Animal Welfare : หลักสวัสดิภาพสัตว์ในประเทศไทย

สวัสดิภาพสัตว์ คือการที่สัตว์ได้รับการเลี้ยงและดูแลให้สัตว์มีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม มีสุขอนามัยที่ดี มีที่อยู่สะดวกสบาย ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ หรืออธิบายง่ายๆคือ “ความสุขกาย สบายใจของสัตว์”

โดยยึดหลักการ 5 ประการ (Five Freedoms) ในการเลี้ยงและปฏิบัติต่อสัตว์ ได้แก่

  • อิสระจากความหิวกระหาย (Freedom from hunger and thirst)
  • อิสระจากความไม่สบายกาย (Freedom from discomfort)
  • อิสระจากความเจ็บปวดและโรคภัย (Freedom from pain injury and disease)
  • อิสระจากความกลัวและไม่พึงพอใจ (Freedom from fear and distress)
  •  ​อิสระในการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ (Freedom to express normal behavior)

แม้ว่ามาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ Animal Welfare หรือหลักสวัสดิภาพสัตว์ จะมีสหภาพยุโรป (อียู) เป็นผู้ริเริ่ม แต่ประเทศไทยก็ได้นำมาตรฐานนี้มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ประเทศไทย จึงมี การดำเนินการการดูแลภายใต้หลักการที่มุ่งเน้นให้สัตว์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีความเป็นอยู่สุขสบาย ปราศจากความทุกข์ทรมาน ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง

Animal Welfare กลายเป็นหลักเกณฑ์ในระดับนานาชาติ ด้วยมองว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก โดยได้หยิบยกหลักอิสรภาพ 5 ประการในการปฏิบัติต่อสัตว์ ประกอบด้วย ความเป็นอิสระจากความหิวกระหาย, อิสระจากความไม่สบายกาย, อิสระจากความเจ็บปวดและโรค, อิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน และอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติมาเป็นข้อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆอีกด้วย

อาจารย์อัจฉรา จันทน์เสนะ
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุลเลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) เขียนถึงเรื่องราว ก่อนมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 การกระทำการทารุณกรรมสัตว์นั้นเป็นความผิดกฎหมายของไทยตามกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2452 และในประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้ในปัจจุบัน พ.ศ.2499 เช่น ม.381 ทารุณสัตว์ ม.382 ใช้สัตว์ทำงานเกินควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากการทารุณกรรมสัตว์แล้ว ลักษณะของ “สัตว์”นั้นเป็นเพียงแค่ “ทรัพย์” ของมนุษย์ตาม ปพพ.เท่านั้น หากมีผู้ใดทำให้เสียหาย เสื่อมค่าไร้ประโยชน์ เป็นการกระทำต่อสัตว์ของตนเอง หรือสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ผู้กระทำนั้นย่อมไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์