“ประกันสังคม” ชวนประชาชนแสดงความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายใน 28 ก.พ.2566 ประเด็นปรับฐานค่าจ้างจาก 15,000 บาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 23,000 บาท จ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นจากเดิม 750 บาทเป็น 1,150 บาท

“ประกันสังคม” ชวนประชาชนแสดงความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายใน 28 ก.พ.2566 ประเด็นปรับฐานค่าจ้างจาก 15,000 บาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 23,000 บาท จ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นจากเดิม 750 บาทเป็น 1,150 บาท

กระทรวงแรงงาน ได้เปิดรับฟังความเห็น “ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. … “ ผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th โดยจะปิดรับฟังความเห็นในวันที่ 28 ก.พ. 2566 สาระสำคัญของร่างกฎหมายที่กระทรวงแรงงานกำลังผลักดัน คือการปรับเพดานฐานค่าจ้างในการคำนวณการจ่ายเงินสมทบใหม่ โดยเสนอให้ปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจากเดิม 1.5 หมื่นบาท เป็นเพดานใหม่สูงสุดไม่เกิน 2.3 หมื่นบาท ซึ่งจะปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป

จากเดิมผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.5 หมื่นบาทขึ้นไป จะต้องจ่ายสมทบเดือนละ 750 บาท หากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ ก็จะต้องจ่ายสมทบในอัตราใหม่ โดยผู้ที่มีรายได้ 2.3 หมื่นบาทขึ้นไป ถึงจะจ่ายสมทบในอัตราคงที่ แบบ “ค่อยเป็นค่อยไป” โดยแบ่งการประกาศบังคับใช้ออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

ปี 2567-2569 ค่าจ้างไม่เกิน 1.75 หมื่นบาท

ปี 2570-2572 ค่าจ้างไม่เกิน 2 หมื่นบาท

ปี 2573 +        ค่าจ้างไม่เดิน 2.3 หมื่นบาท

ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกันตนที่มีนายจ้าง เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยกำหนดให้ต้องจ่ายสมทบ 5% ของค่าจ้าง (เดิมไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ใหม่ไม่เกิน 1.75 หมื่นบาท, 2 หมื่นบาท, 2.3 หมื่นบาท ตามลำดับ)

โดยร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2567 นั่นมีผลทำให้

-ช่วงปี 2567-2569 ลูกจ้างที่รับค่าจ้างตั้งแต่ 1.75 หมื่นบาทขึ้นไป จ่ายเงินสมทบ 875 บาท

-ปี 2570-2572 ลูกจ้างที่รับค่าจ้างตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป จ่ายสมทบ 1,000 บาท

-ปี 2573 เป็นต้นไป ลูกจ้างที่รับค่าจ้างตั้งแต่ 2.3 หมื่นบาทขึ้นไป จ่ายสมทบ 1,150 บาท

อย่างไรก็ดี การจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นนั้น สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนด้วย อาทิ

-เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50 % ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

-เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ 70 % หรือ 30 % ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

-เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50 % ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

-เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50 % ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

-เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงาน 50 % หรือ 30 % ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

-เงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่า 20 % ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเข้ากองทุน โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20 % ของค่าจ้าง ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 1.5 % ทุกการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน

ประชาชนแสดงความคิดเห็นผ่านเว็ปไซต์ www.law.go.th จนถึงวันที่ 28 ก.พ.2566 หลังจากนั้นสำนักงานประกันสังคมจะนำความคิดเห็นไปพิจารณาปรับปรุงร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

9 Comments

  1. ธนพล รัตนภิญโญวรรณา
    16/02/2023

    การแก้ไข ควรเพิ่มบำนาญชราภาพ โดยเริ่มที่ 30% ของค่าจ้าง และเพิ่ม 2% ทุกปี เพื่อให้ ผู้ประกันตน สามารถเลี้ยงชีพได้ เมื่อชราภาพ เพราะในร่างแก้ไขจำนวนเงินบำนาญน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับ บำนาญของข้าราชการ ที่รับบำนาญ ขั้นต่ำ 10,000 บาท ต่อเดือน ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำสูงมาก

  2. ชวัล​ลักษณ์​ กำลัง​ฟู​
    10/03/2023

    ไม่เห็นด้วยจาก750ไป1,, 150

  3. ฐานะพัฒน์ จะงาม
    16/03/2023

    ไม่เห็นด้วยครับตอนโควิดไม่เห็นเยียวยาผู้ประกันตนสักอย่างถึงเวลานี้จะขึ้นเอาขึ้นเอาไม่เห็นช่วยเหลืออะไรเลยสมควรจะลดมากกว่า

  4. วินิจ ศรีสงวน
    17/03/2023

    ไม่เห็นด้วย

  5. ไม่เห็นด้วย

  6. บาหลี เกษามา
    27/03/2023

    ไม่เห็นด้วย

  7. นายหิรัญวัตติ์ แสงกาญจนวนิช
    20/04/2023

    ไม่เห็นด้วย

  8. Pp
    19/12/2023

    จ่ายเพิ่มแล้ว ให้ใช้สิทธิ์โรงพยาบาลเอกชนด้วยได้มั้ยค่ะ

  9. วงศ์สวัสดิ์ ไพรรึก
    10/02/2024

    ไม่เห็นด้วย ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *