คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี เปิดเวทีวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย และนานาชาติ ในหัวข้อความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับ หน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศร่วม 30 หน่วยงาน จัดประชุมมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย และนานาชาติ ในหัวข้อความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในระบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก H.E. Jyri Järviaho เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษเรื่อง การศึกษาที่เท่าเทียมของประเทศฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเวทีวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ ความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 โดยมีนักวิชาการทางการศึกษาหน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศร่วม 30 หน่วยงาน ร่วม 500 กว่าคน นำเสนองานวิจัยทั้งหมด 178 ผลงาน ประกอบด้วย 164 ผลงานสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ และ 14 ผลงานสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเวทีระดับชาติและนานาชาติ ในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาอย่างยั่งยืนและเสมอภาค โดยมี ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม กล่าวรายงานโดย รศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และกล่าวต้อนรับรับโดย ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี และปาฐกถาพิเศษโดย H.E. Jyri Järviaho เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย เรื่อง การศึกษาที่เท่าเทียมของประเทศฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย
รศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กล่าวว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศร่วม 30 หน่วยงาน จัดการประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 6 (The National and International Conference on Education 2023 (NICE) ในประเด็น ความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน : Cultivating Sustainable and Equitable Education for All” ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในระบบออนไลน์ เพื่อรวบรวมนักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาในอาเซียนและทั่วโลก ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อความร่วมมือในอนาคต การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การศึกษาที่เท่าเทียมของประเทศฟินแลนด์ โดย H.E. Jyri Järviaho เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย และการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ตลอดทั้งสามวัน โดยมีเจ้าภาพร่วมจาก 19 สถาบันสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ และ 20 สถาบันสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มีผลงานวิจัยทั้งหมดมี 178 ผลงาน ประกอบด้วย 164 ผลงานสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ และ 14 ผลงานสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
รศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 6 “ความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน” ในครั้งนี้มีหน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพร่วมจาก 19 สถาบันสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ และ 20 สถาบันสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย , ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา , ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี , ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 , College of Education and Human Development, University of Missouri ประเทศสหรัฐอเมริกา , College of Education, University of Illinois Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา , Amity Institute of Education, Amity University Uttar Pradesh ประเทศอินเดีย , Management and Science University ประเทศมาเลเซีย , Universitas Negeri Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย , Faculty of Education, Universiti Malaya ประเทศมาเลเซีย , Faculty of Human Development, Sultan Idris Education University ประเทศมาเลเซีย , School of Educational Studies, Universiti Sains Malaysia ประเทศมาเลเซีย , School of Education, College of Arts and Science, Universiti Utara Malaysia ประเทศมาเลเซีย , Faculty of Education, Universita Negeri Malang ประเทศอินโดนีเซีย , Postgraduate School, Universitas Negeri Medan ประเทศอินโดนีเซีย , วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ , คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช , คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี