Tag: psu

Home / psu

มหกรรมจิตอาสาภาคใต้ สู้ภัยโควิด

ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ สร้างสรรค์พื้นที่แห่งการเรียนรู้ สู่การสร้างแรงบันดาลใจและยกระดับการทำงานอาสาสมัคร ผ่านกิจกรรมหกรรมจิตอาสาภาคใต้ ครั้งที่ 3 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้รูปแบบอาสาสมัคร พร้อมขับเคลื่อนกระบวนการการดำเนินงานด้านอาสาสมัครเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ภาคใต้

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ทรงเปิด อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ที่พื้นที่ส่วนขยาย ม.สงขลานครินทร์

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิด “อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา)” ที่พื้นที่ส่วนขยาย ตำบลทุ่งใหญ่ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่” เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หัวหน้าส่วนราชการ และ ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัย เฝ้าฯ รับเสด็จฯ โดยหลังจากทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) แล้ว ทรงรับฟังการถวายรายงานภาพรวมของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ และทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานเด่นด้านการเกษตร ยางพารา ผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม และทรงปลูกต้นศรีตรังซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

True มอบหุ่นยนต์ให้ วิศวฯ ม.อ. เพื่อใช้เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการพัฒนาแอปพลิเคชั่นภายใต้โครงการ “TRUE 5G ROBOT BOOT CAMP”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) รับมอบหุ่นยนต์จาก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในวันอังคารที่ 22 กันยายน 2563 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมมงคลสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร. พฤทธิกร สมิตไมตรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจาก True และคณะทำงานของโครงการ TRUE 5G ROBOT BOOT CAMP อีกทั้งภายในงานยังมีพิธีลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการศึกษาการใช้งานแพลตฟอร์มเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ VLEARN” อีกด้วย

สสว.-ม.อ.ยกระดับผู้ประกอบการภาคใต้สู่ตลาดโลก

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) จัดงาน การยกระดับผู้ประกอบการภาคใต้สู่ตลาดโลก (Elevate entrepreneurs from the southern to the Global market) ในวันที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 08.00 - 16.00 น. ณ ห้อง conference hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

สร้าง “มงคล” เสริมจุดขายจากรากวัฒนธรรมเดิม ฟื้นเส้นทางท่องเที่ยวกลางนครหาดใหญ่

โครงการ “นครหาดใหญ่บนฐานทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของชุมชน” เป็นการนำเอาเรื่องของวัฒนธรรมเข้ามาเป็นจุดเด่นของพื้นที่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถใช้เวลาทั้งวันในการเดินไปตามเส้นทาง “มงคล” ในตัวเมือง แม้ว่ายังไม่เคยมีโครงการลักษณะนี้ในใจกลางเมืองแต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถทำได้ การได้ลองทำจะได้มีประสบการณ์เพื่อต่อยอดให้กับโครงการพัฒนาอื่นๆ ต่อไป

จากนโยบายสาธารณะ สู่ยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของ “สงขลานครินทร์” และท้องถิ่นภาคใต้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาและหนทางสู่ความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในอนาคตว่า ได้มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยมองยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาภาคใต้ แล้วหากระบวนการเพื่อสร้างคน ความรู้ นวัตกรรมโดยอาศัยความคิดจากนักวิชาการแต่ละคณะและวิชาชีพในมหาวิทยาลัย ให้ทุกภาคส่วนมาช่วยกันกำหนดทิศทางและวิธีการที่เราจะเคลื่อนไปเพื่อให้เรายืนอยู่ได้ในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นหนึ่งใน “นโยบายสาธารณะ” ของมหาวิทยาลัยและเป็นแนวทางพัฒนาประเทศให้สู่ความยั่งยืน

มหัศจรรย์นมแม่ : คุณแม่คนดีที่ 1

โครงการมหัศจรรย์นมแม่ ว่าได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยคณะกรรมการส่งเสริมการให้นมบุตรและพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้จัดการประกวดและมอบรางวัลคุณแม่คนดีที่ 1 เพื่อเปิดโอกาสให้คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมบอกเล่าประสบการณ์ตลอดระยะเวลาในการดูแลตัวเองตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนม อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่

บัณฑิตอาสา สงขลานครินทร์ จัดทำฐานข้อมูลช่วยเหลือตรงตามความต้องการของชุมชน

บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด โดยการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ให้ส่วนราชการและชุมชนมีข้อมูลชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือชาวบ้านตรงความต้องการที่แท้จริง

ศิษย์เก่าสงขลานครินทร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวทะเลสาบสงขลารมควัน ต่อยอดแนวคิดการแก้ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกะชัง

จากปัญหาราคาปลากะพงตกต่ำ และไม่มีตลาดในการจำหน่ายส่งผลให้เกษตรกร 2,000 ราย ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากมีการนำเข้าปลาจากต่างประเทศในราคาถูก โดยเบื้องต้นสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลาและกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง ได้ร่วมหารือและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา อาทิให้มีนโยบายควบคุมปริมาณการนำเข้าปลากะพงจากต่างประเทศ ขอความร่วมมือจากส่วนราชการหรือบริษัทห้างร้านช่วยซื้อปลากะพงจากเกษตรกรโดยตรง จัดมาตรการช่วยเหลือโดยการประกันราคา เป็นต้น

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.อ.ย้ำ กรณีนำสัตว์ใหญ่มารักษาให้ติดต่อล่วงหน้าเพื่อวางแผนการรักษา

อาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.อ. ให้คำแนะนำสำหรับการนำสัตว์มาเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสัตว์และโรงพยาบาลปศุสัตว์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “โดยขอให้ผู้ที่จะนำสัตว์ใหญ่มาทำการรักษาได้ติดต่อประสานล่วงหน้าก่อนที่จะนำสัตว์มาเพื่อจะได้ทราบความพร้อมของเครื่องมือที่จะทำการรักษา” รศ.สพ.ญ.อุษา เชษฐานนท์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ขอเรียนมายังสาธารณชนว่า โดยทั่วไปในการนำสัตว์มารักษาจะมีเจ้าของสัตว์นำมาซึ่งจะทำให้สัตวแพทย์สามารถซักประวัติการเจ็บป่วย ตลอดจนเจ้าของสามารถเจรจาตกลงในแผนการรักษาและเซ็นต์ใบยินยอมในการรักษาสัตว์พร้อมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น กรณีที่สัตว์ป่วยไม่มีเจ้าของจะมีความเสี่ยงกับโรคที่แฝงมากับตัวสัตว์ โดยเฉพาะการนำสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือจากพื้นที่อื่น จะมีความเสี่ยงที่จะนำโรคระบาดเข้าพื้นที่ที่ปลอดโรคและนำไปสู่การแพร่ระบาดในฝูงสัตว์อื่นอย่างกว้างขวางได้ “การรักษาสัตว์ใหญ่ที่บาดเจ็บจากการถูกรถชน...