Category: News

Home / News

Eco Block อิฐบล๊อกจากเปลือกเมล็ดยางพารา น้ำหนักเบา ลดใช้พลังงาน อิฐบล็อกรักษ์โลกผลงานคณะสถาปัตย์ ม.อ.ตรังรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมยางพารา

Eco Block คอนกรีตบล็อกจากเปลือกเมล็ดยางพารา รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมยางพาราจากงานมหกรรมยางพารา ครั้งที่ 1 จ.ตรัง เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวคิดลดการใช้พลังงาน ลดมลภาวะจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งใช้พลังงานถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของทุกภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เจ้าของผลงาน Eco Block คอนกรีตบล๊อกจากเปลือกเมล็ดยางพาราขยายความว่า ทุกกิจกรรมการก่อสร้างอาคารไม่ว่าจะกระบวนการผลิตวัสดุ ขนส่ง ขนย้าย หรือรื้อถอนติดตั้ง ล้วนปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ออกสู่ชั้นบรรยากาศทั้งสิ้น วัสดุ 3 ชนิดที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด ทั้งกระบวนการผลิต การขนส่ง การติดตั้ง การทำลาย คืออลูมิเนียม 2 เปอร์เซ็นต์ เหล็ก 10 เปอร์เซ็นต์ และ คอนกรีต 11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเยอะที่สุด โดยเฉพาะคอนกรีตอิฐบล๊อกซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจากใช้งานง่าย ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว แข็งแรง ราคาไม่สูงมาก

สถาบันฮาลาล ม.สงขลานครินทร์ จัดปฐมนิเทศหลักสูตร การจัดการระบบกิจการฮาลาล รุ่นที่ 4 ประจำปี 2566

สถาบันฮาลาล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศหลักสูตร การจัดการระบบกิจการฮาลาล รุ่นที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2566โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวเปิดงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัสมัน แตอาลี ผู้อำนวยการสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวรายงาน ณ ห้องคาลิสฮอล์ 1 โรงแรมอัลฟาฮัจย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในวันจันทร์ ที่ 22 พฤษภาคม 2566

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสภาพัฒน์ฯ จัดประชุมระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปรึกษาโครงการ จัดประชุมระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (เวทีที่ 3-5) ภายใต้โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคาร LRC 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมี ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธานเปิดการประชุม รวมทั้งมีคณะกรรมกำกับโครงการฯ เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เปิดคลินิกทรานส์เจนเดอร์ ให้บริการสุขภาพกลุ่มคนข้ามเพศทุกมิติ

บาลสงขลานครินทร์ ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลข้ามเพศ ซึ่งในอดีตสังคมยังไม่ยอมรับเรื่องเหล่านี้และมองว่าการเบี่ยงเบนทางเพศหรือการแปลงเพศเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ แต่ในทางการแพทย์สมัยใหม่ไม่ถือว่าความหลากหลายทางเพศเป็นความผิดปกติของทั้งร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม และยังได้ส่งเสริมให้บุคคลข้ามเพศเหล่านั้นได้เกิดความรู้ความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ตลอดจนสนับสนุนด้านการดูแลรักษาที่ปลอดภัยให้แก่บุคคลข้ามเพศ ในการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายตามความปรารถนาของตนเอง ได้แสดงตัวตนของตนเองออกมาอย่างเปิดเผย และดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขในสังคม

ศิลปศาสตร์ ม.อ. ร่วมกับ NDUM ประเทศมาเลเซีย จัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 15

จัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2566 ร่วมกับสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ สถาบันคู่ความร่วมมือหลักในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ Faculty of Defence Studies and Management, National Defence University of Malaysia ประเทศมาเลเซีย และศูนย์วิจัยด้านภาษา วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ในอาเซียนตอนล่าง และภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง School of Humanities, Universiti Sains Malaysia ประเทศมาเลเซีย Faculty of Arts and Social Sciences, Universiti Brunei Darussalam ประเทศบรูไน และ College of Education, Carlos Hilado Memorial State University  ประเทศฟิลิปปินส์

กรมควบคุมโรค เตือนสถานการณ์โควิด 19 เป็นขาขี้น ยังไม่ผ่อนมาตรการป้องกันโรค เร่งฉีดวัคซีนคู่ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 เพื่อลดป่วยหนักและเสียชีวิต

นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 องค์การอนามัยโลก ประกาศสิ้นสุดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรณีโรคโควิด 19 แต่ยังเตือนให้ทุกประเทศยังคงต้องเฝ้าระวัง และป้องกันควบคุมการระบาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเร่งรัด การฉีดวัคซีนเพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 เพียงพอในระดับบุคคลและประชากร เพื่อลดโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิตจากโควิด 19 โดยสามารถใช้วัคซีนชนิดใดหรือรุ่นใดก็ได้ ฉีดปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ให้เว้นระยะห่างจากเข็มสุดท้ายหรือประวัติการติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน ที่สำคัญสามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยฉีดที่ต้นแขนคนละข้าง และในสัปดาห์นี้โรงเรียนมีการเปิดภาคเรียน ขอให้ผู้ปกครองและครูสังเกตอาการ คัดกรองเด็กป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้หยุดอยู่บ้านรักษาให้หายก่อน จะลดโอกาสแพร่เชื้อในโรงเรียน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

เตือน!! ฝนฟ้าคะนองควรอยู่ในอาคาร งดยืนกลางแจ้งหรือหลบฝนฟ้าใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้องกันถูกฟ้าผ่าเสียชีวิต

ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค ปี 2561 คนไทยบาดเจ็บ 46 คนและเสียชีวิต 20 รายจากฟ้าผ่า 14 เหตุการณ์ ส่วนปี 2564 คนไทยบาดเจ็บ 28 รายเสียชีวิต 9 ราย โดยข้อมูลระบุว่าเกิดเหตุช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม และสิงหาคมของทุกปีมากที่สุด กลุ่มอายุที่บาดเจ็บมากที่สุดคือวัยทำงาน ช่วยเวลาเกิดเหตุมากที่สุดคือ 15.00-16.59 น. (37.58%)สถานที่เกิดเหตุมักเกิดกลางแจ้ง กลางทุ่งนาและใต้ต้นไม้ใหญ่ และข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังการรักษาจากโรงพยาบาลเครือข่าย 33 แห่งสำนักระบาดวิทยายังระบุอีกว่า คนไทยบาดเจ็บจากถูกฟ้าผ่าเฉลี่ยปีละ 30 รายเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3 เท่า

สคร.12 สงขลา แนะสังเกตอาการไข้สูงลอย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร และมีเลือดออกตามไรฟัน สงสัยโรคไข้เลือดออกให้รีบพบแพทย์

นายแพทย์เฉลิมพล  โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึง สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 28 เมษายน 2566 (ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 16 ปี 2566 สคร.12 สงขลา) พบว่า ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม รวม 13,159 ราย อัตราป่วย 19.91 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 12 ราย สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วย 2,216 ราย อัตราป่วย 44.24 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 4  ราย (จังหวัดสงขลา 2 ราย, ตรัง 1 ราย และสตูล 1 ราย) 

ผู้ประกอบการภาคใต้สนใจคราฟต์เบียร์สายพันธุ์ไทยจากข้าวพื้นเมือง พุ่งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูง

าคใต้มีข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลายสายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์มีศักยภาพเป็นวัตถุดิบผลิตคราฟต์เบียร์คุณภาพร่วมกับการใช้ข้าวบาร์เล่ย์ โดยดร.อิสระ แก้วชนสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ม.สงขลานครินทร์เล่าว่า คณะนักวิจัยได้หารือกับกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวภูเก็ตซึ่งสนใจอยากผลิตคราฟท์เบียร์เพื่อกลุ่มผู้บริโภคนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูงโดยใช้ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ เช่น ข้าวเบายอดม่วง ข้าวสังหยด ข้าวเล็บนก เป็นต้น โดยทีมวิจัยได้พัฒนามอลต์และสูตรคราฟต์เบียร์  5 สูตร 10 ชนิด โจทย์สำคัญคือใช้ข้าวไทยและผลไม้ไทยในการผลิตเบียร์ ตอบสนองผู้ผลิตคราฟต์เบียร์ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ปริมาณการผลิต 100 ลิตร 1000 ลิตร และออกแบบเครื่องต้นแบบผลิตเบียร์ขนาด 200 ลิตร ซึ่งมีผู้ประกอบการสนใจเป็นผู้ผลิตเครื่องผลิตเบียร์ขนาด 200 ลิตรดังกล่าวด้วย 

ม.อ.วิจัย ยกระดับยางพารา สร้างสินค้าจากหวายเทียม วัสดุยางธรรมชาติ เทอร์โมพลาสติก สร้างรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการ “การพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG” เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการประยุกต์ใช้องค์ความรู้งานวิจัยเป็นฐาน เพื่อผลิตเป็นวัสดุจักรสานสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ตอบโจทย์ BCG Economy ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” ที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนวิจัย แก่ ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ