Tag: ม.อ.

Home / ม.อ.

ม.สงขลานครินทร์ รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็น (Thailand Quality Class: TQC) ประจำปี 2564

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้ารับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class: TQC) ประจำปี 2564 ในพิธีมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2564 จัดโดย สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยได้รับเกียรติจากนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มอบรางวัลและกล่าวแสดงความยินดีแก่ 14 องค์กรที่ได้รับรางวัล ณ ห้องภิรัชฮอลล์ 1-2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมงาน

ม.อ.ขับเคลื่อนท้องถิ่น 4.0 ด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มดิจิทัล

วันนี้ (20 พ.ค. 65) ที่ ห้องสันติภาพ ชั้น 7 โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผศ.ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิด "โครงการพันธกิจ ม.อ. ยกระดับการใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มดิจิทัลสู่ธุรกิจ 4.0" โดยมี ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู (ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู) , รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล , ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม , คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และคณะ ตลอดจนคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน ครู ผู้ดูแลเด็กจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมงาน กว่า 170 คน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 107 หน่วยงาน

สงขลายังไม่เจอปะการังฟอกขาว ศูนย์วิจัยฯ เฝ้าติดตามสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด พบเพียงปะการังสีซีดเป็นจุดๆ

ปะการัง เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในพวกชีเลนเทอราดา (Coelenterata) กลุ่มเดียวกับดอกไม้ทะเล และ แมงกะพรุน ต่างกันที่ปะการังจะสร้างหินปูนเป็นฐานแข็งแรง มีลักษณะเด่น คือ มีโพรงในลำตัว และมีเนื้อเยื้อ 2 ชั้น ในตัวปะการัง มีสาหร่ายเซลล์เดียวเรียกว่า ซูแซนเธอลี่ (Zooxanthellae) จำนวนมาก อาศัยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร และสร้างสีสันให้แก่ปะการัง

คณะแพทย์ วิศวะ เภสัช ม.อ.จับมือ บ.หาดทิพย์ ร่วมพัฒนาตู้กดยาโควิด บริการ 24 ชม.ลดข้อจำกัดร้านยาปิด เพิ่มความสะดวกเข้าถึงยา

คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับ บ.หาดทิพย์ จำกัด(มหาชน ) พัฒนาตู้กดยาอัตโนมัติ”ล่วมยา ร่วมใจ ต้านภัยโควิด” บริการ 24 ชม.โดยมียาสามัญประจำบ้านครอบคลุมทั้งการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย  เจลล้างมือแอลกอฮอล์ อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ อุปกรณ์วัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ชุด ATK   เครื่องวัดไข้ ยาสามัญประจำบ้านรักษาตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด

แนวทางการช่วยเหลือเยียวยานักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ บรรเทาความเดือนร้อนแก่นักศึกษาและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

แนวทางการช่วยเหลือและเยียวยานักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลดค่าธรรมเนียมการศึกษา จัดสรรทุนการศึกษา พร้อมสวัสดิการเงินยืมฉุกเฉินแก่นักศึกษาที่ประสบปัญหาทางการเงินและมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนแก่นักศึกษาและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคระบบหายใจ ม.สงขลานครินทร์ แนะวัณโรครักษาหายได้หากผู้ป่วยกินยาครบ พบหมอตามนัด

รศ.พญ.วรางคณา กีรติชนานนท์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตระบบหายใจ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า วัณโรคเป็นกลุ่มโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียMycobacterium tuberculosis พบมากในประเทศเขตร้อนชื้นสำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ทุกภูมิภาคและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยเนื่องจากพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในแต่ละปีค่อนข้างเยอะ วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่อกันง่ายผ่านละอองฝอยจากการไอและจามที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ (เชื้อที่แฝงอยู่ในละอองเสมหะประมาณ 30% สามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง) มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจหากผู้ป่วยได้รับเชื้อผ่านการสูดหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรงพบบ่อยที่สุด คือ วัณโรคปอด อาการเริ่มต้นส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการไอนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งอาการไอจะมีผลต่อทางเดินหายใจส่วนล่าง (ปอด หลอดลม) มีเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไอนานๆ มักก่อให้เกิดโพรงแผลในปอดและทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือดร่วมด้วยจะส่งผลให้มีการไอเป็นเลือด

ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับ ม.ราชภัฏสงขลา ค้นเรื่องราวจีนที่เมืองสงขลา หนุนขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองมรดกโลก

เดินหน้าไปอีกหนึ่งก้าวสำคัญกับการนำสงขลาสู่มรดกโลก ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี ร่วมมือกันนำนักวิชาการของสองมหาวิทยาลัย ค้นเรื่องราวของชาวจีนที่เดินทางมายังเมืองสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2223 – 2385 เพื่อเป็นข้อมูลในการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลก

ศูนย์พักคอยศูนย์โรงช้าง สำหรับนักศึกษาม.อ. ที่ติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้การดูแลของแพทย์ รพ.สงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งศูนย์พักคอยศูนย์โรงช้างม.อ. เพื่อเป็นสถานที่รองรับนักศึกษาม.อ. ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยโซนสีเขียว) ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อีกทั้งเพื่อเป็นการแบ่งเบาการดูแลผู้ติดโควิด19 ของศูนย์กักตัวอื่นๆในพื้นที่จังหวัดสงขลา

ศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ได้รับการรับรอง มอก.2677-2558 มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

เภสัชกรกมล ปาลรัตน์ หัวหน้าศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า ศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (มอก.2677-2558) ในโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติร่วมกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ โดยการได้รับรอง มอก.2677- 2558 เป็นเครื่องยืนยันด้านความพร้อมและความปลอดภัยด้วยระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ที่มีกระบวนการจัดการทั้งระบบในเชิงนโยบายและปัจจัยต่างๆ

‘ปุ๋ยคืนชีพ’ นวัตกรรมนาโนอาหารพืชจากมอดรำข้าวสาลี

สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรเป็นสารพิษอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบต่อสุขภาพส่วนมากเกิดจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรหรือใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง ทําให้เกิดความเป็นพิษท้ังแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง นอกจากนี้สารกำจัดศัตรูพืชยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ด้วยปัญหาเหล่านี้จึงเกิดการวิจัยและพัฒนาปุ๋ยทางการเกษตรจากธรรมชาติ นั่นคือ ปุ๋ยคืนชีพ โดยนักวิจัยคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คิดค้นและพัฒนาสูตรให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิด