ดร.พรพิมล เชื้อดวงผุย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. เล่าถึงความเป็นมาของความร่วมมือระหว่างคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.กับโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา(อบจ.สงขลา) ว่าอบจ.สงขลามีโรงเรียนในสังกัด 2 แห่งซึ่ง 1 ใน 2 แห่งเน้นสาขาด้านเทคโนโลยีเกษตร ซึ่งอบจ.ประสงค์อยากร่วมมือกับคณะฯเพื่อพัฒนาหลักสูตรและความรู้ที่สอนนักเรียน จึงนัดหมายพูดคุยเบื้องต้นพร้อมเยี่ยมโรงเรียน ซึ่งพบว่านักเรียนมีกิจกรรมด้านการเกษตรหลายอย่าง โรงเรียนมีความพร้อมค่อนข้างสูง เพราะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากอบจ.สงขลา และคณะฯเข้าไปช่วยเสริมความรู้ด้านการเกษตรให้คุณครู อีกทั้งจะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นม.6 เข้าศึกษาต่อในคณะทรัพยาก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนที่อยากให้นักเรียนมีโอกาสเข้าศึกษาต่อที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดตัว ไก่เบขลา ส่งเสริมเกษตรกรลดเวลาการเลี้ยงจาก 6 เดือน เหลือ 3.5 เดือน ในเทศกาล “ไก่เบขลา” “จากเบตงสู่สงขลา … กำเนิดใหม่แห่งไก่เบตง” ในงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผศ.ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ เป็นประธานเปิดงาน รศ.ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวรายงาน และนำเสนอผลงานวิจัยและโอกาสทางธุรกิจในการเลี้ยง ไก่เบขลา” แบบครบวงจร
สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรเป็นสารพิษอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบต่อสุขภาพส่วนมากเกิดจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรหรือใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง ทําให้เกิดความเป็นพิษท้ังแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง นอกจากนี้สารกำจัดศัตรูพืชยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ด้วยปัญหาเหล่านี้จึงเกิดการวิจัยและพัฒนาปุ๋ยทางการเกษตรจากธรรมชาติ นั่นคือ ปุ๋ยคืนชีพ โดยนักวิจัยคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คิดค้นและพัฒนาสูตรให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิด
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการ “ธุรกิจไก่เบตง ม.อ.” พัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการ เรียนรู้การทำธุรกิจจริง ยกระดับไก่เบตงสู่การทำธุรกิจเต็มรูปแบบ พร้อมเจาะตลาดออนไลน์และออฟไลน์
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรม “ขวดแลกกล้า ทรัพยาแบ่งปัน” โดยผู้ที่สนใจสามารถนำขวดพลาสติกหรือกระป๋องอลูมิเนียมมาแลกต้นกล้าผัก ไข่ไก่ และนมสด ในวันอาทิตย์ 30 พฤษภาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 14.00-17.00 น. ณ NR Pavilion (ตรงข้ามคณะอุตสาหกรรมเกษตร)
การระบาดของโรคลำต้นเน่าในต้นปาล์ม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มาร์ หรือโรคโคนเน่า ของชาวสวนปาล์มในเขตจังหวัดภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ สุุราษฏร์ธานี ตรัง และสตูล ก่อความเสียหายแก่สวนปาล์ม ถึงจุดวิกฤต ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา จึงได้ทำการศึกษาและคิดค้นชีวภัณฑ์ เพื่อแก้ปัญหาโรคลำต้นเน่า และชีวภัณฑ์สำหรับเสริมสร้างการเจริญเติบโตของรากปาล์ม และเผยแพร่แก่เกษตรกรภาคใต้ ทำให้สวนปาล์มสามารถกลับมาให้ผลผลิตได้ดังเดิม
โครงการกระป๋องอลูมิเนียมแลกไข่เป็นการขยายจากโครงการขวดพลาสติกแลกกล้าผักของสาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์และการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. โดยแลกกระป๋องอลูมิเนียมน้ำหนัก 1 กิโลหรือประมาณ 65 กระป๋องกับไข่เบอร์4-5 ได้ 5 ฟอง เพื่อสนับสนุนการลดขยะ และเพิ่มโปรตีนจากไข่ในมื้ออาหารหลังจากมีคนสนใจนำขวดพลาสติกมาแลกกล้าผักไปปลูกเพื่อผลิตอาหารในครัวเรือนจำนวนมาก
มีนาคม 2563 พร้อมกับ…