มูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยปี 2565 ประมาณ 111,000 ล้าน พื้นที่เพาะปลูก 1,341000 ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่ปลูกเพราะทุเรียนยังราคาสูง แต่ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อทุเรียนคือโรคต่างๆ ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการจัดการส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง รศ.ดร.อนุรักษ์ สันป่าเป้า อาจารย์ประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์ สนใจศึกษากากสาคูเหลือทิ้งจากการทำแป้งสาคูจนได้ศึกษาวิจัยจนพบว่ากากสาคูมีคุณสมบัติที่ดีมากสำหรับเป็นอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อที่มีศักภาพในการต้านเชื้อก่อโรคในทุเรียน หรือ เชื้อStreptomyces NR8-2 จากกากสาคูเพื่อควบคุมโรคพืช”
อ.อนุรักษ์ ให้ความรู้ว่าเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีประโยชน์คือเชื้อสเตรปโตไมซีส NR8-2 ได้มาจากสวนปาล์มน้ำมัน ถ้าไม่ใช่นักวิจัยอาจไม่คุ้นเคยกับเชื้อชนิดนี้ แต่ถ้าบอกว่ากลิ่นดินหลังฝนตกคือกลิ่นที่เชื้อสเตรปโตไมซีสสร้างขึ้นคนทั่วไปอาจรู้สึกคุ้นเคย เชื้อชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการต้านเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ เช่น โรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ซึ่งเกิดการเชื้อรา เชื้อสเตร็ปโตมัยซีสมีฤทธิ์สร้างสารจัดการเชื้อราต้นเหตุโรคชนิดนี้ได้ และยังฆ่าเชื้อราสาเหตุโรคพืชอื่นๆ จุดเด่นของราชนิดนี้คือทนร้อนได้มากกว่า 100 องศา แม้แต่การนำเชื้อผสมปุ๋ยแล้วขึ้นรูปด้วยการอัดผ่านความร้อนสูงถ้าเป็นพวกเชื้อทั่วไปจะตายเมื่อโดนความร้อน แต่เชื้อตัวนี้มีคุณสมบัติทนความร้อนมากเหมาะกับสภาพอากาศประเทศไทย การเลี้ยงเชื้อจะใช้อาหารกระป๋องสูตรมาตรฐานมอลต์สกัดที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาแพง ขนาด 500 กรัม ราคากระป๋องละ 5000-6000 บาท ซึ่งงานวิจัยชั้นนี้มีเป้าหมายต้องการใช้วัสดุชุมชนอย่างกากสาคูทดแทนมอลต์ ซึ่ง อ.อนุรักษ์ ได้พัฒนาสูตรอาหารโดยใช้น้ำต้มกากสาคูเลี้ยงเชื้อสเตร็ปโมมัยซิส ผลปรากฎว่าเชื้อขยายตัวดีมากโดยไม่ต้องใช้มอลต์สกัด ไม่ต้องเพิ่มน้ำตาลเพราะกากสาคูมีแป้งที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลอยู่แล้ว ช่วยลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงเชื้อสเตรปโตไมซีส มีประโยชน์ด้านการเกษตร ใช้กากสาคูของเหลือจากการทำแป้งสาคู วัตถุดิบจากธรรมชาติ
อ.อนุรักษ์ ลงรายละเอียดการเตรียมกากสาคูที่จะนำไปเตรียมเป็นน้ำเลี้ยงเชื้อสเตรปโตไมซีสว่า ใช้กากสาคูเปียกที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการอะไรเลย ใส่น้ำแล้วต้ม รอให้เย็น ผสมยีสต์ จะได้น้ำเลี้ยงเชื้อเป็นอาหารเหลว แล้วนำไปฆ่าเชื้อที่อาจปนเปื้อนในอาหารเหลวด้วยการนึ่งความดันไอน้ำความร้อน 120 องศาเซลเซียส รอให้เย็นอีกครั้ง หลังจากนั้นนำเชื้อสเตรปโตมัยซีสที่เตรียมในห้องปฏิบัติการใส่ลงไป เข้าสู่กระบวนการหมักบ่ม7-10 วัน ซึ่งการเลี้ยงมี 2 แบบคือแบบหมุนเพื่อทำให้เชื้อสร้างโคโลนีเป็นเม็ดเล็กๆกับแบบไม่หมุนแต่ปล่อยให้เชื้อเจริญบนผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อ
นอกจากนั้นหากต้องการคุณสมบัติที่ดีอื่น ๆ ยังสามารถตัวเติมอื่น ๆ เข้าไป ซึ่ง อ.อนุรักษ์ ขยายความว่าตัวเติมเป็นสารธรรมธาติ ปลอดภัย เช่น ถ้าอยากให้ผักเจริญเติบโตดีก็เติมตัวเติมที่มีคุณสมบัติทำให้พืชเติบโตดี โดยกระบวนการศึกษาวิจัยได้ทดลองให้เกษตรกรได้ใช้จริงพร้อมมีการเก็บข้อมูล ยกตัวอย่างเช่นความร่วมมือระหว่างโครงการกับเกษตรกรในอ.พรหมคีรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช จากการเก็บข้อมูลจากเกษตรกรพบว่าต้นทุนการดูแลทุเรียน 1 ต้นกว่าจะออกผลใช้ค่าใช้จ่ายในการดูแลประมาณ 10,000 บาทต่อต้นต่อฤดูกาล เป็นค่าใช้จ่ายสารเคมีประมาณ 3000 บาทหรือ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อจัดการโรคท็อปหรือไฟท็อปเทอร่า ซึ่งวิธีการเดิมเกษตรกรจะถากผิวเปลือกลำต้นออก หลังจากนั้นจะเอาสารเคมีกลุ่มเมตาเร็กซิลทา ทีมวิจัยทดลองให้เกษตรกรลองใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อสเตรปโตมัยซีสระดับความเข้มข้นตามสูตรที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ