กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันกรณีโรคโควิด 19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ (เล่มเหลืองโควิด) ในผู้ที่รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน โดยสามารถขอรับหนังสือรับรองดังกล่าวได้ที่ 4 หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
นายจ้างบังคับให้ลูกจ้างฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่ ?
การระบาดในระลอกล่าสุดมีการเพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว การเสียชีวิตจากโควิดก็มากขึ้น โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในสถานประกอบกิจการ ในโรงงานหรือที่พักคนงานก่อสร้าง เหตุผลการแพร่ระบาดดังกล่าวนำมาซึ่งมาตรการของนายจ้าง โดยการออกคำสั่งประกาศให้ลูกจ้างต้องใส่แมส ห้ามเดินทางไปพื้นที่เสียง หรือห้ามไปกินเลี้ยงกันบุคคอื่น หากไปพื้นที่เสี่ยง จะต้องกักตัว ไม่จ่ายค่าจ้าง หรือต้องไปตรวจหาเชื้อให้ปลอดจากโรคแล้วค่อยมาทำงาน หรือออกคำสั่งให้ไปฉีดวัคซีนกับทางการ หรือตามที่นายจ้างจัดให้ฉีด หากไม่ไปจะไม่ให้เข้าทำงานชั่วคราว หรือลงโทษทาง วินัย เลิกจ้าง ตัด หรือไม่ขึ้นค่าจ้าง สวัสดิการ เป็นต้น
ม.อ. พร้อม! จัดเตรียมพื้นที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ดีเดย์ 7 มิ.ย. 64 รองรับได้ประมาณวันละ 1,000 – 2,000 คน
วันนี้ (4 มิถุนายน 2564) มีการทดลองระบบการให้บริการฉีดวัคซีนกับประชาชนกลุ่มสูงอายุ และ 7 กลุ่มเสี่ยงฯ ณ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ (โรงยิม) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลังจากที่มีการเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนโควิด- 19 ผ่านระบบหมอพร้อม ปรากฏว่ามีผู้สนใจลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทศาสตร์ จัดตั้งสถานที่รับวัคซีนโควิด – 19 ณ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ม.อ.รับทุน 41 ล้านจาก NIH สร้างบุคลากรระดับนานาชาติทำวิจัยหยุดเชื้อวัณโรค
ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า สาขาระบาดวิทยาได้รับทุนจากองค์การ National Institue of Health (NIH) จำนวน 41 ล้านบาท ในการสร้างบุคลากรเพื่อยับยั้งการระบาดของเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นการพิจารณาให้ทุนกับหน่วยงานวิจัยทั่วโลกที่จัดทำโครงการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเพียง 1 ใน 2 สถาบันนอกประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการคัดเลือกให้รับทุนดังกล่าว ซึ่งโครงการที่เสนอขอทุนเป็นโครงการฝึกอบรมนักวิจัยรุ่นใหม่ ในพื้นที่ที่วัณโรคระบาดหนัก เพื่อทำการวิจัยและนำไปสู่การรักษาและกำจัดเชื้อวัณโรคให้หมดไป เพิ่มศักยภาพของพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคและถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของสังคม ให้สามารถวิจัยและแก้ปัญหาของตนเองได้
1 มิถุนายน “วันดื่มนมโลก” PSUB ชวนทำ “นมสดสตรอว์เบอร์รี่” สไตล์เกาหลี
1 มิถุนายน "วันดื่มนมโลก" PSUB ชวนทำ "นมสดสตรอว์เบอร์รี่"สไตล์เกาหลี วัตถุดิบแค่ 3 อย่าง !!.นมสดสตรอว์เบอร์รี่ หวานเย็นชื่นใจทำง่ายมากเวลาทำชิมเอารสตามชอบและปรับลดน้ำตาลเองได้เลย เพราะสตรอว์เบอร์รีจะหวานเปรี้ยวไม่เหมือนกัน รสชาติของแต่ล่ะคนก็ชอบไม่เหมือนกันด้วย
Kitchen Therapy สุขภาพจิตดีเพราะครัวบำบัด
มีใครอยู่บ้านเหมือนกันไหม นอกจากทำงานอยู่บ้าน แต่กองทัพก็ต้องเดินด้วยท้อง เข้าห้องครัววนไปค่ะ แต่จะทำยังไงให้ห้องครัวน่าใช้งานทุกวัน BuddyNews มีเคล็ดลับมาบอกทั้งเรื่องของการจัดแต่งครัว ข้อดีของการทำอาหารและประโยชน์ของอาหารแต่ล่ะอย่าง ว่ามีความเหมาะสมกับคนทำงานอย่างเราๆและสำหรับบางท่านที่มีอาการของโรคซึมเศร้าอีกด้วยนะคะ
รพ.ม.อ. ขาดแคลนเลือดขั้นวิกฤต
หน่วยคลังเลือดฯ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ยังคงขาดแคลนโลหิตทุกกรุ๊ปขั้นวิกฤต จึงขอชวนทุกท่านร่วมใจบริจาคโลหิตฝ่าวิกฤต covid-19 ไปด้วยกัน ย้ำหน่วยคลังเลือดฯ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ขอให้ผู้บริจาคโลหิตทุกท่านมั่นใจว่าห้องรับบริจาคโลหิตมีความปลอดภัยมีมาตรการป้องกัน COVID-19
“ขวดแลกกล้า ทรัพยาแบ่งปัน”
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรม “ขวดแลกกล้า ทรัพยาแบ่งปัน” โดยผู้ที่สนใจสามารถนำขวดพลาสติกหรือกระป๋องอลูมิเนียมมาแลกต้นกล้าผัก ไข่ไก่ และนมสด ในวันอาทิตย์ 30 พฤษภาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 14.00-17.00 น. ณ NR Pavilion (ตรงข้ามคณะอุตสาหกรรมเกษตร)
พาณิชย์จังหวัดสงขลา ชวนอุดหนุนฟักทองช่วยเกษตรกรผู้ปลูกในพื้นที่ระโนดและกระแสสินธุ์
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลาจึงได้ทำโครงการขอความร่วมมือหน่วยงานที่มีศักยภาพเช่น กองทัพเรือ หอการค้า ฯซื้อฟักทองจากเกษตรกรโดยตรงในราคากิโลกรัมละ 8 บาท ซึ่งสามารถช่วยระบายฟักทองไปแล้วประมาณ 300 ตัน แต่ช่วงเดือนมิถุนายนคาดการณ์ว่าผลผลิตฟักทองจะออกอีกจำนวนมาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลาจึงเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อหาตลาดและตัวกลางระหว่างผู้บริโภคกับผู้ปลูกเพื่อเร่งระบายฟักทอง โดยราคาฟักทองที่สำนักงานพาณิชย์กำหนด อยู่ที่ 8 บาทเพื่อให้ผู้ปลูกพอมีกำไร
ผลวิเคราะห์ของ ม.อ.ภูเก็ตพบฉีด Sinovac ครบ 2 เข็มกัน Covid-19 ได้ 83.3 เปอร์เซ็นต์
ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ สาขาวิชาระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงการใช้วัคซีนป้องกัน Covid-19 ในประเทศไทยว่า ปัจจุบันเราคงต้องใช้วัคซีน Sinovac ที่ผลิตจากประเทศจีนเป็นหลักในการป้องกันโควิด 19 ไปอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะได้วัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น AstraZeneca และ Pfizer เข้ามาเป็นตัวหลัก เพราะทั่วโลกยังขาดแคลนวัคซีนอยู่ และประเทศผู้ผลิตยังคงต้องใช้ฉีดในประเทศตนเองให้ทั่วถึงก่อน อีกทั้งกำลังผลิตที่เชื่อถือได้ที่เรายังติดต่อได้อยู่ขณะนี้ก็ยังเป็นจากประเทศจีน