สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันส่งผลให้ ศบค. ประกาศพื้นที่ล็อคดาวน์ ปิดสถานที่ต่างๆ รวมถึงเน้นการทำงานที่บ้นหรือ WFH เพื่อลดการแพร่ระบาดในเบื้องต้น ทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวล ความเครียด โดยกรมสุขภาพจิต ได้เปิดเผยสถิติของสายด่วนสุขภาพจิต 1323 (โทรฟรี) ว่า ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่าเดือนเมษายน 2564 มีประชาชนโทรเข้ามากที่สุด
แอปพลิเคชั่นคุยกัน (KhuiKun)
คุยกัน (KhuiKun) เป็นแอปพลิเคชั่นใหม่ ที่มีให้บริการบนแอปพลิเคชั่นไลน์ เป็นบริการสุขภาพจิตให้การปรึกษาเบื้องต้น ในกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสุขภาพจิต เพื่อป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ที่คร่าชีวิตผู้คนก่อนวัยอันควร บริการดังกล่าวนี้ เป็นบริการเชิงรุกในยุคโควิดโดยอธิบดีกรมสุขภาพจิต นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ในปัจจุบัน ได้มีนโยบายให้หน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต ปรับปรุงบริการสุขภาพจิตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน ที่พวกเราๆท่านๆทั้งหลายต้องดำเนินชีวิตท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ที่ยังสร้างปัญหาไปทั่วโลก ซึ่งมีบริการเชิงรุกมากมายเกิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์ยุค New Normal ให้ประชาชนไทย (ทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ) ได้สามารถเลือกใช้บริการ ในช่วงที่ยังมีความเสี่ยงของโควิด-19
กรมสุขภาพจิต เดินหน้าพัฒนาและปรับปรุงระบบบริการสุขภาพจิต เพื่อให้เหมาะสมและปลอดภัยบนฐานวิถีชีวิตใหม่
กรมสุขภาพจิต เล็งเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัด ในการปรับตัวกับชีวิตวิถีใหม่ และการลดลงของผู้ป่วยจิตเวชที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลในช่วงสี่เดือนแรก ปัจจัยดังกล่าวเป็นที่มาของการพัฒนารูปแบบการให้บริการดูแลสุขภาพจิตในวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์การคาดการณ์ที่อาจมีการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยจิตเวชอย่างมากในระยะถัดไป การลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค และให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ประชาชนไทยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
5 วิธี ดูแลใจคนทำงาน ไม่ให้หมดไฟ ช่วงโควิด-19 (Burn Out)
ความเครียดเรื้อรังในการทำงาน ภาระงานหนัก และปริมาณงานมาก รวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบเป็นตัวการสำคัญให้วัยทำงาน เกิดภาวะ "BURNOUT SYNDROME" หรือ "ภาวะหมดไฟในการทำงาน" ซึ่งหากปล่อยไว้สะสมนานวันเข้าอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้
สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ เพื่อดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่นในสถานการณ์วิกฤต COVID-19
ในสถานการณ์วิกฤติ ผู้ใหญ่หลายคนอาจแสดงออกด้วยอารมณ์เครียด โกรธ เศร้า ผิดหวัง แต่อย่าลืมว่าควรหลีกเลี่ยงการแสดงออกอารมณ์เหล่านั้นให้เด็กๆ เห็น เพราะจะส่งผลให้เด็กเรียนรู้การแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม วิกฤติครั้งนี้ช่วยให้เรามองเห็นโอกาสหลายอย่าง มีโอกาสสร้างเสริมนิสัยการมีสุขอนามัยที่ดี โอกาสในการใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อทบทวนว่าอะไรบ้างที่จำเป็นและสำคัญสำหรับเรา โอกาสที่ครอบครัวจะได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น ซึ่งแม้แต่เงินก็ซื้อเวลาคุณภาพเหล่านี้ไม่ได้