กระทรวงสาธารณสุข เผยประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 จากการใช้จริงในจังหวัดเชียงใหม่ พบฉีด 2 เข็มป้องกันติดโอมิครอนไม่ได้ แต่ยังป้องกันเสียชีวิตได้สูง ฉีดเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อ 45-68% ป้องกันเสียชีวิตสูง 98% ส่วนเข็ม 4 ป้องกันติดเชื้อสูง 82% ยังไม่พบการเสียชีวิต เร่งจัดบริการฉีดเข็มกระตุ้นผู้สูงอายุให้ได้ 70% ก่อนสงกรานต์ พร้อมปรับแนวทางฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม อายุ 18 ปีขึ้นไป รับเข็ม 3 ได้หลังฉีด 2 เข็มครบ 3 เดือน ในทุกสูตร ส่วนเข็ม 4 ให้เว้น 4 เดือน อายุ 12-17 ปี รับเข็ม 3 ระยะห่าง 4-6 เดือน
นักวิจัยสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร ม.สงขลานครินทร์ ยกระดับพืชอัตลักษณ์ภาคใต้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเชิงพาณิชย์
ผศ.ดร.ปุณณาณี สัมภวะผล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (หน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ.) กล่าวว่า ภาคใต้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่มีทั้งความโดดเด่นและมีคุณประโยชน์หลากหลาย สำหรับการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 – 2564 ในพื้นที่ภาคใต่ฝั่วอ่าวไทยและอันดามัน จากการทำงานร่วมกันระหว่างกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ในการสำรวจพืชอัตลักษณ์ประจำของแต่ละจังหวัดและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการพัฒนาพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ได้แก่
ซีแพค จัดเสวนา CPAC Green Solution ล้ำเปลี่ยนโลก Roadshow อัพเดตเทรนด์และนวัตกรรมการก่อสร้างยุคใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานประเทศไทยประเดิมที่แรกภาคใต้ จ. สงขลา
วันนี้ (17 มีนาคม 2565) ซีแพค กรีน โซลูชัน ผู้นำด้านนวัตกรรมการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมเสวนา “CPAC Green Solution เปลี่ยนโลก Roadshow” เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจและประโยชน์ในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาผลักดันนวัตกรรมก่อสร้าง (Digital & Construction Technology) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการก่อสร้างแบบ “Turn Waste to Value” นับเป็นการยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างของประเทศไทยเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงการอัพเดทเทรนด์และนวัตกรรมการพัฒนางานก่อสร้างยุคใหม่ ตอกย้ำแนวคิด 'ล้ำ เปลี่ยน โลก' จาก CPAC Green Solution พร้อมบุกทั่วทุกภูมิภาค โดยประเดิมที่แรกภาคใต้ จ.สงขลา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม.อ. แนะวิธีการดูแลเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 แบบรักษาตัวที่บ้าน (HI)
จากรายงานของกรมอนามัยถึงกรณีที่มีจำนวนเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น และกว่า 90% มีอาการไม่รุนแรง แต่มีกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ปกครองและคนใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19 ของคนในครอบครัว
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ม.สงขลานครินทร์ ชี้ Long COVID มีหลายอาการและอาจมีอาการนานกว่า 1 เดือน ควรได้รับการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง
“Long COVID คืออาการที่เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อโควิด-19 สามารถส่งผลกระทบต่อระบบในร่างกายและอาการที่พบแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง สมาธิสั้น มีอาการหลงลืม ท้องผูกเรื้อรัง ท้องอืด เบื่ออาหาร เป็นต้น โดยบางรายอาจมีอาการนานกว่า 1 เดือน
ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับ ม.ราชภัฏสงขลา ค้นเรื่องราวจีนที่เมืองสงขลา หนุนขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองมรดกโลก
เดินหน้าไปอีกหนึ่งก้าวสำคัญกับการนำสงขลาสู่มรดกโลก ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี ร่วมมือกันนำนักวิชาการของสองมหาวิทยาลัย ค้นเรื่องราวของชาวจีนที่เดินทางมายังเมืองสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2223 – 2385 เพื่อเป็นข้อมูลในการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลก
10 มีนาคม “วันสงขลา” ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
“จังหวัดสงขลา” เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด คือวันที่ 10 มีนาคม โดยนับเริ่มจากวันที่วางเสาหลักเมืองจังหวัดสงขลา ณ ศาลหลักเมืองสงขลา ถนนนางงาม อ.เมืองสงขลา โดยเป็นเสาหลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองที่ปรากฏจนถึงทุกวันนี้
ศูนย์สอบ TCAS ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เตรียมห้องสอบพิเศษ 2 ห้องสำหรับผู้เข้าสอบที่ติดโควิด19 และผู้เข้าสอบที่มีความเสี่ยงสูง
ดร.เจษฎา โมกขกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการรับนักศึกษาให้สัมภาษณ์ว่าการสอบTCAS จะเริ่มด้วยสอบ GAT PAT วันที่ 12-15 มีนาคม และสอบวิชาสามัญในวันที่ 19-20 มีนาคม 2565 โดยศูนย์สอบภาคใต้คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอาจเพิ่มศูนย์สอบที่จังหวัดปัตตานีอีกหนึ่งแห่ง ส่วนแผนอำนวยความสะดวกให้นักเรียนที่ติดโควิด-19 เข้าสอบคือการเปิดห้องสอบพิเศษสองห้องคือห้องสอบสำหรับเด็กที่ติดโควิด-19และห้องสอบสำหรับนักเรียนความเสี่ยงสูง แต่นักเรียนกลุ่มนี้ต้องลงทะเบียนในระบบ MY TCAS เพื่อแจ้งข้อมูลว่าติดโควิดหรือมีความเสี่ยงสูง และเข้าสอบในห้องสอบดังกล่าว ซึ่งจะงดรับนักเรียนที่ติดโควิดและเสี่ยงสูงแบบ walk in
ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา พัฒนาศักยภาพ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับภิกษุสงฆ์
วันนี้ (9 มีนาคม 2565) ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา จัดประชุมพัฒนาศักยภาพ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภิกษุในพื้นที่เขต 12 ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนให้มีศักยภาพในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยตนเอง สามารถดูแลสุขอนามัยของตนเองได้ สอดคล้องกับธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ทราบแนวทางการขับเคลื่อนวัด สู่วัดส่งเสริมสุขภาพ ตามมาตรฐานใหม่ของกรมอนามัย ปี 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม เป็นภิกษุ/ ผู้รับผิดชอบงานด้านวัดจาก 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 70 รูป/คน
ศูนย์แยกกักตัวผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 (โรงแรมหรรษาเจบีหาดใหญ่) เตรียมรับมือสถานการณ์ที่กำลังเข้าสู่จุดสูงสุดและคาดว่าจะเริ่มลดลงช่วงปลายเดือนมีนาคม
พญ. หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล รักษาการแทนหัวหน้า กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการ์ของโควิด-19 ในพื้นที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อยู่ในขั้นกำลังรับมือกับสถานการณ์ เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการตรวจ ATK มีผลเป็นบวกจำนวนค่อนข้างมากและต่อเนื่อง อีกทั้งมีการประมาณการด้านระบาดวิทยาว่าช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ของเดือนมีนาคมน่าจะอยู่ในจุดสูงสุดและจะค่อยๆลดลงในช่วงปลายเดือนมีนาคม และสอดคล้องกับการประมาณการของกระทรวงสาธารณสุขที่คาดว่าอีกประมาณ 4 เดือนข้างหน้าประเทศไทยเตรียมตัวเข้าสู่ความเป็นโรคประจำถิ่นของโควิด-19 ที่สำคัญคือเรื่องแนะให้ให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนให้ครบ 3 เข็มเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงอีกประการหนึ่ง