ดร.ขวัญหทัย แช่ทอง หัวหน้าโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเพิ่มคุณภาพการละลายและผลดีต่อสุขภาพของผงโกโก้ หนึ่งในสี่กลุ่มงานวิจัยโกโก้ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ.ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาวิจัยตั้งแต่กระบวนการหมักเพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้แห้งคุณภาพ จนถึงการวิจัยผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์โกโก้ เช่น บรรจุภัณฑ์จากเปลือกหรือใบโกโก้ เล่าให้ฟังว่ากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์โกโก้มีส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ส่วนที่เหลืออีก 90 เปอร์เซ็นต์เป็นของเหลือทิ้งมูลค่าต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเยื่อหุ้มเมล็ด เปลือกผลโกโก้ ใบโกโก้จากการตัดแต่งกิ่งในสวน เป็นต้น แต่กลุ่มงานวิจัยโกโก้ทั้งหมดของคณะอุตสาหกรรมเกษตร คำนึงถึงความยั่งยืนและการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของโกโก้ให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วยกลุ่มงานวิจัยสี่กลุ่ม
สงขลา เตรียมยื่น ขอ GI เส้นใยตาลโตนดและผลิตภันฑ์ตาลโตนดคาบสมุทรสทิงพระ
ภาคใต้เป็นแหล่งที่มีต้นตาลโตนดมากแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ราบทางฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพร เรื่อยมาจนถึงปัตตานี ต้นตาลขึ้นได้ดีตามท้องทุ่งทั่วไป โดยชาวบ้านนิยมปลูกกันตามคันนาเป็นส่วนมาก ในท้องที่บางแห่งมีต้นตาลมากเป็นพิเศษ และกระจายอยู่ทั่วไป เช่น บริเวณอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ด้วยความหนาแน่นของต้นตาล ปรากฏในหลายท้องที่เช่นนี้ทำให้ชาวใต้โดยทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในท้องที่นั้นๆ รู้จักเอาส่วนต่างๆ ของต้นตาลมาใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง และสืบต่อกันเรื่อยมาไม่ว่าจะเป็น ลำต้น ผล งวง ใบ ราก เมล็ด ทางตาล และใยตาล จนกลายเป็นวัฒนธรรมชาวบ้าน ปัจจุบันผู้รู้ทั้งหลาย เรียกว่า “วัฒนธรรมตาลโตนด” หลายลักษณะซึ่งน่าสนใจไม่น้อยในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการใช้ประโยชน์จาก “ใยตาล” ในลักษณะของ “หัตถกรรมใยตาล ” เท่านั้น
อบจ.สงขลา เดินหน้าพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์ เพื่อผลักดันและพัฒนาจังหวัดสงขลา สู่การเป็นมรดกโลก
เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 66 ที่ ห้องประชุม Laguna King Grand Ballroom ชั้น 2 โรงแรม ลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการประชุมร่วมกับภาคประชาสังคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และกิจกรรมตามแนวทางของเมืองมรดกโลก โดย มีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนมหาวิทยาลัย นักวิชาการ ภาคีเครือข่ายด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และผู้เข้าร่วมประชุมทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) ตลอดจนสื่อมวลชนในพื้นที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ม.อ. จัดกิจกรรมเผยแพร่งานบริการวิชาการกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และมอบอุปกรณ์เครื่องวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อฟื้นฟูการพัฒนาปัญญาฐานกาย
การจัดกิจกรรมงานบริการวิชาการ ม.อ. กับการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระยะ 20 ปี การดำเนินงานเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 2 ความเป็นผู้นำทางวิชาการ พันธกิจ 2.3 พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม โดย สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม (สมส) ผลการดำเนินงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม ดำเนินงานระหว่างปี 2562 ถึงปัจจุบัน (4 ปี) สมส. ได้ดำเนินงานด้านพันธกิจสังคมที่มีผลกระทบสูง จำนวน 19 เรื่อง หนุนเสริมงานการพัฒนาชุมชน เชิงพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้
พิพิธภัณฑฯ ม.อ. ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Silver Awards) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่ง ฝึกอบรมด้านอนุกรมวิธานและความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตสำหรับ นักศึกษาและนักวิจัยทั่วโลก มีการถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปสู่ชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการให้บริการความรู้นอกห้องเรียนด้วยนิทรรศการและกิจกรรมทางด้านธรรมชาติศึกษาและวิทยาศาสตร์ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็ก นักเรียน และประชาชนทั่วไป รู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น จุดประกายให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป
ภาคีพลเมืองสขลาจับมือสมัชชา ชูสงขลาเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน สังคมเป็นสุข
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ภาคีผลเมืองสงขลากว่า 20 องค์กรร่วมกันจัดงานสมัชชาพลเมืองสงขลา ประจำปี 2566 ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 141 แห่ง หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่ายในพื้นที่จำนวน 270 คน ร่วมกันรับฟังผลการดำเนินงานของภาคีพัฒนาระดับจังหวัด และสร้างความร่วมมือ ชุสงขลาเป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน สังคมเป็นสุข ณ โรงแรมคริสตัน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
นักวิจัย ม.อ. ใช้กากสาคูเหลือทิ้งเลี้ยงเชื้อ “สเตรปโตมัยซีส” ไรโซแบคทีเรียฤทธิ์เด่น ต้านโรคในทุเรียนลดต้นทุนใช้สารเคมีถึง 30 %
มูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยปี 2565 ประมาณ 111,000 ล้าน พื้นที่เพาะปลูก 1,341000 ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่ปลูกเพราะทุเรียนยังราคาสูง แต่ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อทุเรียนคือโรคต่างๆ ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการจัดการส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง รศ.ดร.อนุรักษ์ สันป่าเป้า อาจารย์ประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์ สนใจศึกษากากสาคูเหลือทิ้งจากการทำแป้งสาคูจนได้ศึกษาวิจัยจนพบว่ากากสาคูมีคุณสมบัติที่ดีมากสำหรับเป็นอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อที่มีศักภาพในการต้านเชื้อก่อโรคในทุเรียน หรือ เชื้อStreptomyces NR8-2 จากกากสาคูเพื่อควบคุมโรคพืช
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “เศรษฐกิจไทย ก้าวอย่างไรให้ไกลกว่าเดิม” ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “เศรษฐกิจไทย ก้าวอย่างไรให้ไกลกว่าเดิม” ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ ห้อง Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี เพื่อร่วมฉลองวาระครบ 20 ปี การก่อตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ ให้เกียรติเปิดงาน
สภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลาและเครือข่ายฯผนึกกำลังผลักดันนโยบายคุ้มครองผู้บริโภค 3 ประเด็น ใบเสร็จรับเงิน ชัดเจน ตรวจสอบได้ จดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ และถังแก็สหุงต้ม ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ฉลากชัดเจน
สมาคมผู้บริโภคสงขลา หน่วยงานประจำจังหวัด สภาองค์กรของผู้บริโภค สำนักงานพลังงานจังหวัด ตำรวจภูธรหาดใหญ่ สำนักงานพานิชย์จังหวัดสงขลา สำนักงานสรรพสามิตรจังหวัดสงขลา ตัวแทนจากพรรคการเมือง พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย และพรรคประชาธิปัตย์ และภาคีภาคประชาสังคม ได้แก่ เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ เครอข่ายผู้ติดเชื้อจ.สงขลา เครือข่ายศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ และตัวแทนผู้บริโภค16 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา จับมือรวมพลังผู้บริโภคในสภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลา ระดมความเห็นและข้อเสนอ 3 ประเด็นคุ้มครองผู้บริโภคคือ 1.ใบเสร็จรับเงิน ชัดเจน อ่านง่าย ตรวจสอบได้ 2.จดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ ผู้บริโภคอุ่นใจ ลดภัยมิจฉาชีพ 3.ฉลากถังแก็ซหุงต้ม...ต้องชัดเจน ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
35ปี ท่าอากาศยานหาดใหญ่ มุ่งสู่ Gateway to Southern-most Thailand พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคใต้ รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินในอนาคต
ในวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ครบรอบการดำเนินงาน 35 ปี ปัจจุบันบริหารงานโดยนาวาอากาศโท รณกร เฉลิมแสนยากร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ผหญ.) นายชูวิทย์ พันธุ์เณร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านสนับสนุนธุรกิจ) รหญ.(สธ.)) และนายนพพร พยัพไพร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านปฏิบัติการและบำรุงรักษา) (รหญ.(ปร.)) เป็นผู้ดำเนินการสนามบินสาธารณะที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ซึ่ง ทอท. ได้กำหนดบทบาททางยุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) ให้ ทหญ.เป็นประตูสู่ ภาคใต้สุดของไทย Gateway to Southern-most Thailand ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคใต้ โดยเป็นจุดเชื่อมการเดินทางทางอากาศเส้นทางบินภายในประเทศสู่ 5 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ได้แก่ สงขลา สตูล นราธิวาส ยะลา และปัตตานี รวมถึงเส้นทางบินระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ มีสายการบินที่ให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศ ณ ปัจจุบัน จำนวน 7 สายการบิน ได้แก่ สายการบินไทยสมายล์, สายการบินนกแอร์, สายการบินบางกอกแอร์, สายการบินไทยไลอ้อนแอร์, สายการบินไทยแอร์เอเชีย, สายการบินนกสกู๊ต และสายการบินไทยเวียตเจ็ตแอร์ นำผู้โดยสารเดินทางสู่ดอนเมือง, สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่, เชียงราย, ภูเก็ต, อุดรธานี, กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์