“ณัฐวี บัวแก้ว” ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกถึงจุดเริ่มต้นของไอเดียในการทำธุรกิจ ว่า มาจากงานวิจัยของตนเองเกี่ยวกับการแปรรูปยางพาราที่ถูกนำมาต่อยอดจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย โดยผลิตภัณฑ์แรกที่นำเสนอออกมาได้แก่ ถุงเพาะชำย่อยสลายได้ภายใต้แบรนด์ “Greensery” โดยเป็นถุงที่ทำจากยางพารา และสามารถย่อยสลายได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี ซึ่งสามารถดูดซับน้ำได้ และมีสารอาหาร N ,P และK โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับปรุงโรงงาน หลังจากที่มีออเดอร์เข้ามาเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถผลิตได้ทัน และล่าสุดได้พาสเนอร์รายใหม่ที่จะเข้ามาร่วมทำธุรกิจเรียบร้อยแล้ว
ม.อ. เผยผลสำรวจประชาชนชายแดนใต้ กังวลผลกระทบโควิดมากกว่าเหตุการณ์ความไม่สงบ
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา และมาตรการของรัฐพบว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 75 ได้รับผลกระทบด้านการประกอบอาชีพ ร้อยละ 83.6 ระบุมีรายได้ลดลง และบางส่วนร้อยละ 18.2 ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการและการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ แต่ยังพออยู่ได้ด้วยการช่วยเหลือกันในชุมชน พร้อมให้คะแนนความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล 6.39 เต็ม 10 ทั้งนี้การสำรวจ จำนวน 820 ตัวอย่าง จาก 164 ชุมชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อ.จะนะ อ.เทพา อ.นาทวีและ อ.สะบ้าย้อย ระหว่างวันที่ 21 พ.ค. – 5 มิ.ย. 2563
“สงขลานครินทร์” รับโล่จากนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้พัฒนาวัสดุหุ้มแบริเออร์จากยางพาราเพื่อสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และกรรมการการยางแห่งประเทศไทย และ รองศาสตราจารย์อาซีซัน แกสมาน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในการเข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณผู้ให้การสนับสนุนโครงการความร่วมมือ เรื่อง อุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพาราเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐ จากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2563 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากยาง : แนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
นวัตกรรมคือหนทางสำคัญในการเพิ่มมูลค่า การสร้างความหลากหลายของตัวผลิตภัณฑ์ เพราะยางพารานำไปทำผลิตภัณฑ์ได้จำนวนมาก เช่นในสถานการณ์การระบายของเชื้อโรคโควิด 19 มีการผลิตภัณฑ์จำนวนมากจากยางพารามาช่วยในการป้องกันการกระจายของเชื้อโรค โดยเชื่อมโยงกับทางการแพทย์ สุขภาพ การกีฬา การขนส่ง งานโครงสร้างอาคาร การเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังคงให้ความสำคัญกับยางพาราในทุกกระบวนการตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเพราะมีที่ตั้งของ 5 วิทยาเขตอยู่ในภาคใต้ ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้มีอยู่พร้อมในมหาวิทยาลัย เพียงแต่นำมาเชื่อมประสานให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น
สงขลานครินทร์ เดินหน้ายุทธศาสตร์ “ศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน”
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เดินหน้ายุทธศาสตร์ “ศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน” โดยมีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพของคนในพื้นที่จังหวัดอันดามัน รวมทั้งผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับและส่งเสริมการท่องเที่ยว นับว่าเป็นการสนองยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล โดยการพัฒนาเป็นวิทยาลัยสุขภาพนานาชาติ จะมีการผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว เพื่อรองรับการแก้ปัญหาสาธารณสุขและการขาดแคลนบุคลากรในพื้นที่จังหวัดอันดามันอีกด้วย
ม.สงขลานครินทร์ รับมอบเครื่องกรองอากาศ เวชภัณฑ์กำจัดเชื้อโรค จาก EA และ “กลุ่มช่วยกัน” เพื่อส่งมอบให้กับโรงพยาบาลใน 14 จังหวัดภาคใต้
วันที่ 6 มิถุนายน 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเป็นผู้แทนรับมอบเครื่องกำจัดเชื้อโรคในระบบปรับอากาศ เครื่องกรองอากาศ จำนวน 405 เครื่อง มูลค่ารวมกว่า 3 ล้านบาท และเวชภัณฑ์ในการฆ่าเชื้อโรค ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อนำไปติดตั้งและใช้งานในโรงพยาบาลทั่วภาคใต้ เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่มารับบริการ โดยนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ร่วมกับ"กลุ่มช่วยกัน" พร้อมด้วยคณะ ส่งมอบเครื่องกรองอากาศและอุปกรณ์ฆ่าเชื้อดังกล่าวโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นศูนย์กลางในการส่งมอบอุปกรณ์และความช่วยเหลือไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วภาคใต้
คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. จัดพิธีปิด รพ.สนาม 2 และรพ.สนามภูเก็ต และ เตรียมความพร้อมร่วมกับสมาคมโรงแรมในจังหวัดสงขลา ภายใต้การบริการแบบ New Normal
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดแถลงข่าว “เสร็จสิ้นภารกิจเฟส 1 สู้ภัยโควิด 19 – สงขลาโมเดล” และพิธีทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการป้องกันผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ อาคารติณสูลานนท์ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
ม.อ.รวมพลังนักวิจัย พัฒนาชุดตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส (PSU COVID-19)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ ภาคเอกชน พัฒนาชุดทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นำโดย ผศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล ดร.จิดาภา เซคเคย์ ดร.ปิยะวุฒิ แสวงผล ดร.ธีรภัทร นวลน้อย ดร.ณัฏฐาภรณ์ ณ นคร และ ดร.ปวีณา วงศ์วิทย์วิโชติ จากคณะเทคนิคการแพทย์ และคณะเภสัชศาสตร์ โดยชุดตรวจนี้ใช้สำหรับตรวจคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาตรวจประมาณ 15-20 นาที
การติดเชื้อของระบบกระดูกและข้อ – พญ.นิสาลักษณ์ อุโพธิ์
โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ เป็นการอักเสบและติดเชื้อที่บริเวณกระดูก ไขกระดูก (Bone marrow) และกล้ามเนื้อที่อยู่โดยรอบ อาจเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดทำงานบกพร่อง นอกจากนี้โรคที่มีความผิดปกติในกระบวนการสร้างและสลายกระดูกอื่นๆ
สงขลานครินทร์ จัด workshop ให้กับกลุ่มธุรกิจบริการเพื่อเตรียมเปิดเมืองสงขลา
จากการที่ทุกหน่วยงานต่างช่วยกันพยายามอย่างเต็มที่ในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 จังหวัดสงขลา เป็นหนึ่งจังหวัดที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ในระดับดี สามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของคนไข้ ทำให้ระบบสาธารณสุขปรับตัวเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยได้ ผนวกกับการที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 ที่ประชาชนเดินทางข้ามจังหวัดได้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้จัดการฝึกอบรมและ workshop ให้กับกลุ่มอาชีพและธุรกิจที่เปรียบเสมือนด่านหน้าที่ต้องเผชิญกับกลุ่มคนและนักท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2563 ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์สาขา 2 โดยความร่วมมือของโรงพยาบาลในจังหวัดสงขลา