มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกของสหพันธรัฐรัสเซีย คือ Round University Ranking (RUR) 2020 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ให้เป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพอันดับที่ 6 ของประเทศ และอันดับที่ 618 ของโลก ซึ่งได้รับการจัดอันดับคุณภาพที่ดีขึ้นหากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งปี 2562 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่ในอันดับ 8 ของประเทศ และอันดับ 679 ของโลก เป็นการจัดอันดับคุณภาพตามตัวชี้วัด 4 ด้านได้แก่ ด้านการสอน ด้านการวิจัย ด้านความเป็นนานาชาติ และด้านความยั่งยืนทางการเงิน โดยแต่ละด้านจะแบ่งออกเป็น 5 ตัวชี้วัด
ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ความเป็นอาจารย์ในสงขลานครินทร์ ความเข้าใจวัฒนธรรม และมีเครือข่ายเข้มแข็ง เป็นต้นทุนสำคัญช่วยเสริมการแก้ปัญหาภาคใต้
ในสถานการณ์การเกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุข ที่กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวภาคใต้ มีอีกหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เป็นกำลังสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายและสาเหตุของการเกิดโรค เพื่อช่วยควบคุมป้องกันและรักษาโรค นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของประชาชน นั่นคือ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้ร่วมมือกับเครือข่ายสร้างความเข้มแข็งด้านวิจัยและผลิตบุคลากรและนักวิจัยให้ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียมาเป็นเวลานาน
การตรวจการติดเชื้อโควิด – 19 ทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยวินิจฉัย เพื่อให้ทันต่อการรักษาผู้ป่วยและควบคุมโรค นอกจากการวินิจฉัยโดยการตรวจการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2) ด้วยวิธี Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) ถือเป็นมาตรฐานที่ใช้ตรวจยืนยัน COVID-19 แล้วนั้น(1)(2) การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Antibody) ของร่างกายที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อจากน้ำเลือด ซีรั่ม และพลาสมา ยังอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการสอบสวนทางระบาดหรือการประเมินการติดเชื้อในบางประเทศ
สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ เพื่อดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่นในสถานการณ์วิกฤต COVID-19
ในสถานการณ์วิกฤติ ผู้ใหญ่หลายคนอาจแสดงออกด้วยอารมณ์เครียด โกรธ เศร้า ผิดหวัง แต่อย่าลืมว่าควรหลีกเลี่ยงการแสดงออกอารมณ์เหล่านั้นให้เด็กๆ เห็น เพราะจะส่งผลให้เด็กเรียนรู้การแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม วิกฤติครั้งนี้ช่วยให้เรามองเห็นโอกาสหลายอย่าง มีโอกาสสร้างเสริมนิสัยการมีสุขอนามัยที่ดี โอกาสในการใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อทบทวนว่าอะไรบ้างที่จำเป็นและสำคัญสำหรับเรา โอกาสที่ครอบครัวจะได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น ซึ่งแม้แต่เงินก็ซื้อเวลาคุณภาพเหล่านี้ไม่ได้
“3 ปรับ” รับมือ COVID-19
พิษ COVID-19 กระทบหนักกับหลายธุรกิจที่ต้องสูญเสียรายได้ไปไม่มากก็น้อย แนวทางรับมือกับการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ให้รอดจากวิกฤตในครั้งนี้คือต้องปรับตัว และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในเชิงรุก และลดความเสี่ยงในการการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ ในอนาคตมากขึ้นด้วย
เมื่อ COVID-19 ทำให้เราได้ “เรียนรู้” และ “ปรับเปลี่ยน”
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (โควิด-19) ทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวลไปทั่วโลก มีการปิดเมือง ปิดประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค สนามบินเงียบเหงา สถานที่ท่องเที่ยวแทบร้างผู้คน หลายธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จนต้องลดพนักงาน เลิกจ้าง หรือปิดตัวเองลง หากมองในแง่ดี การระบาดในวงกว้างของ COVID-19 ก็ทำให้ผู้คนทั่วโลกได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ มากขึ้น รวมถึงในภาครัฐ และภาคธุรกิจ ก็ตระหนักถึงการต้องปรับเปลี่ยน และปรับตัว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในเชิงรุก เพื่อลดความเสี่ยงในการการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ ในอนาคตมากขึ้นด้วย
มาตรการการตรวจเชื้อโควิด-19 เชิงรุก (Active Case Finding) 77 จังหวัด
มาตรการการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด19 ได้ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active case finding) จากผู้สงสัย ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงต่ำ ผู้อยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ป่วย ทำให้พบผู้ป่วยที่มีอาการน้อยมาแยกกัก ตัดวงจนการแพร่ระบาด การเพิ่มการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน ในกลุ่มที่ไม่มีอาการใดๆ ซึ่งได้ดำเนินการในพื้นที่ กทม. ได้ทำการตรวจไปกว่า 3 พันรายพบติดเชื้อเพียง 1 ราย ในส่วน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พบประปรายในอัตราต่ำกว่า 1% เว้นเพียงบางพื้นที่
“วันธาลัสซีเมียโลก” องค์การเภสัชกรรม ทำการพัฒนายาขับเหล็ก ช่วยผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
ประเทศไทยพบผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียประมาณ 630,000 คน และมีผู้ที่เป็นพาหะถึงร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 18-24 ล้านคน ทั้งนี้พบว่าผู้ที่เป็นพาหะแต่งงานกันและมีความผิดปกติชนิดเดียวกัน ทำให้มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียได้ การรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่มีอาการน้อยจนถึงขั้นรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการให้เลือดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเหล็กเกินได้ ภาวะเหล็กเกินมีผลเสียต่ออวัยวะภายใน ได้แก่ ตับ หัวใจ ตับอ่อนและต่อมไร้ท่อ การกำจัดเหล็กเกินเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยโรคนี้จึงจำเป็นต้องได้รับยาขับเหล็กเกิน
นโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาทุกระดับชั้น ในสถานการณ์ COVID-19 (ประกาศ ม.อ.)
ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาทุกระดับชั้น ในสถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในวงกว้าง ทำให้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การปฏิบัติงาน และการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติการศึกษาทุกระดับชั้น (ปริญญาตรี โท เอก)
โครงการตู้เย็นข้างบ้านต้านโควิด-19 แจกฟรีเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว
กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ ศรแดง จัด "โครงการตู้เย็นข้างบ้านต้านโควิด-19" แจกฟรีเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว ให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป สามารถลงทะเบียนขอรับได้ที่ www.doae.go.th