ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในพื้นที่มีการระบาดของวัณโรค ผู้ป่วยปอดบวมจากการติดเชื้อโควิด-19 มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด โดยผลวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร eClinicalMedicine ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ ในเครือ Lancet ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ผลวิจัยนี้เป็นผลงานของ ดร.นพ.พลกฤต ขำวิชา สาขาวิชาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยจากข้อมูลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการปอดอักเสบ มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคสูงถึง 7 เท่า ของคนปกติ โดยศึกษาจากข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงปี 2564 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า และ อัลฟ่า ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา จำนวนประมาณ 2 หมื่นกว่าคน
คณะแพทย์ ม.อ. จับมือภาคีเครือข่ายในจังหวัดสงขลา ร่วมลงนามจัดทำระบบอัจฉริยะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพ ยกระดับการรักษาพยาบาลในจังหวัดสงขลา พร้อมเป็นต้นแบบการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบสุขภาพระดับประเทศ
“โครงการพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับแลกเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ข้อมูลทางด้านสุขภาพ เพื่อยกระดับบริการทางสาธารณสุข สำหรับสถานพยาบาลขนาดต่างในจังหวัดสงขลา เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในจังหวัดสงขลา ร่วมกับ สสจ.ในการศึกษา ออกแบบ พัฒนา และให้บริการระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ร่วมโครงการส่งข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยมายังศูนย์รวบรวมข้อมูลหรืออาจเรียกว่าเป็น “สมุดสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์”ที่แพทย์แต่ละโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการสามารถย้อนดูประวัติการรักษาของผู้ป่วย ไม่ว่าจะไปรักษาที่ใด โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องถือประวัติหรือข้อมูลการรักษา และที่สำคัญคือผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปมาหลายครั้งเพื่อขอข้อมูลการรักษาเก่า ซึ่งการนำระบบ HIE มาใช้เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพ ให้ก้าวไปสู่การรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป
คณะแพทย์ ม.อ. ร่วมกับ คณะแพทย์ 4 สถาบัน ยกระดับมาตรฐานธนาคารชีวภาพ พร้อมเป็นศูนย์กลางการทดสอบและรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล
“ธนาคารชีวภาพ (Human Biobank) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคลังสำหรับจัดเก็บตัวอย่างทางชีวภาพ จัดตั้งขึ้นในปี 2559 ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์วิจัยการแพทย์ปริวรรต กลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ ชั้น 4 อาคารวิจัยรัตน์ ประธานราษฎร์นิกร เพื่อจัดเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อและเลือดเพื่องานวิจัยให้เป็นระบบ ได้มาตรฐานและถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยสนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัยเชิงลึกทางอณูชีววิทยา ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์แพทย์ทางคลินิก และนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงงานวิจัยบูรณาการเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ คลินิก และชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) ทางการแพทย์สู่การใช้งานจริงอย่างครบวงจร ผลักดันให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีความเป็นเลิศด้านต่างๆ
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต แผนการศึกษาปฏิรูประบบสุขภาพ คณะแพทย์ ม.อ. ผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ด้านการแพทย์ควบคู่การเรียนรู้ระบบสุขภาพของประเทศ
คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง และ 4 โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ลงนามบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบสุขภาพและการจัดการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต แผนการศึกษาปฏิรูประบบสุขภาพ หวังผลิตบัณฑิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถเชื่อมโยงระหว่างระบบสุขภาพขั้นปฐมภูมิ โรงพยาบาลระดับอำเภอและโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุงให้ได้รับประโยชน์ในการเข้ารับการรักษาแบบ The one health system
คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ผลงาน อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติผลงาน ในผลงาน อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประกาศสุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2563 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภทหน่วยงานภาครัฐ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธี ผลงานดังกล่าวเป็นการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพิ่มมูลค่ายางพารา และลดการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์
หนังสือนิทานต้านหัด หวังลดเด็กตายจากหัดในพื้นที่ชายแดนใต้ จากคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และเครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ จัดทำหนังสือนิทานภาพ “อานีสเป็นหัด” เพื่อร่วมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหัด ด้านคณะผู้จัดทำคาดหวังว่า หนังสือนิทานอานิสเป็นหัดจะเป็นเครื่องมือทรงพลังที่สามารถสร้างวิถีสุขภาวะให้กับเด็กๆได้ โดยจะได้มีการเก็บข้อมูลการรับวัคซีนหัดต่อไป จากโครงการเล็กๆโดยของนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 รายวิชาส่งเสริมสุขภาพร่วมกับหลายๆองค์กรในการพัฒนาแบบร่างทั้งจากสถาบันฮาลาล วิทยาลัยอิสลามศึกษาและกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน โดยมี ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้นำมาต่อยอดโดยร่วมกับ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน...