บริษัท สยามอะโกรวิลล์ จำกัด ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ จัด “พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาการทำเกษตรแบบแม่นยำ” ในวันที่
27 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30-11.30 น. ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา โดยมี ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ กล่าวต้อนรับ และคุณสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวแสดงความยินดี
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ สะสมรวม 67,460 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต สำหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วย 6,781 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ พัทลุง (1,791 ราย) รองลงมาคือ นราธิวาส (1,666 ราย), สงขลา (1,541 ราย), ยะลา (748 ราย), ตรัง (530 ราย), ปัตตานี (263 ราย) และสตูล (242 ราย) โดยพบผู้ป่วยในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 38.58 รองลงมาคือกลุ่ม เด็กในปกครอง ร้อยละ 33.03 และอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 14.44
งาน Music Art Craft Coffee and Books (MACCaB) จัดโดยงานทุนการศึกษาและส่งเสริมทักษะอาชีพ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อให้นักศึกษาได้เปิดโลกทรรศน์ในการเรียนรู้ ให้สามารถเตรียมตัวเองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า เพื่อสร้างความเป็น PSU System ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายกิจกรรมสร้างสรรค์ระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ และประชาชน โดยกิจกรรมน่าสนใจในงานทั้ง 2 วัน นอกจากมีกิจกรรมสร้างสรรค์สนุกสนานและน่าเรียนรู้สำหรับทุกคนแล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์อาชีพ เช่น Workshop Coffee “Cupping กับการรู้จักกาแฟ” เสวนาหัวข้อ “ทิศทางกาแฟในปัตตานี และ หัวข้อ “หนังสือเปลี่ยนเมืองปัตตานี”
แมงกะพรุนหัวขวด มีลักษณะส่วนบนลอยโผล่พ้นน้ำคล้ายลูกโป่งรูปร่างรี ยาว คล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกส มีหนวดยาวสีฟ้าหรือสีม่วง มีเข็มพิษ (nematocyst) สำหรับป้องกันตัวและจับเหยื่อ กระจายอยู่ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหนวด (tentacle) สำหรับพิษของแมงกะพรุนหัวขวด มีผลต่อระบบประสาท หัวใจ และผิวหนัง ส่วนใหญ่ผู้ที่สัมผัสพิษจะมีอาการคัน และปวดแสบปวดร้อนในเบื้องต้น โดยการแสดงอาการของพิษในผู้ป่วยแต่ละบุคคลความรุนแรงจะต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย ความต้านทาน และปริมาณพิษที่ได้รับ
รศ.ดร.จรัล ลีรติวงศ์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ Prof. Dr. David M. Johnson: Biological Science Department, Ohio Wesleyan University, Delware, Ohio, U.S.A ดร.จิรัฐิ สัตถาพร: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมรา และ นายสุเนตร การพันธ์: สถานีวิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลบุหงาเซิง (Friesodielsia Steenis) ของพืชวงศ์กระดังงา (Annonaceae) จำนวน 2 ชนิดซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ฐาน WOS ระดับ Quartile 3 ชื่อวารสาร Phytotaxa
วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.ชิดชนก ลีธนะกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศสำหรับสุขภาพช่องปากและคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ลงนามความร่วมมือกับเทศบาลเมืองควนลัง โดยนายสมบูรณ์ ปัญญาธนกร นายกเทศมนตรีควนลัง เพื่อสร้างความเข้มแข็งต้นแบบในการเสริมสร้าง ป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปาก แก่ประชาชนชุมชนควนสันติ เทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผศ.ดร.ชิตชไม โอวาทฬารพร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.ให้ความรู้และแนะนำการใช้วิตามินซีว่า วิตามินมี 3 รูปแบบคือแบบกิน แบบทา และแบบฉีด โดยแบบแรกคือวิตามินซีสำหรับกิน ถ้าต้องการเสริมสุขภาพ ป้องกันหวัดจากเชื้อโวรัสกินปริมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนในเด็กไม่ต้องการเยอะเพราะเด็กกินอาหารอื่นด้วย เช่น นม เด็กที่กินนม ผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อก็เติมวิตามินซีเข้าไปด้วย เพราะการกินวิตามินซีเยอะเกินไปในเด็กอาจะทำให้ฟันผุเพราะวิตามินซีเป็นกรด ซึ่งเด็กมักจะกินวิตามินซีเหมือนกินลูกอม อมทุกวัน อมเช้า อมเย็น เด็กบางคนเจอว่าฟันผุทั้งปากเพราะกินวิตามินซีมากเกินไป
นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ปฏิบัติหน้าที่แทนปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าและการประชุมสัมมนานานาชาติด้านฮาลาล ประจำปี 2566 World HAPEX 2023 ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 12 โดยสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายในงานได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ ดร.อับดลรอหมาน กาเหย็ม ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี ผู้แทนจุฬาราชมนตรี กล่าวดุอาอ์ (ขอพร) ผศ. ดร.อัสมัน แตอาลี ผู้อํานวยการสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวรายงานการจัดงาน พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนเข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2566 นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 16 กรกฎาคม ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ม.อ. หาดใหญ่ ภายใต้แนวคิด “ฮาลาลเพื่อสุขภาพ”
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันจัดงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “พืชกระท่อม: พืชเศรษฐกิจใหม่ของไทย ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเป็นประธานในงานสัมมนานี้
วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมแถลงข่าว และสื่อมวลชนในการเตรียมจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ” และการประชุมวิชาการ เรื่อง “การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคตที่ยั่งยืน:โอกาส และความท้าทาย” วันที่ 9-10 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของภาคเครือข่ายภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น ประชาสังคม ประชาชน เครือข่ายสื่อมวลชน และภาคเอกชน วางเป้าหมายเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงาน “ภาคใต้แห่งความสุข” เพื่อให้คนใต้มีความมั่นคง 4 เรื่อง คือ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางมนุษย์ และความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้นำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสานพลังความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน