“ผ้าลีมาบาติก” ผ้าทอโบราณของจังหวัดชายแดนใต้

เดิมทีสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ม.อ. ทำหน้าที่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม พร้อมอนุรักษ์ผ้าทอโบราณของจังหวัดชายแดนใต้ รวมถึง “ผ้าจวนตานีหรือผ้าลีมา” ที่ได้มีประยุกต์จากเดิมทำเป็นแม่พิมพ์เหล็กที่ ใช้กระบวนการพิมพ์น้ำเทียนลงบนผ้า ลักษณะจะคล้ายกับผ้าบาติกทั่วไป ด้วยความตั้งใจในการถอดแบบจากลายผ้าจวนตานีให้มีความสวยงาม แปลกใหม่ แต่ยังมีภาพรวมของแต่ละลายก็ยังคงเค้าโครงลายเดิมอยู่  ผิดเพี้ยนไปจากเดิมไม่มาก มีรูปแบบดูร่วมสมัยมากขึ้น จึงตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ว่า “ผ้าลีมาบาติก”

คุณวิษณุ  เลิศบุรุษ
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี

อุปกรณ์หลักๆ ในการทำผ้าบาติกพิมพ์ลาย

–           แม่พิมพ์โลหะ  หรือแม่พิมพ์ไม้

–           เทียนผสมมสำเร็จรูป  สำหรับเขียนหรือพิมพ์ผ้าบาติก

–           ผ้าที่ใช้ในการพิมพ์ลาย  เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าซาติล  และผ้าคอตตอน  เป็นต้น

–           แท่นพิมพ์ผ้า  หรือโต๊ะสำหรับพิมพ์ผ้า

–           เฟรมสำหรับขึงผ้า

–           ภาชนะใส่น้ำเทียน

–           เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ซ

–           แปลงทาสี  และพู่กัน

–           สีย้อมผ้าสำหรับทำผ้าบาติก

–           โซเดียมซิลิเกต ใช้สำหรับแช่ผ้าทำให้สีติดกับผ้าได้ดี

“ผ้าจวนตานี คือผ้าที่มีร่องจวนพาดตัวผ้ากั้นระหว่างลายผ้า ระหว่างตัวผ้าและหัวผ้าจะคั่นด้วยล่องจวนในความยาวทั้งหมดของผ้าทั้งผืน โดยผ้าลีมาบาติกก็ยังคงเน้นรูปแบบของผ้าจวนที่มีล่องจวน ส่วนใหญ่ลายของผ้าจะเป็นลายที่ได้จากธรรมชาติ ทำการพิมพ์ลายแบบเต็มผืน ด้วยกรรมวิธีผลิตแบบโบราณและผสานเทคนิคที่ทันสมัยให้มีสีสัน ลวดลายโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ผู้พิมพ์ต้องมีทั้งประสบการณ์และความชำนาญในการพิมพ์”

ทุกขั้นตอน ทุกกระบวนการมีความจำเป็นต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนลงมือทำ เพราะบางขั้นตอนต้องใช้เวลาจำกัดและวิธีการที่สัมพันธ์กัน หากขาดความพร้อมเรื่องวัสดุอุปกณ์ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไป จะทำให้งานเกิดความเสียหาย ควรศึกษาวิธีการใช้การดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในการผลิต ในขณะเดียวกันก็จะสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากเครื่องมือ  ในขณะใช้งานอยู่ในแต่ละขั้นตอนอีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์สินค้า “ผ้าลีมาบาติก” สามารถสอบถามได้ที่ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ม.อ.ปัตตานี