โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) หรือโรคไข้ฉี่หนู เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือโดยการไชเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ซึ่งมักจะระบาดหน้าฝนและโดยเฉพาะหลังน้ำลด พบผู้เสี่ยงต่อ การติดเชื้อในเกษตรกร ที่ต้องเดินลุยน้ำ มีน้ำขัง หรือพื้นดินชื้นแฉะที่มีโอกาสปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย หมู หมา แพะ หนู รวมทั้งผู้ที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์/โรงฆ่าสัตว์/ผู้ที่ชำแหละสัตว์ที่มีเชื้อโรคฉี่หนู ทำ ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้
การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ม.สงขลานครินทร์ จัดประกวดผลิตภัณฑ์ยางพาราส่งเสริมและพัฒนาเกษตรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง สู่ start up ยางพารา โดยรับสมัครนิสิต นักศึกษา เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยางรวมทั้งผู้สนใจเข้าโครงการพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดงานวิจัย และนวัตกรรมยางพาราไปสู่เชิงพาณิชย์ มีการบ่มเพาะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้พร้อมสู่การแข่งขันด้วยการอบรมทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ มาตรฐานการตลาด การขนส่ง ทรัพย์สินทางปัญญา การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ฯ ความร่วมมือระหว่าง กยท. และ ม.อ.พัฒนา 4 โปรแกรม
โรงพยาบาลสงขลา ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา เปิดศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จโรงพยาบาลสงขลา (One stop service for person with disabilities) เพื่ออำนวยความสะดวกการออกเอกสารรับรองความพิการ บัตรประจำตัวคนพิการ ให้คนพิการที่ห่างไกลเข้าถึงการทำบัตรประจำตัวคนพิการ เพื่อรับสิทธิสวัสดิการ การคุ้มครอง และความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงหน้าฝน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องดูแลสุขภาพเด็กเล็กเป็นพิเศษ เนื่องจากเสี่ยงป่วยโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ตาแดง และอาหารเป็นพิษ พ่อแม่จึงต้องคอยเฝ้าระวังสังเกตอาการของเด็ก ซึ่งโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็กในช่วงหน้าฝน คือ โรคไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ โดยอาการจะมีไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ จาม หรือมีน้ำมูกไหล อีกทั้งโรคโควิด- 19 ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง การดูแลไม่ให้ป่วยง่ายพ่อแม่ควรสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเด็ก
อาจารย์ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์ เล่าความเป็นมาของโครงการนี้ในฐานะหัวหน้าโครงการที่เข้าพื้นทีเป้าหมายกลุ่มวิสาหกิจในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส เมื่อปี 2560 ว่าโครงการคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจมีศักยภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาสนับสนุนต่อ ยกตัวอย่างกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือก เช่น วิสาหกิจเลี้ยงไก่เบตงลัดดาฟาร์ม จ.ปัตตานี กลุ่มวิสาหกิจโคเนื้อจ.ปัตตานี กลุ่มฟาร์มแพะและกลุ่มสหกรณ์โคเนื้อ จ.นราธิวาส โดยในปี 2564 โครงการมีเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ของกลุ่มซึ่งเดิมแต่ละกลุ่มยังไม่มีผลิตภัณฑ์ใดๆ โดยคณะวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์ เข้าไปดูแลพัฒนาเรื่องการผลิต การขอเครื่องหมายอย. การขอเครื่องหมายฮาลาล การออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับม.นราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งผลที่ออกมาทำให้ทุกกลุ่มมีผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ได้มาตรฐาน ผู้ประกอบการวิสาหกิจก็พึงพอใจเป็นอย่างมาก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าผู้ป่วยมุสลิมหลายท่านมีความกังวลจากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด เนื่องจากไม่มั่นใจในองค์ประกอบที่อาจขัดต่อการทำศาสนกิจ จึงเป็นแนวคิดที่จะสร้างมาตรฐานอุปกรณ์รวมทั้งองค์ประกอบที่ให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและผ่านการรับรองมาตรฐานฮาลาล โดยมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดกรองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะใช้กับผู้ป่วย โดยใช้เวลาหลายปีในการพัฒนา “อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม” จนสามารถเป็นตัวอย่างให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องมือแพทย์ อาหารทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร
วงจรราคาผลไม้ตกต่ำที่มักเกิดขึ้นในฤดูกาลผลไม้มีปริมาณเยอะ เป็นปัญหาสำคัญของการทำอาชีพเกษตร การเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปจึงเป็นทางออกหนึ่งของการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร คุณรชต สุขสุรัติชัย จากบ.เทพกษัตรีย์ฟู้ดส์ ซึ่งทำธุรกิจสวนเกษตร เช่น ปาล์ม ยาง และมังคุด เล่าความเป็นมาเริ่มต้นของ “OMG Oh My Gut คอมบูชา” เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากมังคุดที่เกิดจากความประทับใจเครื่องดื่มคอมบูชาสมัยเรียนอยู่ต่างประเทศ พอกลับเมืองไทยเลยมีแนวคิดอยากทำคอมบูชามังคุด ซึ่งครอบครัวมีสวนมังคุดที่ส่งผลมังคุดสดขายตามห้างสรรพสินค้าอยู่แล้ว แต่ก่อนจะผลิตคอมบูชามังคุดสำเร็จนั้นยังมีโจทย์ที่ต้องอาศัยนักวิจัยเข้ามาช่วยพัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นคอมบูชาที่อร่อยและมีคุณภาพ
ไข่ครอบ อาหารพื้นถิ่นสงขลา เป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของครอบครัวชาวประมงพื้นบ้านแถบริมทะเลสาบสงขลา เพื่อเก็บไข่แดงที่เหลือจำนวนมากจากการใช้ไข่ขาวย้อมด้ายเนื้ออวน แห กัดวางปลา ไม่ให้เน่าเสีย ด้วยการแช่น้ำเกลือแล้วนำกลับใส่ในเปลือกแล้วนึ่งให้สุกเก็บไว้รับประทานได้นาน ไข่ครอบจึงนับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการถนอมอาหารและเพิ่มรสชาติอาหารของชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดสงขลา
ไทม์ไลน์ลงทะเบียน “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือ บัตรคนจน ประจำปี 2565 หลังจากที่ กระทรวงการคลัง ได้มีมติเห็นชอบการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ระหว่างวันที่ 5 กันยายน ถึง 19 ตุลาคม 2565 รวมเป็นเวลา 45 วัน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท ฟินเทคอินโน จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลทางด้านทันตกรรม (Empower your life, Drive with innovation & technology @DENT-PSU) “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชีวิตที่ดีกว่า @DENT-PSU” โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานและร่วมลงนาม พร้อมด้วย ศ. ดร.ทพญ. ชิดชนก ลีธนะกุล คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ และ นายเชาวลิต แจ้งไชย บริษัท ฟินเทคอินโน จำกัด และมีผู้บริหารทั้งสองหน่วยงาน คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 7 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 65