เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการการจัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ Center for Emerging SARS-CoV-2 Lineage Investigation in Southern Thailand (CESLIST) หวังพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจัยสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ในภาคใต้ โดยวางเป้าในการสุ่มตรวจตัวอย่างเดือนละ 300 ตัวอย่าง
ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ สาขาวิชาระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงการใช้วัคซีนป้องกัน Covid-19 ในประเทศไทยว่า ปัจจุบันเราคงต้องใช้วัคซีน Sinovac ที่ผลิตจากประเทศจีนเป็นหลักในการป้องกันโควิด 19 ไปอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะได้วัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น AstraZeneca และ Pfizer เข้ามาเป็นตัวหลัก เพราะทั่วโลกยังขาดแคลนวัคซีนอยู่ และประเทศผู้ผลิตยังคงต้องใช้ฉีดในประเทศตนเองให้ทั่วถึงก่อน อีกทั้งกำลังผลิตที่เชื่อถือได้ที่เรายังติดต่อได้อยู่ขณะนี้ก็ยังเป็นจากประเทศจีน
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ได้รับผลกระทบกันทั่วโลก ซึ่งการแพร่กระจายนั้นมีปัจจัยจากการดำเนินชีวิตของทุกคนและระบบการจัดการทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ทั้งนี้ทุกภาคส่วนได้มีมาตรการต่างๆที่เป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยยึดหลัก พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อให้มีมาตรการทางกฎหมายมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคติดต่ออื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ