พัทลุงเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญทางธรณีวิทยาที่นักวิจัยจากทั่วโลกต่างเดินทางเข้ามาศึกษาซากดึกดำบรรพ์และค้นพบฟอสซิลชนิดใหม่ในพื้นที่อยู่เสมอ
พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. และกรมทรัพยากรธรณี จัดกิจกรรม ‘เทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุง (Phatthalung Fossil Festival)’ ในวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:00-19:00 น.ณ อาคารซากดึกดำบรรพ์ 500 ล้านปี เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ จังหวัดพัทลุง
ดร.กิตติชัย ทองเติม อาจารย์และนักวิจัยด้านซากดึกดำบรรพ์ พิพิธภัณฑ์ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงความสำคัญทางธรณีวิทยาของจังหวัดพัทลุงว่าเป็นพื้นที่เดิมซึ่งจมอยู่ใต้ทะเลเป็นเวลานาน และภูเขาลูกโดดของพัทลุงนั้นเกิดจากการสะสมตัวตั้งแต่ยุคโทรแอสซิก อายุราว 245-208 ล้านปีที่ผ่านมา และมีรายงานพบฟอสซิลในยุคไทรแอสซิกมากกว่า 174 และ กว่า 10 ชนิดเป็นชนิดใหม่ของโลก
“ถามว่าฟอสซิลที่พัทลุงเจอที่ไหนบ้าง ต้องบอกว่าเจอทุกที่ที่เป็นเขา พื้นที่เขาทอง เราเจอฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลายในทะเลโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมทั้งแอมโมนอยด์ (สัตว์ทะเลโบราณ เปลือกหนาขดเป็นวง อยู่กลุ่มเดียวกับหมึกในปัจจุบัน) ชนิดใหม่ของโลกกว่า 12 ชนิด” นักวิจัยพิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. กล่าว
ดร.กิตติชัยกล่าวว่า ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. และกรมทรัพยากรธรณีร่วมกันสำรวจวิจัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และตนมองว่าถึงเวลาที่ต้องถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนและสาธารณะเพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักถึงความหลากหลายทางทรัพยากรในพื้นที่
กิจกรรม Phatthalung Fossil Festival จัดขึ้นในวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:00-19:00 น. ณ อาคารซากดึกดำบรรพ์ 500 ล้านปี เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ จังหวัดพัทลุง
กิจกรรมในงานประกอบด้วยเวิร์กช็อปความรู้ด้านธรณีวิทยา บูธสินค้าและอาหารจากวิสาหกิจชุมชนจังหวัดพัทลุง การแสดงพื้นบ้าน การเดินสำรวจธรรมชาตินิเวศราตรี ฯลฯ
ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่: https://forms.gle/mQoHpb555EYXMyPN6
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊กพิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. (https://www.facebook.com/psunhm/posts/pfbid036zFCkPoFXhpk8VCW9kjWSMeiHA4Do8YytTz3j2kNFx2gwbXnehZxLPvMZF1ugfVDl)
อ่านต่อ
รู้จัก Phatthalung Coffee.Craft.Music งานผสานกาแฟ เสียงเพลง ศิลปะพื้นบ้าน