แนวคิด 'ยางพาราเทอร์โมพลาสติก' เพิ่มมูลค่ายาง กระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ ลดปัญหาขยะพลาสติก พัฒนาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมจักสาน
ทะเลสาบสงขลา-ไทยลากูน? มากกว่าเปลี่ยนชื่อคือองค์ความรู้ และชีวิตบนฐานทรัพยากร
สรุปประเด็นหลายข้อถกเถียงจากเรื่องชื่อทะเลสาบสงขลา ถึงองค์ความรู้และคำถามใหญ่อย่างวิถีชีวิตบนฐานทรัพยากร และอนาคตของภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศ
“ญิฮาดในรัฐอิสลาม” ปรุงงานวิจัยเป็นวรรณกรรมเยาวชนเพื่อความเข้าใจญิฮาดที่แท้จริง
ญิฮาดในรัฐอิสลาม ของสามารถ ทองเฝือเล่มนี้ เป็นผลงานวรรณกรรมเล่มที่สองของเขา (เล่มแรกคือญิฮาด) อาจกล่าวได้ว่าเล่มนี้คือความต่อเนื่องเชิงความคิดของเล่มญิฮาด ทั้งสองเล่มเป็นงานวรรณกรรมเชิงวิชาการ มากกว่าจะเป็นวิชาการเชิงวรรณกรรม แม้ผู้เขียนจะเป็นอาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ แต่ก็ได้นำวิธีวิทยาวรรณกรรมมาใช้ครอบคลุมโครงสร้างการเล่าเรื่องตลอดทั้งเล่ม
ม.อ.เชิญ 5 ผู้รับรางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปาฐกถาในโอกาสครบรอบ 55 ปีการสถาปนา ระหว่าง พ.ย.66 – มี.ค.67
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ คณะเทคนิคการแพทย์ International Peace Foundation (IPF) และการสนับสนุนของ บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด โรงแรมดุสิตธานี แอนด์รีสอร์ท ธนาคารกสิกรไทย และ บีเอ็มดับเบิลยู เปิดปาฐกถาพิเศษโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ Dr. Sir Richard J. Roberts ในหัวข้อ “เผยแพร่สันติภาพผ่านวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่” (Spreading Peace through Science and Commerce in Emerging Economies) ภายใต้กิจกรรม JAPAN-ASEAN BRIDGES Event Series ในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียน และในวาระครบรอบ 55 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี 2566
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พบพืชวงศ์กระดังงา 2 ชนิดใหม่ของโลก
รศ.ดร.จรัล ลีรติวงศ์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ Prof. Dr. David M. Johnson: Biological Science Department, Ohio Wesleyan University, Delware, Ohio, U.S.A ดร.จิรัฐิ สัตถาพร: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมรา และ นายสุเนตร การพันธ์: สถานีวิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลบุหงาเซิง (Friesodielsia Steenis) ของพืชวงศ์กระดังงา (Annonaceae) จำนวน 2 ชนิดซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ฐาน WOS ระดับ Quartile 3 ชื่อวารสาร Phytotaxa
กิน ใช้ วิตามินซีอย่างถูกต้อง เด็กกินมากเกิดไปอาจฟันผุหมดปาก ผู้ใหญ่อาจเจอภาวะนิ่วในไต
ผศ.ดร.ชิตชไม โอวาทฬารพร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.ให้ความรู้และแนะนำการใช้วิตามินซีว่า วิตามินมี 3 รูปแบบคือแบบกิน แบบทา และแบบฉีด โดยแบบแรกคือวิตามินซีสำหรับกิน ถ้าต้องการเสริมสุขภาพ ป้องกันหวัดจากเชื้อโวรัสกินปริมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนในเด็กไม่ต้องการเยอะเพราะเด็กกินอาหารอื่นด้วย เช่น นม เด็กที่กินนม ผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อก็เติมวิตามินซีเข้าไปด้วย เพราะการกินวิตามินซีเยอะเกินไปในเด็กอาจะทำให้ฟันผุเพราะวิตามินซีเป็นกรด ซึ่งเด็กมักจะกินวิตามินซีเหมือนกินลูกอม อมทุกวัน อมเช้า อมเย็น เด็กบางคนเจอว่าฟันผุทั้งปากเพราะกินวิตามินซีมากเกินไป
โอกาสทองผลไม้ใต้ “จำปาดะ” ดูแลง่าย ราคาดี มีอนาคต
งานเกษตรภาคใต้ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.ปีนี้จะมีการจัดเสวนาทิศทางการตลาดและการจัดการสวนจำปาดะอย่างยั่งยืนและการประกวดจำปาดะ 3 ประเภทคือจำปาดะเนื้อสายพันธุ์ดี จำปาดะทอดสายพันธุ์ดี จำปาดะขนุนสายพันธุ์ดี วันที่ 1-2 สิงหาคม 2566 เพื่อหวังผลการรวบรวมจำปาดะสายพันธุ์ดีและต้องการนำเสนอให้เห็นว่าจำปาดะ ผลไม้พื้นเมืองภาคใต้มีโอกาสทางการตลาดและกำลังเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
ดูแลสุขภาพองค์รวม คือทางออกแก้ปัญหานอนไม่หลับ
ดร.ภญ.อรพรรณ สกุลแก้ว ให้ข้อมูลในรายการสภากาแฟ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ว่า สาเหตุที่นอนไม่หลับไม่มาจากความเคลียดเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลากหลายปัจจัยที่หลายๆคนมองข้ามไป เช่น สภาวะกล้ามเนื้อที่เกร็งและแข็งตัว กล้ามเนื้อตึงมากเกินไป สาเหตุมาจากออกกำลังกายหักโหมมากจนเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อแขนกล้ามเนื้อขาตึงเกินไป ส่งผลทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ และอีกปัจจัยสำคัญคือ น้ำ เพราะน้ำในร่างกายมีระดับอุณหภูมิในร่างกายที่ไม่ร้อนและไม่เย็นจนเกินไป รวมถึงปริมาณน้ำในร่างกาย จะต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป ถ้าหากมากมันอาจทำให้เราฉี่บ่อยตื่นขึ้นมาปัสสาวะจนทำให้รบกวนการนอนหลับของเรา หรือ ถ้าน้อยจนเกินไปมันก็จะทำให้เรานอนหลับไม่สบายอีก มีอาการรู้สึกมันแห้งในร่างกาย บางครั้งคอแห้งก็ทำให้นอนไม่หลับเช่นกัน เพราะฉะนั้นกลางคืนควรลุกขึ้นมาจิบน้ำนิดนึงเพื่อให้ร่างกายมีความชุ่มชื่นและผ่อนคลายมากที่สุด
นวัตกรรมสร้างสุขยุคดิจิทัล
น.พ.ธีรชัย ทรงเกียรติกวิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 กล่าวว่า ตอนนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องโรคอุจาระและโรคสมองที่เราเรียกว่า สโตรก เนื่องจากปัจจุบันทั้งสองโรคร้ายมักจะมาโดยไม่ทันตั้งตัว เกิดหัวใจหยุดเต้นจากการที่หลอดเลือดถูกอุดตัน ทางของเราสิ่งที่เรากำลังทำก็คือสมัยก่อนก็คงต้องใช้วิธีการผ่าตัดทั้งหมด แต่ปัจจุบันเนี่ยสามารถใส่สายสวนเล็กๆ ขึ้นมาในหลอดเลือดแล้ววิ่งเข้าไป ไปหาหัวใจใส่สายวิ่งตามเลือดวิ่งเข้าไปหาสมองเพื่อไปกำจัดจุดที่อุดตัน เมื่อรู้ว่าตันตรงไหนเราก็สามารถลากออกมาโดยเฉพาะสมองสมัยก่อนเป็นสโตรกหลอดเลือดอุดตัน ก็เตรียมตัวต่อไปเลยเป็นอัมพาทแน่ แต่เดี๋ยวนี้ปัจจุบันอาจมีการฉีดยาละลายลิ่มเลือด แต่ตอนนี้เราไปถึงจุดก็คือเราใส่สายเดี่ยวสวนที่ว่าไปลากหลอดเลือดไปลากก้อนเลือดออกมา เราจะเห็นเลยว่าเลือดแทนที่จะวิ่งไปทั่วสมอง เหมือนเราถูกอุดตันเราถูกดึงออกมาเลือดเราก็เต็มเหมือนเดิมก็ทำให้ ดังนั้นคนไข้ก็ลอดจากการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
คุณสมบัติบริจาคเกล็ดเลือด
เกล็ดโลหิต (Platelets หรือ Thrombocyte) คือ เซลล์หรือแผ่นเซลล์บางๆที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ส่วนมากมีรูปร่างคล้ายดาว ไม่มีนิวเคลียส มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 ไมครอน (1 ไมครอน = 1 ในล้านของเมตร) สามารถพบได้ทั่วไปในเลือดของคน แต่จะพบได้มากที่ม้าม โดยที่ในเลือด 1 ซีซี จะพบเกล็ดเลือดราว 350 ล้านแผ่น เกล็ดเลือดจึงเป็นเซลล์เม็ดโลหิตชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กมากถูกสร้างจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเม็ดเลือดแดง แต่จะถูกสร้างแบบไม่มีพัฒนาการต่อจนเป็นเม็ดเลือดแดง ซึ่งเกล็ดเลือดจะถูกปล่อยเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด โดยมีอายุราว 10 วันในร่างกายก่อนจะถูกส่งไปทำลายที่ม้าม