1 มี.ค. 66 ตรวจสอบสถานะ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เผยว่า จากที่ประชุม เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้มีมติให้ประกาศรายชื่อ “ผู้ผ่านคุณสมบัติ” รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ “บัตรคนจน” จำนวน 14.50 ล้านคน ในวันที่ 1 มี.ค. 2566 นี้ และให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติยืนยันตัวตนภายใน 30 วัน เพื่อเริ่มรับและใช้สิทธิตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 เป็นต้นไป

อ่านต่อ →

3 ช่องทางย้ายสิทธิบัตรทองผ่านระบบออนไลน์

สิทธิบัตรทองหรือโครการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการที่ให้บริการการรักษาโรคเบื้องต้นให้กับประชาชในประเทศไทยในราคา 30บาทเท่านั้น โดยโครงการนี้เริ่มเปิดบริการในปี พ.ศ.2547 โดยโรงพยาบาลของรฐจะให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นที่สามารถรักษาได้ในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ แพ้ท้อง และเจ็บคอ เป็นต้น โดยมีสิทธิใช้บริการสำหรับผู้มีบัตรประจำตัวประชาชนไทย ประกันสังคมหรือกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยต้องชำระเงินค่าบริการรักษาโรคเบื้องต้นในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น โดยไม่รวมถึงการรรักษาโรคที่ซับซ้อนและต้องใช้เครื่องมือแพร่หลาย โครงการนี้เป็นหนึ่งในการส่งเสริมการให้บริการสุขภาพที่สะดวกและมีคุณภาพให้กับประชาชนทั่วไปในประเทศไทย

อ่านต่อ →

ม.อ. เปิดหลักสูตรผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ ที่แรกของภาคใต้ตอนล่าง มุ่งผลิตกำลังคนรองรับตลาดแรงงานด้านสปา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับ ชมรมธุรกิจบริการสุขภาพภาคใต้ (ตอนล่าง) จัดงานแถลงข่าวเปิดหลักสูตรผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ 100 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของภาคใต้ตอนล่าง เพื่อผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริการสปาและส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานด้านสปาของประเทศ โดยมี รศ. ดร.ศิริลักษณ์ บางโชคดี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผศ. ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ คุณภารรัฐ กรัณย์สุกสี รองประธานชมรมธุรกิจบริการสุขภาพภาคใต้ (ตอนล่าง) ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องประชุมใหญ่ 210 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566

อ่านต่อ →

สธ.สงขลา เตือนประชาชนระวังถูกสุนัข แมวกัดหรือข่วน เน้นย้ำมาตรการ 5 ย ลดความเสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้า

สุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ (Hydrophobia) เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง ที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต พบในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าและยังติดต่อมาสู่คน พาหะนำโรคที่สำคัญคือสุนัข รองลงมาคือแมว และสัตว์เลี้ยงพวกโค กระบือ สุกร ม้า และสัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนม สาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญที่สุดคือ การถูกสัตว์ทีมีเชื้อพิษสุนัขบ้า ข่วน เลีย หรือน้ำลายสัตว์กระเด็นเข้าแผลรอยขีดข่วน เยื่อบุตา จมูก ปาก เชื้อจะยังคงอยู่บริเวณนั้นระยะหนึ่ง โดยเพิ่มจำนวนในกล้ามเนื้อ ก่อนจะผ่านเข้าสู่เส้นประสาทส่วนปลายไขสันหลังและเข้าสู่สมอง  มีการแบ่งตัวในสมอง พร้อมทำลายเซลล์สมอง และปล่อยเชื้อกลับสู่ระบบขับถ่ายต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำลาย น้ำปัสสาวะ น้ำตา ตามแขนงประสาทต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการบางรายเกิดอาการช้านานเกิน 1 ปี บางรายเกิดอาการเร็วเพียง 4 วันเท่านั้น แต่โดยเฉลี่ย 3 สัปดาห์ถึง 4 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่เข้าไป บาดแผลใหญ่ ลึก หรือมีหลายแผล ตำแหน่งที่เชื้อเข้าไป ถ้าอยู่ใกล้สมองมาก เชื้อก็จะเดินทางไปถึงสมองได้เร็ว นอกจากนั้น สามารถติดต่อจากการกินได้ถ้ามีบาดแผลภายในช่องปากและหลอดอาหาร ซึ่งจะพบกรณีสัตว์ กินเนื้อสัตว์ที่ป่วยตายใหม่ ๆ  สุนัขและแมวที่ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนแสดงอาการ เพราะเชื้อจะออกมาในน้ำลายเป็นระยะ ประมาณ 1-7 วันก่อนแสดงอาการ

อ่านต่อ →

ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ.หาดใหญ่ เปิดรายวิชาผู้นำจิตอาสา การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เน้น น.ศ.มีส่วนร่วมกับสังคม

ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการสนับสนุนการปลูกฝังนักศึกษา บุคลากรและบัณฑิต ให้มีคุณลักษณะที่เป็น “คนดีและมีทักษะด้านอาสาสมัครเพื่อสังคมแบบมืออาชีพ” ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มุ่งยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคมให้มีขีดความสามารถในการประสานความร่วมมือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 วิทยาเขตให้เกิดเป็นทีมงานคุณภาพ (Coaching Team) เพื่อพัฒนาระบบอาสาสมัคร ประกอบด้วยบัณฑิตอาสา เจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษา ตัวแทนภาคประชาสังคม อาจารย์หรือนักวิชาการอาสา รวมถึงแกนนำชุมชน ที่พร้อมดำเนินงานสร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาศักยภาพการทำงานอาสาสมัครและพัฒนาความร่วมมือในการยกระดับการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครร่วมกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา บัณฑิต บุคลากร ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยผู้เกษียณ รวมถึงเครือข่ายภาคประชาสังคม แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไปให้มีคุณประโยชน์เพื่อสังคมที่ยั่งยืนแก่ภาคใต้ต่อไป

อ่านต่อ →

สงขลานครินทร์ จับมือ 7 มหาวิทยาลัย ลงนามบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ระยะที่ 3

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ห้องประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ 8 มหาวิทยาลัยร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ่านต่อ →

โพสต์ไว้ที่: News เก็บเข้าไฟล์ไว้ที่:

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สภาพัฒน์ฯ เปิดเวทีระดมความคิดเห็น โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยกองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปรึกษาโครงการ จัดการประชุมปฐมนิเทศ โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวรายงาน

อ่านต่อ →

นักวิจัย ม.อ. ค้นพบ “เอื้องแฝงบริพัตร” กล้วยไม้อาศัยราชนิดใหม่ของโลก

รศ.ดร.สหัช จันทนาอรพินท์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการแลบ้านแลเมือง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า กล้วยไม้เอื้องแฝงบริพัตรชนิดนี้ ได้พบครั้งแรกที่น้ำตกบริพัตร จึงมีการตั้งชื่อว่า “เอื้องแฝงบริพัตร” และเนื่องจากในชื่อสกุลของกล้วยไม้สกุลนี้จะอยู่ในสกุล Aphyllorchis โดย Aphyll = ไม่มีใบ orchis = กล้วยไม้ ซึ่งแปลจากภาษาละตินตรงๆก็คือ กล้วยไม้ที่ไม่มีใบ ทั้งนี้คนไทยที่เป็นกลุ่มนักธรรมชาติวิทยาที่สนใจกล้วยไม้ มักจะเรียกกล้วยไม้สกุลนี้ว่า สกุลเอื้องแฝง และก็ได้พบว่ามันมีอีกชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน จึงใช้ชื่อว่า “เอื้องแฝงบริพัตร” โดยเป็นชนิดที่พบบริเวณน้ำตกบริพัตรครั้งแรก ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ได้พบแค่ที่น้ำตกบริพัตรแต่จะพบได้ในที่อื่นๆอีกด้วย 

อ่านต่อ →

“ประกันสังคม” ชวนประชาชนแสดงความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายใน 28 ก.พ.2566 ประเด็นปรับฐานค่าจ้างจาก 15,000 บาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 23,000 บาท จ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นจากเดิม 750 บาทเป็น 1,150 บาท

กระทรวงแรงงาน ได้เปิดรับฟังความเห็น “ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. … “ ผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th โดยจะปิดรับฟังความเห็นในวันที่ 28 ก.พ. 2566 สาระสำคัญของร่างกฎหมายที่กระทรวงแรงงานกำลังผลักดัน คือการปรับเพดานฐานค่าจ้างในการคำนวณการจ่ายเงินสมทบใหม่ โดยเสนอให้ปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจากเดิม 1.5 หมื่นบาท เป็นเพดานใหม่สูงสุดไม่เกิน 2.3 หมื่นบาท ซึ่งจะปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป

อ่านต่อ →

นวัตกรรมสร้างสุขยุคดิจิทัล

น.พ.ธีรชัย ทรงเกียรติกวิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 กล่าวว่า ตอนนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องโรคอุจาระและโรคสมองที่เราเรียกว่า สโตรก เนื่องจากปัจจุบันทั้งสองโรคร้ายมักจะมาโดยไม่ทันตั้งตัว เกิดหัวใจหยุดเต้นจากการที่หลอดเลือดถูกอุดตัน ทางของเราสิ่งที่เรากำลังทำก็คือสมัยก่อนก็คงต้องใช้วิธีการผ่าตัดทั้งหมด แต่ปัจจุบันเนี่ยสามารถใส่สายสวนเล็กๆ ขึ้นมาในหลอดเลือดแล้ววิ่งเข้าไป ไปหาหัวใจใส่สายวิ่งตามเลือดวิ่งเข้าไปหาสมองเพื่อไปกำจัดจุดที่อุดตัน เมื่อรู้ว่าตันตรงไหนเราก็สามารถลากออกมาโดยเฉพาะสมองสมัยก่อนเป็นสโตรกหลอดเลือดอุดตัน ก็เตรียมตัวต่อไปเลยเป็นอัมพาทแน่ แต่เดี๋ยวนี้ปัจจุบันอาจมีการฉีดยาละลายลิ่มเลือด แต่ตอนนี้เราไปถึงจุดก็คือเราใส่สายเดี่ยวสวนที่ว่าไปลากหลอดเลือดไปลากก้อนเลือดออกมา เราจะเห็นเลยว่าเลือดแทนที่จะวิ่งไปทั่วสมอง เหมือนเราถูกอุดตันเราถูกดึงออกมาเลือดเราก็เต็มเหมือนเดิมก็ทำให้ ดังนั้นคนไข้ก็ลอดจากการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต

อ่านต่อ →

โพสต์ไว้ที่: News