเข็ม 3 ได้หลังฉีด 2 เข็มครบ 3 เดือน ในทุกสูตร ส่วนเข็ม 4 ให้เว้น 4 เดือน อายุ 12-17 ปี รับเข็ม 3 ระยะห่าง 4-6 เดือน

อ่านต่อ →

นักวิจัยสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร ม.สงขลานครินทร์ ยกระดับพืชอัตลักษณ์ภาคใต้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเชิงพาณิชย์

ผศ.ดร.ปุณณาณี สัมภวะผล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (หน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ.) กล่าวว่า ภาคใต้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่มีทั้งความโดดเด่นและมีคุณประโยชน์หลากหลาย สำหรับการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 – 2564 ในพื้นที่ภาคใต่ฝั่วอ่าวไทยและอันดามัน จากการทำงานร่วมกันระหว่างกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ในการสำรวจพืชอัตลักษณ์ประจำของแต่ละจังหวัดและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการพัฒนาพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ได้แก่

อ่านต่อ →

ซีแพค จัดเสวนา CPAC Green Solution ล้ำเปลี่ยนโลก Roadshow อัพเดตเทรนด์และนวัตกรรมการก่อสร้างยุคใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานประเทศไทยประเดิมที่แรกภาคใต้ จ. สงขลา

วันนี้ (17 มีนาคม 2565) ซีแพค กรีน โซลูชัน ผู้นำด้านนวัตกรรมการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมเสวนา “CPAC Green Solution เปลี่ยนโลก Roadshow” เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจและประโยชน์ในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาผลักดันนวัตกรรมก่อสร้าง (Digital & Construction Technology) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการก่อสร้างแบบ “Turn Waste to Value” นับเป็นการยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างของประเทศไทยเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงการอัพเดทเทรนด์และนวัตกรรมการพัฒนางานก่อสร้างยุคใหม่ ตอกย้ำแนวคิด ‘ล้ำ เปลี่ยน โลก’ จาก CPAC Green Solution พร้อมบุกทั่วทุกภูมิภาค โดยประเดิมที่แรกภาคใต้ จ.สงขลา

อ่านต่อ →

โพสต์ไว้ที่: News เก็บเข้าไฟล์ไว้ที่:

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม.อ. แนะวิธีการดูแลเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 แบบรักษาตัวที่บ้าน (HI)

จากรายงานของกรมอนามัยถึงกรณีที่มีจำนวนเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น และกว่า 90% มีอาการไม่รุนแรง แต่มีกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ปกครองและคนใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19 ของคนในครอบครัว

อ่านต่อ →

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ม.สงขลานครินทร์ ชี้ Long COVID มีหลายอาการและอาจมีอาการนานกว่า 1 เดือน ควรได้รับการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง

“Long COVID คืออาการที่เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อโควิด-19 สามารถส่งผลกระทบต่อระบบในร่างกายและอาการที่พบแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง สมาธิสั้น มีอาการหลงลืม ท้องผูกเรื้อรัง ท้องอืด เบื่ออาหาร เป็นต้น โดยบางรายอาจมีอาการนานกว่า 1 เดือน

อ่านต่อ →

โพสต์ไว้ที่: News เก็บเข้าไฟล์ไว้ที่:

ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับ ม.ราชภัฏสงขลา ค้นเรื่องราวจีนที่เมืองสงขลา หนุนขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองมรดกโลก

เดินหน้าไปอีกหนึ่งก้าวสำคัญกับการนำสงขลาสู่มรดกโลก ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี ร่วมมือกันนำนักวิชาการของสองมหาวิทยาลัย ค้นเรื่องราวของชาวจีนที่เดินทางมายังเมืองสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2223 – 2385 เพื่อเป็นข้อมูลในการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลก

อ่านต่อ →

10 มีนาคม “วันสงขลา” ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

“จังหวัดสงขลา” เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด คือวันที่ 10 มีนาคม โดยนับเริ่มจากวันที่วางเสาหลักเมืองจังหวัดสงขลา ณ ศาลหลักเมืองสงขลา ถนนนางงาม อ.เมืองสงขลา โดยเป็นเสาหลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองที่ปรากฏจนถึงทุกวันนี้

อ่านต่อ →