น.พ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา เพิ่มเติมข้อมูลว่าจังหวัดสงขลามีร้านยาที่ลงทะเบียนร่วมโครงการทั้งหมด 31 ร้าน แยกเป็นอำเภอหาดใหญ่ 10 ร้าน อำเภอรัตภูมิ ระโนด นาทวี เทพา ควนเนียง อำเภอละ 1 ร้าน ซึ่งตรวจสอบรายชื่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ที่เว็ปไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนขั้นตอนรับยาที่ร้านยานั้น หลังจากที่ตรวจเจอว่าติดเชื้อโควิด-19 ให้ญาติหรือผู้ดูแลผู้ติดเชื้อไปรับยาที่ร้านยา แสดงเลขบัตรประชาชนผู้ติดเชื้อ ร้านยาจะสอบถามข้อมูลและอาการของผู้ติดเชื้อ
สธ. เผย ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 ป้องกัน “โอมิครอน” ได้สูงขึ้น แนะ ปชช. ฉีดหลังครบ 3 เดือนทุกสูตร
กระทรวงสาธารณสุข เผยประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 จากการใช้จริงในจังหวัดเชียงใหม่ พบฉีด 2 เข็มป้องกันติดโอมิครอนไม่ได้ แต่ยังป้องกันเสียชีวิตได้สูง ฉีดเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อ 45-68% ป้องกันเสียชีวิตสูง 98% ส่วนเข็ม 4 ป้องกันติดเชื้อสูง 82% ยังไม่พบการเสียชีวิต เร่งจัดบริการฉีดเข็มกระตุ้นผู้สูงอายุให้ได้ 70% ก่อนสงกรานต์ พร้อมปรับแนวทางฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม อายุ 18 ปีขึ้นไป รับเข็ม 3 ได้หลังฉีด 2 เข็มครบ 3 เดือน ในทุกสูตร ส่วนเข็ม 4 ให้เว้น 4 เดือน อายุ 12-17 ปี รับเข็ม 3 ระยะห่าง 4-6 เดือน
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ม.สงขลานครินทร์ ชี้ Long COVID มีหลายอาการและอาจมีอาการนานกว่า 1 เดือน ควรได้รับการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง
“Long COVID คืออาการที่เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อโควิด-19 สามารถส่งผลกระทบต่อระบบในร่างกายและอาการที่พบแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง สมาธิสั้น มีอาการหลงลืม ท้องผูกเรื้อรัง ท้องอืด เบื่ออาหาร เป็นต้น โดยบางรายอาจมีอาการนานกว่า 1 เดือน
ศูนย์แยกกักตัวผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 (โรงแรมหรรษาเจบีหาดใหญ่) เตรียมรับมือสถานการณ์ที่กำลังเข้าสู่จุดสูงสุดและคาดว่าจะเริ่มลดลงช่วงปลายเดือนมีนาคม
พญ. หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล รักษาการแทนหัวหน้า กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการ์ของโควิด-19 ในพื้นที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อยู่ในขั้นกำลังรับมือกับสถานการณ์ เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการตรวจ ATK มีผลเป็นบวกจำนวนค่อนข้างมากและต่อเนื่อง อีกทั้งมีการประมาณการด้านระบาดวิทยาว่าช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ของเดือนมีนาคมน่าจะอยู่ในจุดสูงสุดและจะค่อยๆลดลงในช่วงปลายเดือนมีนาคม และสอดคล้องกับการประมาณการของกระทรวงสาธารณสุขที่คาดว่าอีกประมาณ 4 เดือนข้างหน้าประเทศไทยเตรียมตัวเข้าสู่ความเป็นโรคประจำถิ่นของโควิด-19 ที่สำคัญคือเรื่องแนะให้ให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนให้ครบ 3 เข็มเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงอีกประการหนึ่ง
ข้อแตกต่าง “การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด19” แบบ ผู้ป่วยนอก(OPD) และ HI/CI
เมื่อวันที่ 1 มี.ค.65 สธ.เพิ่มบริการตรวจผู้ป่วยโควิดแบบผู้ป่วยนอก หรือ OPD ส่วนการรักษาแบบ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) ไม่ได้ยกเลิก ยังคงเดิมแต่ขึ้นกับอาการ พร้อมแจ้งแนวทางบุคลากรทางการแพทย์แล้ว กรมการแพทย์เผยข้อแตกต่างการรักษาแบบ OPD กับ HI/CI ส่วน "หมอทวี" ย้ำการรักษาแบบโอพีดี ไม่ใช่แบบไปกลับ ออกข้างนอกไม่กักตัวไม่ได้ ยังต้องปฏิบัติกักตัวเองอย่างน้อย 7 วัน มีช่องทางติดต่อแพทย์ ประเมินอาการ 48 ชม.
สองเทศบาลเสริมกำลังช่วยเหลือประชาชนตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19
พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ให้สัมภาษณ์ว่าเทศบาลร่วมกับ รพ.หาดใหญ่ เปิดศูนย์ประสานงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่เพื่อรับแจ้งผลตรวจ และลงทะเบียนผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษา(สำหรับผู้ป่วยที่ลงทะเบียนผ่านออนไลน์ไม่ได้) ทั้งในรูปแบบ HI และ CI โดยมีการเปิดสายด่วน จำนวน 10 คู่สาย หมายเลข 086 4700049 และ 086 4700050 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของเทศบาล และทีมแพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ รับสายตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. นายกฯสาครกล่าวว่าการรับแจ้งผลและช่วยลงทะเบียนเข้าระบบจะทำให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว และแบ่งเบาภาระของรพ.หาดใหญ่ หรือประชาชนผู้ติดเชื้อในเขตนครหาดใหญ่สามารถแจ้งผลการติดเชื้อกับทางศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลอีกทางหนึ่งได้
ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 จิตอาสาร่วมจัดกล่องยา Box set และโทร.หาผู้กักตัว HI
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันจังหวัดสงขลามียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทำให้จำนวนเตียงของโรงพยาบาลไม่เพียงต่อต่อผู้ป่วย รวมถึงผู้ติดเชื้อบางส่วนที่แยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. จึงมีบทบาทในด้านการเชื่อมโยงระหว่างอาสาสมัครในพื้นที่ บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบ่งออกเป็นหลายส่วน เช่น ทีมจัดเตรียม Box set และยาต้านไวรัส (Favipiravir 200mg) เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม HI ในเครือข่ายโรงพยาบาลหาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา, ทีม Call center ซักประวัติ ข้อมูลส่วนตัว ให้คำแนะนำแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 และทีมไรเดอร์หรือกลุ่ม ONE Chat สำหรับการส่งอาหารและส่งยาให้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม HI เป็นต้น โดยอาสาสมัครทุกคนจะรับความรู้การอบรมเบื้องต้นจากบุคคลากรจากโรงพยาบาลก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ม.สงขลานครินทร์ คาดวัคซีนชนิด mRNA มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดสายพันธุ์โอมิครอนได้มากกว่าชนิดเชื้อตาย
รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ฝ่ายโรงพยาบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์สายพันใหม่โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่มีการระบาดในขณะนี้นั้น ยังคงต้องรอข้อมูลจากผลการทดลองจากหลอดทดลองสักระยะหนึ่ง โดยการใช้กลไกทางระบาดวิทยาในการประเมินว่าการติดเชื้อชนิดนี้อาการรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อสายพันธุ์เดิมหรือไม่ ถือเป็นการเปรียบเทียบในเชิงระบาดวิทยา เบื้องต้นข้อมูลทางลักษณะพันธุกรรมที่บ่งชี้ถึงลักษณะหนามแหลมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมีแนวโน้มทำให้การติดเชื้อง่ายขึ้นในหลอดทดลอง ที่มีข้อมูลสำคัญคือ ข้อมูลด้านเชิงพันธุศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไวรัสชนิดเดิมซึ่งระบาดมากที่สุดขณะนี้คือเดลต้ากับโอมิครอนว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สามารถศึกษาได้ 2 แบบคือการศึกษาเพียงบางส่วนของสารพันธุกรรมและการศึกษาทั้งหมดของสารพันธุกรรม เรียกว่า “จีโนม” สามารถช่วยให้ได้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลทางด้านคลินิค ประกอบด้วยข้อมูลด้านไวรัสวิทยาคือการทดลองในหลอดทดลองว่าเชื้อสามารถติดกับเซลล์ที่สร้างขึ้นมาได้หรือไม่ หากติดได้มากขึ้นจะมีแนวโน้มแพร่ได้มากขึ้น โอกาสติดง่ายขึ้น แล้วผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีอาการอย่างไร อัตราเสียชีวิตเท่าไหร่ อัตราการนอนโรงพยาบาล การเจ็บป่วยแบบรุนแรงเท่าไหร่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลทางระบาดวิทยาจำนวนผู้ที่มีการติดเชื้อมากขึ้นหรือเปล่า สัดส่วนเท่าไหร่ของการติดเชื้อโควิดทั้งหมด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมมือ ม.สงขลานครินทร์ จัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ รองรับการตรวจทุกสายพันธุ์
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการการจัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ Center for Emerging SARS-CoV-2 Lineage Investigation in Southern Thailand (CESLIST) หวังพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจัยสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ในภาคใต้ โดยวางเป้าในการสุ่มตรวจตัวอย่างเดือนละ 300 ตัวอย่าง
ม.อ. จัดเสวนาถอดบทเรียน โควิด-19 ในภาคใต้ตอนบน สร้างองค์ความรู้ และความร่วมมือ ม.อ. กับชุมชน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัด เสวนา และถอดบทเรียน การบริหารจัดการของการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาคใต้ตอนบน ผ่านระบบการประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี ในการกล่าวเปิด และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมการเสวนา ที่ประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ เรื่อง “สถานการณ์โควิด - 19 (COVID-19) ของโลก ประเทศไทย และจังหวัดภาคใต้ตอนบน พร้อมถ่ายทอดเรื่องราว สมุย พลัส โมเดล” และ การเสวนาเพื่อการถอดบทเรียน พร้อมหาแนวทางร่วมกันกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ของการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนบน