Category: News

Home / News

ข้อแตกต่าง “การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด19” แบบ ผู้ป่วยนอก(OPD) และ HI/CI

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.65 สธ.เพิ่มบริการตรวจผู้ป่วยโควิดแบบผู้ป่วยนอก หรือ OPD ส่วนการรักษาแบบ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) ไม่ได้ยกเลิก ยังคงเดิมแต่ขึ้นกับอาการ พร้อมแจ้งแนวทางบุคลากรทางการแพทย์แล้ว กรมการแพทย์เผยข้อแตกต่างการรักษาแบบ OPD กับ HI/CI ส่วน "หมอทวี" ย้ำการรักษาแบบโอพีดี ไม่ใช่แบบไปกลับ ออกข้างนอกไม่กักตัวไม่ได้ ยังต้องปฏิบัติกักตัวเองอย่างน้อย 7 วัน มีช่องทางติดต่อแพทย์ ประเมินอาการ 48 ชม.

สองเทศบาลเสริมกำลังช่วยเหลือประชาชนตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19

พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ให้สัมภาษณ์ว่าเทศบาลร่วมกับ รพ.หาดใหญ่ เปิดศูนย์ประสานงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่เพื่อรับแจ้งผลตรวจ และลงทะเบียนผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษา(สำหรับผู้ป่วยที่ลงทะเบียนผ่านออนไลน์ไม่ได้) ทั้งในรูปแบบ HI และ CI โดยมีการเปิดสายด่วน จำนวน 10 คู่สาย หมายเลข 086 4700049 และ 086 4700050 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของเทศบาล และทีมแพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ รับสายตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. นายกฯสาครกล่าวว่าการรับแจ้งผลและช่วยลงทะเบียนเข้าระบบจะทำให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว และแบ่งเบาภาระของรพ.หาดใหญ่ หรือประชาชนผู้ติดเชื้อในเขตนครหาดใหญ่สามารถแจ้งผลการติดเชื้อกับทางศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลอีกทางหนึ่งได้

เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง นวัตกรรมจากนักวิจัย ม.อ. สู่เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อในครัวเรือน KIKOWA@HOME

เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง นวัตกรรมจากนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนสู่อุปกรณ์ผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในครัวเรือน KIKOWA@HOME โดยอาศัยน้ำเปล่าสะอาดและเกลือแกงผ่านระบบเทคโนโลยีทางเคมีไฟฟ้าที่ใช้วัสดุผสมระดับนาโนที่มีลักษณะเฉพาะสามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อได้ตลอดเวลา ปลอดภัยปราศจากสารเคมีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ถูกงูกัด ควรปฐมพยาบาล อย่างไร?

สถิติการเข้ารักษาอาการฉุกเฉินที่พบบ่อยยังคงมาจากการถูกงูกัด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ในช่วงฤดูฝน ความเชื่อในอดีตเมื่อเราถูกงูกัด แล้วเรามักจะปฐมพยาบาลด้วยการเอาผ้ารัดเหนือแผล หรือที่เราคุ้นหูกันดีว่าการขันชะเนาะ แต่ !! แท้จริงแล้วเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อเน่าตาย จนอาจถึงขั้นต้องตัดอวัยวะนั้นทิ้ง หรืออาการแย่ลงจนถึงขั้นเกิดภาวะหายใจวายได้นั่นเอง

Test & Go เวอร์ชั่นใหม่ เริ่มลงทะเบียน 1 มี.ค. 65 ปลุกดีมานด์เที่ยวไทย หนองคาย อุดรธานี สงขลา เป็นจังหวัดนำร่อง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อัปเดตการปรับมาตรการ Test & Go เปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยนำร่องช่องทางด่านทางบก คือ จังหวัดหนองคาย อุดรธานี และสงขลา โดยเริ่มให้มีการลงทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2565 เพื่อเดินทางถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.2565 เป็นต้นไป

ติดเชื้อโควิด-19 ทำไมไม่ได้ยาฟาวิพิราเวียร์ ผู้ป่วย HI รักษาตัวเองอย่างไร?

เนื่องจากไวรัสปรับตัวเร็วมีหลายสายพันธุ์ ถ้าใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ฟุ่มเฟือย โดยไม่มีข้อบ่งชี้อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ทำให้ไม่มียารักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากขึ้นได้ นอกจากนี้ มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เมื่อรับประทานร่วมกับยาบางชนิด รวมทั้งมีผลต่อการทำงานของตับ ดังนั้นไม่ควรกิน ร่วมกับยาฟ้าทะลายโจร หรือ ยาที่มีผลต่อตับ ยาฟาวิพิราเวียร์ จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องสั่งจ่ายและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จำเป็นต้องติดตามอาการข้างเคียง และผลการรักษาระหว่างการใช้ยา การใช้ยาในผู้ป่วยบางกลุ่มจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์ และความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่จะตามมาโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์

ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 จิตอาสาร่วมจัดกล่องยา Box set และโทร.หาผู้กักตัว HI

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันจังหวัดสงขลามียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทำให้จำนวนเตียงของโรงพยาบาลไม่เพียงต่อต่อผู้ป่วย รวมถึงผู้ติดเชื้อบางส่วนที่แยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. จึงมีบทบาทในด้านการเชื่อมโยงระหว่างอาสาสมัครในพื้นที่ บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบ่งออกเป็นหลายส่วน เช่น ทีมจัดเตรียม Box set และยาต้านไวรัส (Favipiravir 200mg) เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม HI ในเครือข่ายโรงพยาบาลหาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา, ทีม Call center ซักประวัติ ข้อมูลส่วนตัว ให้คำแนะนำแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 และทีมไรเดอร์หรือกลุ่ม ONE Chat สำหรับการส่งอาหารและส่งยาให้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม HI เป็นต้น โดยอาสาสมัครทุกคนจะรับความรู้การอบรมเบื้องต้นจากบุคคลากรจากโรงพยาบาลก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง

ศูนย์พักคอยศูนย์โรงช้าง สำหรับนักศึกษาม.อ. ที่ติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้การดูแลของแพทย์ รพ.สงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งศูนย์พักคอยศูนย์โรงช้างม.อ. เพื่อเป็นสถานที่รองรับนักศึกษาม.อ. ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยโซนสีเขียว) ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อีกทั้งเพื่อเป็นการแบ่งเบาการดูแลผู้ติดโควิด19 ของศูนย์กักตัวอื่นๆในพื้นที่จังหวัดสงขลา

ติดโควิดหายแล้วไม่เหมือนเดิม กรมอนามัย แนะผู้ป่วยลองโควิด-19 เน้นกิน ‘โปรตีน–โพรไบโอติกส์–วิตามิน’ ช่วยฟื้นฟูร่างกาย

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่  ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะ    ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง ดังนั้น ผู้ป่วยลองโควิด-19 ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และหากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย และควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนยแข็ง ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ รวมทั้งบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics)

“หนอนแมลงวันลาย” เปลี่ยน “ขยะอินทรีย์” สร้างรายได้ให้เกษตรกร

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่าในปี 2560 มี "ขยะอาหาร" คิดเป็นร้อยละ 64 ของปริมาณทั้งหมด หรือ 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ไทยมีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์น้อยมาก ส่วนมากไม่มีการแยกขยะ และในส่วนของ กทม. สามารถ รีไซเคิล ขยะอาหารได้เพียง 2 % เท่านั้น