ตั้งจุดรับซื้อ ปลาหมอคางดำ กก.ละ 15 บาท นำผลิตน้ำหมัก ใช้ในพื้นที่สวนยาง

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงเปิดเผยมาตรการแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำว่าได้มีการตั้งจุดรับซื้อในทุกพื้นที่ที่เกิดการระบาดจำนวน 75 จุด ซึ่งรับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 15 บาท จะส่งให้สถานีพัฒนาที่ดินของแต่ละพื้นที่ ผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพและส่งมอบให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แจกจ่ายให้เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่สวนยางจำนวน 200,000 ไร่ 

การเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำเปิดจุดรับซื้อเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 สิงหาคม 2567 หากสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อแล้ว กรมประมงและการยางแห่งประเทศไทย จะร่วมกันพิจารณาการขยายเวลารับซื้ออีกครั้ง 

จุดรับซื้อแต่ละจังหวัดมีตั้งแต่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่พบการระบาดของปลาหมอคางดำ

ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ตอนกลางและตอนล่าง มีการตั้งจุดรับซื้อ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 จุด อ.ไชยาและอ.ท่าชนะ จังหวัดนครศรีธรรมราช  5 จุด อ.ปากพนังและอ.หัวไทร และ จังหวัดสงขลา 1 จุด อ.ระโนด มีรายละเอียดและช่องทางการติดต่อ ดังนี้

จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 จุด ได้แก่ 

1. ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา คุณวัชระ อินอักษร 0818951954 
2. ตำบลตะกรบ อำเภอไชยา คุณพรรณทิพย์ บัวมี 0610562039 และ 
3. ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ คุณเอกลักษณ์ ด่านบำรุงตระกูล (แพโชคเอกลักษณ์) 0809946643

จังหวัดนครศรีธรรมราช 5 จุด ได้แก่ 

1. คุณประทีป น้ำขาว (แพพรเทพ) ตำบลท่าพญา อำเภอปากพนัง 0829151664 
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรชัยวัฒนา (แพพรชัยวัฒนา) ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก อำเภอปากพนัง 
3. สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำปากพนังจำกัด ตำบลท่าพญา อำเภอปากพนัง 0897247222 
4. คุณวรชัช เจะเหล็ม (แพน้องเฟีย) ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร0661524165 และ 
5. ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร คุณณัฎฐชัย นาคเกษม 0661524165

จังหวัดสงขลา 1 จุด ได้แก่ 

ธนาคารสัตว์น้ำชุมชนประมงพื้นบ้าน (บ้านเลค่าย) ตำบลระวะ อำเภอระโนด 0936292428

สำหรับวิธีการขายปลาหมอคางดำนั้น ให้แจ้งแหล่งน้ำที่จับและเครื่องมือที่จับกับเจ้าหน้าที่ ณ จุดรับซื้อเพื่อบันทึกเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดต่อไป 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากอธิบดีกรมประมงเผยจำนวนการรับซื้อตั้งแต่วันที่ 1-3 สิงหาคม 2567 ว่า มีเกษตรกรนำปลาหมอคางดำมาขายที่จุดรับซื้อรวม 40,743 กิโลกรัม แบ่งเป็น จับจากบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ และเข้าสู่กระบวนการผลิตปุ๋ยหมักแล้ว 38,412 กิโลกรัม

 สำหรับจุดรับซื้ออื่น ดูรายละเอียดได้ที่ ลิงก์ หรือ สแกน QR Code

อ้างอิง: ประชาสัมพันธ์ กรมประมง

ภาพ: แฟ้มภาพ

อ่านต่อ

‘ปลากือเลาะห์’ จากใกล้สูญพันธุ์สู่ สายพันธุ์สร้างมูลค่าชายแดนใต้ อุดมคุณประโยชน์

พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวทะเลสาบสงขลารมควัน ต่อยอดแนวคิดการแก้ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกะชัง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *