Tag: PSUBLaw

Home / PSUBLaw

กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์

กฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมและป้องกันโรคระบาด มีความสำคัญมาก เพราะการเกิดโรคระบาดสร้างความสูญเสียในแง่เศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้สัตว์ป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เชื้อโรคบางชนิดยังสามารถแพร่กระจายจากสัตว์มาสู่คนได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขอนามัยของผู้คนในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องโรคระบาดสัตว์ จึงได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน

SH&E PSU: การทำงานที่อับอากาศ กับความปลอดภัยในสภาพพร้อมทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

SH&E PSU EP5 : กฎกระทรวงแผนอัคคีภัย

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 เป็นกฎหมายอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 โดยกำหนดให้ในสถานประกอบกิจการทุกแห่ง ให้นายจ้างจัดทำป้ายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ และปิดประกาศให้เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 ขึ้นไป นายจ้างต้อง จัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ด้วย และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยทำการตรวจสอบได้ ประกอบด้วย  การตรวจตรา  การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์ โดยจัดเก็บแผนดังกล่าวให้สามารถตรวจสอบได้

SH&E PSU EP.3 พ.ร.บ.วัตถุอันตรายและ พ.ร.บ.โรงงานฯ

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

SH&E ม.อ.มุ่งเน้นบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย เเละสิ่งเเวดล้อมในองค์กร

ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (SH&E PSU) ดำเนินการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย คณะและส่วนงาน จัดทำแนวทางตรวจสุขภาพประจำปีของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง มีการประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยระบบ ESPReL Checklist และรณรงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในองค์กร

Reguratory Sandbox เมื่อกฎหมายสร้างกระบะทราย

ในโลกปัจจุบันเต็มไปด้วยความผันผวนที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ในขณะที่กฎหมายถูกตราขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตและโดยทั่วไปแล้วถูกใช้เพื่อควบคุมกำกับดูแลสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตเมื่อความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วกว่าในอดีต ทำให้ความสามารถในการคาดการณ์หรือพยากรณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตมีอยู่อย่างจำกัด อำนาจของกฎหมายในการควบคุมความเป็นไปของสังคมจึงถูกลดทอนลงเป็นอันมากประกอบกับการปรับตัวของกฎหมายที่เป็นไปอย่างเชื่องช้าและเต็มไปด้วยข้อจำกัด เราจึงพบปัญหาว่ากฎหมายหรือกฎระเบียบจำนวนมากล้าสมัยไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กับ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ได้รับผลกระทบกันทั่วโลก ซึ่งการแพร่กระจายนั้นมีปัจจัยจากการดำเนินชีวิตของทุกคนและระบบการจัดการทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ทั้งนี้ทุกภาคส่วนได้มีมาตรการต่างๆที่เป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยยึดหลัก พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อให้มีมาตรการทางกฎหมายมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคติดต่ออื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายกับการบังคับฉีดวัคซีนโควิด-19

การเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่จึงประสงค์ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน แต่ในทางกลับกันก็อาจจะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ทางรัฐบาลจัดให้ โดยมีเหตุผลหรือความจำเป็นบางประการ เช่น ปัญหาสุขภาพจึงทำให้ไม่สามารถเข้ารับรับวัคซีนได้ มีความเชื่อว่าการรับวัคซีนเป็นการขัดต่อหลักการทางศาสนา หรือมีความกังวลในประสิทธิภาพของวัคซีนที่อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้

PSUBLaw : ความผิดเกี่ยวกับการทำให้เสียชื่อเสียง

การพูดนั้นสิ่งสำคัญ ต้องพูดแล้วไม่เดือดร้อนผู้อื่นหรือไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน ต้องตระหนักอยู่เสมอก่อนพูด ว่าคำพูดที่พูดออกไปนั้นจะ "หมิ่นประมาท" หรือไม่? กรณี "หมิ่นประมาท" นอกจากจะมีความผิดทางอาญาแล้ว ผู้กระทำผิดยังต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายอีกกรณีหนึ่งพร้อม ๆ กัน โดยจะแยกพิจารณาให้เห็นความรับผิดเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาท

สาระสำคัญจำง่ายๆ เกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพ์

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ