เทศกาลศิลปะนานาชาติ Kenduri Seni Patani 2024 จัดขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2567 ผ่าน 9 พื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ในแนวคิด ‘Before Birth and Beyond Death – ก่อนอุบัติและหลังสลาย’ ชวนตั้งคำถามชีวิต ธรรมชาติ และคุณค่าทางสังคมผ่านผลงานศิลปะกว่า 100 ผลงาน จากศิลปินชาวไทย ภูมิภาค และต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปรึกษาโครงการ จัดประชุมระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (เวทีที่ 3-5) ภายใต้โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคาร LRC 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมี ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธานเปิดการประชุม รวมทั้งมีคณะกรรมกำกับโครงการฯ เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม
ผศ.สุธา เกลาฉีด รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี ให้สัมภาษณ์ว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอ่าวปัตตานีคือผลของการขยายผลโครงการวิจัยฟื้นฟูอ่าวปัตตานี ซึ่งศึกษาอ่าวปัตตานีเพื่อฟื้นฟูอ่าวปัตตานีซึ่งช่วงหนึ่งความอุดมสมบูรณ์ลดลง ชาวประมงจับปลาได้น้อยลง แต่การฟื้นฟูต้องใช้เวลานาน และพบว่าอ่าวปัตตานีมีทรัพยากรอย่างอื่นที่เอื้อต่อการทำท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงชักชวนชาวประมงพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นรายได้เสริมควบคู่การฟื้นฟูอ่าวปัตตานี ม.อ.ปัตตานี ด้วยทุนความโดดเด่นทางธรรมชาติของอ่าวปัตตานี ซึ่งประกอบด้วยแหล่งธรรมชาติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเอกลักษณ์ท้องถิ่น จนเกิดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอ่าวปัตตานีที่จัดการโดยชุมชน เกิดกิจกรรมกระบวนการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้ความสำคัญกับการศึกษาและการสร้างจิตสำนึกมากกว่าการให้ความพึงพอใจอย่างไม่มีขอบเขตกับนักท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งเป้าหมายต่อยอดพัฒนาผ้าบาติกปัตตานีฐานทุนวัฒนธรรมสู่สากล ตั้ง Patanista Academy ศูนย์อบรมด้านแฟชั่น หวังสร้าง creative economy มุ่งสู่ “Patanista ปัตตานีเมืองแฟชั่น”