เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 66 ที่ผ่านมา จากงานแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 4 ปี 2565 โดย ดร. โสภี สงวนดีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ให้ข้อมูลว่า เศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ของภาคใต้มีการขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและการจ้างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคยังขยายตัวได้ แม้จะชะลอลงบ้างจากไตรมาสก่อน เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงและทิศทางราคาสินค้าเกษตรที่ปรับลดลงเป็นปัจจัยกดดันการบริโภค สำหรับภาคการผลิตหดตัวตามความต้องการประเทศคู่ค้าที่ชะลอลงสอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลง
บพท. จับมือ มหาวิทยาลัย ดัน ซอฟต์ พาวเวอร์ ผ่านมหกรรมทุนทางวัฒนธรรมฟื้นใจเมือง พร้อมเปิดตัวระบบฐานข้อมูลและแผนที่วัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมของภาคใต้
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ 33 จังหวัด 41 สถาบัน หนุนเสริมพลังโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมภาคีเครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ศิลปิน และผู้ประกอบการวัฒนธรรม เดินหน้าจัดงาน“มหกรรมทุนทางวัฒนธรรมฟื้นใจเมือง” 4 ภูมิภาค ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาสู่ซอฟต์ พาวเวอร์ จัดแสดงในงาน เพื่อหยั่งรากสำนึกท้องถิ่นและกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมศิลปินและผู้ประกอบการวัฒนธรรม พร้อมโชว์ระบบฐานข้อมูลและแผนที่วัฒนธรรมของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมสืบค้นต้นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่ วิจัยน้ำมะพร้าวมหัสจรรย์ ช่วยสมานแผลและชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์
มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นที่จัดอยู่ในตระกูลปาล์ม ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ผลประกอบไปด้วยเปลือกนอก ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว และชั้นสุดท้ายคือเนื้อมะพร้าว ซึ่งภายในจะมีน้ำมะพร้าว ถ้าลูกมะพร้าวแก่มาก เนื้อมะพร้าวจะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด มะพร้าวเป็นผลไม้ที่นิยมกันอย่างมากในบ้านเรา คุณสมบัติเด่น ๆ ของมะพร้าวก็คือ ส่วนต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ทำเป็นประโยชน์ได้หมด ไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวหวานเพื่อบำรุงสุขภาพและรักษาอาการหรือโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำตาล และยังรวมไปถึงการทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ขึ้นมาใช้
ม.ค.เดือนเดียวผู้บริโภคร้องเรียน “ 46 เคส ”สมาคมผู้บริโภคสงขลาเตือน “ รู้ทันภัยไม่โดนหลอก ”
สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลาเปิดเผยเรื่องร้องเรียนจากประชาชนจากการรวบรวมของสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลาร่วมกับสภาองค์กรผู้บริโภค ตั้งแต่เริ่มต้นปี 2566 วันที่ 1-24 มกราคม 2566 ทั้งหมด 46 กรณี ประเด็นที่รับร้องเรียนมากที่สุด คือ สื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 33 กรณีจาก 46 กรณี ส่วนประเด็นอื่นๆคือ สินค้าออนไลน์ กลุ่มบริการและสินค้าทั่วไป ขนส่งและยานพาหนะ
โฆษกคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ไขข้อข้องใจ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ผิดกฎหมาย ผู้ครอบครองมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ ลักลอบนำเข้าโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในฐานะโฆษก สคบ. ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่างๆ และการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า การสูบ ครอบครอง นำเข้า ผลิต ขาย ผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ดังนี้
ผลวิจัย ม.อ. พบว่า “ในพื้นที่มีการระบาดของวัณโรค ผู้ป่วยปอดบวมจากโควิด-19 มีความเสี่ยงเป็นวัณโรคปอด” ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับโลก
ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในพื้นที่มีการระบาดของวัณโรค ผู้ป่วยปอดบวมจากการติดเชื้อโควิด-19 มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด โดยผลวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร eClinicalMedicine ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ ในเครือ Lancet ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ผลวิจัยนี้เป็นผลงานของ ดร.นพ.พลกฤต ขำวิชา สาขาวิชาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยจากข้อมูลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการปอดอักเสบ มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคสูงถึง 7 เท่า ของคนปกติ โดยศึกษาจากข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงปี 2564 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า และ อัลฟ่า ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา จำนวนประมาณ 2 หมื่นกว่าคน
ศูนย์กิจการนานาชาติฯ ม.สงขลานครินทร์ จัดงานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 16
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดงาน “แนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 16” เพื่อส่งเสริมโอกาสให้แก่นักเรียน นักศึกษา ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและใกล้เคียง ได้เข้าถึงข้อมูลในการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น โดยมี ผศ.ดร. วงศ์กฎ ภู่ภูมิรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กล่าวต้อนรับ คุณอุจิดะ ทาเคชิ เลขานุการเอกประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวเปิดงาน และ ผศ.ดร. เมธิณี อยู่เจริญ ประธานชมรมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ณ ปักษ์ใต้ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย บุคลากร นักเรียน และนักศึกษา เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม EILA 5 อาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting
ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินแจกตั๋วเครื่องบินฟรีในฤดูกาลท่องเที่ยว
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) มายังโทรศัพท์มือถือของตน แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินต่างๆ เช่น สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air) พร้อมกับข้อความในลักษณะว่า “ ขอบคุณที่ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ท่านได้รับบินเที่ยวฟรี ” โดยให้กดลิงก์ที่แนบมากับข้อความดังกล่าวเพื่อเป็นการเพิ่มเพื่อนสายการบินทางแอปพลิเคชันไลน์ จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้เสียหายสอบถามข้อมูลต่างๆ และหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของสายการบินที่ส่งให้ทางไลน์อีกครั้ง เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกให้เข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงิน หรือให้ตั้งรหัส PIN 6 หลัก รวมถึงการให้สิทธิ์แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่างๆ ทำให้มิจฉาชีพสามารถเชื่อมต่อระบบเข้ามา และควบคุมหน้าจอโทรศัพท์ของเหยื่อเมื่อใดก็ได้ โดยจะทิ้งระยะเวลาให้เหยื่อตายใจ ระหว่างนี้มิจฉาชีพจะสังเกตพฤติกรรมของเหยื่อ เช่น ใช้ธนาคารใด มีเงินในบัญชีเท่าไหร่ และจดจำรหัสผ่านจากที่เหยื่อกดเข้าระบบของแอปพลิเคชันธนาคาร กระทั่งเวลาผ่านไปจนเหยื่อเผลอ เมื่อได้โอกาสมิจฉาชีพจะเชื่อมต่อแล้วโอนเงินออกจากบัญชีไป
ม.อ.ปัตตานีเสริมพลัง “ท่องเที่ยวเชิงนิเวศอ่าวปัตตานี” ด้วยงานวิจัย มุ่งสร้างความยั่งยืนทุกมิติ
ผศ.สุธา เกลาฉีด รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี ให้สัมภาษณ์ว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอ่าวปัตตานีคือผลของการขยายผลโครงการวิจัยฟื้นฟูอ่าวปัตตานี ซึ่งศึกษาอ่าวปัตตานีเพื่อฟื้นฟูอ่าวปัตตานีซึ่งช่วงหนึ่งความอุดมสมบูรณ์ลดลง ชาวประมงจับปลาได้น้อยลง แต่การฟื้นฟูต้องใช้เวลานาน และพบว่าอ่าวปัตตานีมีทรัพยากรอย่างอื่นที่เอื้อต่อการทำท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงชักชวนชาวประมงพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นรายได้เสริมควบคู่การฟื้นฟูอ่าวปัตตานี ม.อ.ปัตตานี ด้วยทุนความโดดเด่นทางธรรมชาติของอ่าวปัตตานี ซึ่งประกอบด้วยแหล่งธรรมชาติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเอกลักษณ์ท้องถิ่น จนเกิดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอ่าวปัตตานีที่จัดการโดยชุมชน เกิดกิจกรรมกระบวนการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้ความสำคัญกับการศึกษาและการสร้างจิตสำนึกมากกว่าการให้ความพึงพอใจอย่างไม่มีขอบเขตกับนักท่องเที่ยว
คณะแพทย์ ม.อ. จับมือภาคีเครือข่ายในจังหวัดสงขลา ร่วมลงนามจัดทำระบบอัจฉริยะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพ ยกระดับการรักษาพยาบาลในจังหวัดสงขลา พร้อมเป็นต้นแบบการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบสุขภาพระดับประเทศ
“โครงการพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับแลกเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ข้อมูลทางด้านสุขภาพ เพื่อยกระดับบริการทางสาธารณสุข สำหรับสถานพยาบาลขนาดต่างในจังหวัดสงขลา เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในจังหวัดสงขลา ร่วมกับ สสจ.ในการศึกษา ออกแบบ พัฒนา และให้บริการระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ร่วมโครงการส่งข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยมายังศูนย์รวบรวมข้อมูลหรืออาจเรียกว่าเป็น “สมุดสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์”ที่แพทย์แต่ละโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการสามารถย้อนดูประวัติการรักษาของผู้ป่วย ไม่ว่าจะไปรักษาที่ใด โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องถือประวัติหรือข้อมูลการรักษา และที่สำคัญคือผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปมาหลายครั้งเพื่อขอข้อมูลการรักษาเก่า ซึ่งการนำระบบ HIE มาใช้เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพ ให้ก้าวไปสู่การรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป