“คาร์บอนเครดิต” เครดิตจากการลดก๊าซเรือนกระจกที่ซื้อขายได้

“คาร์บอนเครดิต” เทรนด์ใหม่ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะในวงการกฎหมาย วงการธุรกิจ วงการอุตสาหกรรม หรือวงการท่องเที่ยว เราจะได้ยินการหยิบยกนิยามของคาร์บอนเครดิตเข้ามาพูด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรณรงค์ การอนุรักษ์ หรือการใช้เป็นสื่อโปรโมทความเป็น CSR การคำนึงถึงสังคมของแต่ละองค์กร แต่ละภาคส่วน ซึ่งคาร์บอนเครดิตให้ทำความเข้าใจง่ายๆ คือความเชื่อมโยงกันในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือว่า climate change “คาร์บอนเครดิต” เป็นนิยามระดับใหม่ตัวนึง ก็คือระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงก๊าซตัวอื่นๆที่มีการปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเรือนกระจก และ climate change

โดยวันนี้รายการรู้กฎหมายง่ายนิดเดียวได้รับเกียรติจาก ดร.ณัชชา สุขะวัธนกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะมาพูดคุยในแง่มุมของ สิ่งที่มีการซึมซับคล้ายๆกับตัวคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือว่าปริมาณคาร์บอนที่มหาสมุทร ทะเล หรือแหล่งน้ำดูดวับเอาไว้ โดยที่เราอ้างอิงจากกิจกรรมทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กิจกรรมทางทะเลในประเทศไทย”

แน่นอนว่าในอนาคต โครงการเหล่านี้อาจจะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่มาแรงในโลกธุรกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทยของเราที่ผู้ซื้อผู้ขายยังน้อย เนื่องจากอยู่ในตลาดภาคสมัครใจ ยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับชัดเจน ยังคงเป็นการตลาดที่มีอิสระในการซื้อขายอยู่พอสมควร การซื้อขายคาร์บอนเครดิต นอกจากจะช่วยในการจูงใจภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว ทั้งหลายให้หันมาลดการปล่อยก๊าซแต่พอดีในกระบวนการผลิตสินค้าของตนตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำแล้ว ยังช่วยให้ชุมชนมีรายได้ อีกทั้งยังช่วยให้โลกของเราควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงไปได้ ไม่ให้โลกร้อนขึ้นนั่นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *