Tag: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Home / มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เทศกาลศิลปะ Kenduri Seni Patani 2024 มองชีวิต ธรรมชาติและคุณค่าทางสังคม

เทศกาลศิลปะนานาชาติ Kenduri Seni Patani 2024 จัดขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2567 ผ่าน 9 พื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ในแนวคิด ‘Before Birth and Beyond Death - ก่อนอุบัติและหลังสลาย’ ชวนตั้งคำถามชีวิต ธรรมชาติ และคุณค่าทางสังคมผ่านผลงานศิลปะกว่า 100 ผลงาน จากศิลปินชาวไทย ภูมิภาค และต่างประเทศ

ชวนรู้จัก ‘โรคซึมเศร้า’ เพราะสุขภาพใจสำคัญ ไม่แพ้สุขภาพกาย

‘PSU I SEE’ สรุปความจากการพูดคุยกับ รศ.ดร.พญ.รัศมี โชติพันธ์วิทยากุล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อชวนทบทวนความเข้าใจ ‘โรคซึมเศร้า’ เพราะสุขภาพจิตสำคัญไม่แท้สุขภาพกายที่เราทุกคนใส่ใจดูแล

นักศึกษานิติศาสตร์ ม.อ. ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ไม่แบ่งสี-ฝ่าย หวังสังคมให้โอกาสคนเห็นต่าง

วันนี้ (13 ก.พ. 2567) เวลา 17:00 น. ที่ลานถนนคนเดินนักศึกษา ม.อ. หรือ PSU-Bizmall นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ในฐานะตัวแทนจากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ (Law Long Beach) ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชน เพื่อเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติ...

ม.อ. จับมือภาครัฐ-เอกชนแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรมต่อยอดโอกาสเรียนรู้ ยกระดับเศรษฐกิจภาคใต้

บรรยากาศวันแรกของงาน SITE2024 - Southern Innovation and Technology Expo ที่รวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมโครงงานวิจัยกว่า 200 โครงงาน พร้อมช่องทางเพิ่มโอกาสขยายธุรกิจ และพบกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 350 ราย ระหว่างวันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

“น้ำมันไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์ไขมันสูง” ผลพลอยได้จากสิ่งเหลือทิ้งโรงงานปาล์ม ผลงานชิ้นเยี่ยมของ”นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ”คนล่าสุดของ ม.สงขลานครินทร์

ศ.ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์ อดีตนักเรียนทุนวิทยาศาสตร์ที่ชอบเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เลือกเรียนสาขาวิศวกรรมเคมีเพราะไม่ต้องการทิ้งศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งที่ชอบ และต่อปริญญาเอกเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสนใจการใช้จุลินทรีย์เพื่อจัดการของเสียหรือวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานปาล์มซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ ความสนใจและความเชี่ยวชาญของอาจารย์เบญจมาสกลายเป็นงานวิจัยการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งจากโรงงานปาล์มซึ่งยังมีสารอาหารที่สามารถเลี้ยงจุลินทรีย์ได้ โดยแต่เดิมอาจใช้ประโยชน์เพียงแค่การทำไบโอแก๊ส อาจารย์เบญจมาสใช้น้ำทิ้งจากโรงงานเลี้ยงยีสต์ไขมันสูงแล้วนำยีสต์ไปสกัดน้ำมันไบโอดีเซล หลังจากนั้นได้เกิดการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งเพื่อเลี้ยงยีสต์ไขมันกันอย่างแพร่หลาย

พิพิธภัณฑฯ ม.อ. ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Silver Awards) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่ง ฝึกอบรมด้านอนุกรมวิธานและความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตสำหรับ นักศึกษาและนักวิจัยทั่วโลก มีการถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปสู่ชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการให้บริการความรู้นอกห้องเรียนด้วยนิทรรศการและกิจกรรมทางด้านธรรมชาติศึกษาและวิทยาศาสตร์ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็ก นักเรียน และประชาชนทั่วไป รู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น จุดประกายให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “เศรษฐกิจไทย ก้าวอย่างไรให้ไกลกว่าเดิม” ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  สร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “เศรษฐกิจไทย ก้าวอย่างไรให้ไกลกว่าเดิม” ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ ห้อง Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี เพื่อร่วมฉลองวาระครบ 20 ปี การก่อตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ ให้เกียรติเปิดงาน

ม.อ. ร่วมกับ ชุมชนมัสยิด ซาฮิ ปากีสถาน นำเสนอคุณค่าของทุนวัฒนธรรม ภายใต้งาน “ชวนกันมาจิบชาปากีฯ”

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมกับ ชุมชนมัสยิด ซาฮิ ปากีสถาน จัดกิจกรรมภายใต้งาน “ชวนกันมาจิบชาปากีฯ” ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ มัสยิดปากีสถาน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ครั้งแรกของภาคใต้ Pakk Taii Design Week ร่วมกับเครือข่ายนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ มุ่งเป้าหมายเพื่อนำเสนอคุณค่าของทุนวัฒนธรรมผ่านเรื่องราวความเป็นมา วิถีชีวิตของชาวมุสลิมปากีสถานในอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ศึกษาของโครงการวิจัย “วิถีมงคลของนครหาดใหญ่บนฐานทุนวัฒนธรรมสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์”

สยามอะโกรวิลล์ บริษัทร่วมทุนไทย-มาเลเซีย ผนึกกำลังกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ชูนวัตกรรมฟาร์มโซลูชั่น ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยปลอดภัยอย่างยั่งยืน

บริษัท สยามอะโกรวิลล์ จำกัด ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ จัด “พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาการทำเกษตรแบบแม่นยำ” ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30-11.30 น. ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา โดยมี ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ กล่าวต้อนรับ และคุณสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวแสดงความยินดี

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พบพืชวงศ์กระดังงา 2 ชนิดใหม่ของโลก

รศ.ดร.จรัล ลีรติวงศ์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ Prof. Dr. David M. Johnson: Biological Science Department, Ohio Wesleyan University, Delware, Ohio, U.S.A ดร.จิรัฐิ สัตถาพร: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมรา และ นายสุเนตร การพันธ์: สถานีวิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลบุหงาเซิง (Friesodielsia Steenis) ของพืชวงศ์กระดังงา (Annonaceae) จำนวน 2 ชนิดซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ฐาน WOS ระดับ Quartile 3 ชื่อวารสาร Phytotaxa