ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช สงขลาแนะวิธีป้องกัน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ศัตรูสำคัญชาวสวนทุเรียนภาคใต้ ศัตรูตัวร้ายทำลายทุเรียนหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (Durian Seed borer) หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนเข้าดักแด้ในดินประมาณ 1 – 9 เดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและความชื้นในดิน เมื่อฟักออกมาจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวบริเวณผลทุเรียน และฟักเป็นตัวหนอนเข้าทำลายทุเรียนระยะพัฒนาผลตั้งแต่ 2 – 3...
ม.สงขลานครินทร์ ร่วมจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อผลิตบุคลากรด้าน AI ที่มีคุณภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจุบันพร้อมยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และ 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ร่วมจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาหลักสูตรและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และคอมพิวเตอร์เพื่อผลิตบุคลากรด้าน AI ที่มีคุณภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจุบันพร้อมยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ม.สงขลานครินทร์ รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็น (Thailand Quality Class: TQC) ประจำปี 2564
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้ารับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class: TQC) ประจำปี 2564 ในพิธีมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2564 จัดโดย สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยได้รับเกียรติจากนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มอบรางวัลและกล่าวแสดงความยินดีแก่ 14 องค์กรที่ได้รับรางวัล ณ ห้องภิรัชฮอลล์ 1-2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมงาน
ม.อ.ขับเคลื่อนท้องถิ่น 4.0 ด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มดิจิทัล
วันนี้ (20 พ.ค. 65) ที่ ห้องสันติภาพ ชั้น 7 โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผศ.ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิด "โครงการพันธกิจ ม.อ. ยกระดับการใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มดิจิทัลสู่ธุรกิจ 4.0" โดยมี ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู (ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู) , รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล , ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม , คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และคณะ ตลอดจนคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน ครู ผู้ดูแลเด็กจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมงาน กว่า 170 คน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 107 หน่วยงาน
สงขลายังไม่เจอปะการังฟอกขาว ศูนย์วิจัยฯ เฝ้าติดตามสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด พบเพียงปะการังสีซีดเป็นจุดๆ
ปะการัง เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในพวกชีเลนเทอราดา (Coelenterata) กลุ่มเดียวกับดอกไม้ทะเล และ แมงกะพรุน ต่างกันที่ปะการังจะสร้างหินปูนเป็นฐานแข็งแรง มีลักษณะเด่น คือ มีโพรงในลำตัว และมีเนื้อเยื้อ 2 ชั้น ในตัวปะการัง มีสาหร่ายเซลล์เดียวเรียกว่า ซูแซนเธอลี่ (Zooxanthellae) จำนวนมาก อาศัยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร และสร้างสีสันให้แก่ปะการัง
อบจ.สงขลา จัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการ แหล่งเที่ยวจังหวัดสงขลา (1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว) ชูแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
วันนี้ (18 พ.ค. 65) ที่ ห้องแกรนด์บอลรูม ตึกแกรนด์บอลรูม โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการ “แหล่งเที่ยวจังหวัดสงขลา (1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว)” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆในจังหวัดสงขลาให้เป็นที่น่าสนใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งในด้านการบริการ ความปลอดภัย และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทประเด็นการท่องเที่ยวภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวของภาครัฐในระดับต่างๆ
นักวิชาการโภชนาการ ม.สงขลานครินทร์ แนะผู้ป่วยภาวะ Long COVID เน้นกินอาหารจากแหล่งโปรตีน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหาร Junk Food
ภาวะ Long COVID เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกายหลังติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงและมีโอกาสเกิดขึ้นนานกว่า 12 สัปดาห์ โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์พบว่าส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะ Long COVID ได้รับผลกระทบระยะยาวกับระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบทางด้านจิตใจ ระบบประสาท ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการ ดูแลรักษาร่างกายและเสริมภูมิคุ้มกันด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์ เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นำนวัตกรรมสร้างประโยชน์แก่สังคม มุ่งพัฒนาภาคใต้และประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา 2563 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2565
สงขลาพบผู้ป่วยมาลาเรียชนิดโนวไซ 18 ราย แพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน สคร.12 เตือน กลับจากพท.เสี่ยงมีอาการรีบพบแพทย์
คุณปฐมพร พริกชู ผช.ผอ.สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 สงขลา ให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ต้นปี 2565 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย 45 ราย ไข้มาลาเรีย( Malaria) เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียมที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มี 5 ชนิด คือ Plasmodium Falciparum ( Pf ) Plasmodium Vivax ( Pv ) Plasmodium Malariae ( Pm ) Plasmodium Ovale ( Po ) และ Plasmodium Knowlesi ( Pk )
“โลมาอิรวดี” ทะเลสาบสงขลา 1 ใน 5 แหล่งโลมาน้ำจืดของโลกวิกฤตจากการสำรวจเหลือโลมาไม่เกิน 20 ตัว
โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาที่มีหัวกลม ลำตัวสีเทาหรือน้ำเงินเข้ม ความยาวประมาณ 178-274 เซนติเมตร ช่วงท้องมีสีเทาอ่อนกว่ามีครีบหลังเล็กๆ เป็นรูปร่างสามเหลี่ยมปลายมน และครีบข้างที่กว้างและยาว น้ำหนักตัวจะอยู่ประมาณ 98-159 กิโลกรัม ตามข้อมูลบอกว่าเจอโลมาน้ำจืดชนิดนี้ครั้งแรกในแม่น้ำอิรวดี ประเทศเมียนม่า เลยเรียกว่า "โลมาอิรวดี"