ทุกวันนี้ ‘สื่อออนไลน์’ ไม่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตที่จำกัดเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหรือคนหนุ่มสาวเท่านั้น แต่เป็นโลกใบใหม่ที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจในกลุ่ม ‘ผู้สูงวัย’ ด้วยเช่นเดียวกัน นอกเหนือจากข่าวสารและสาระความรู้ต่างๆ ที่ไหลเวียนอยู่ในโลกออนไลน์ ยังมีภัยที่ทำให้ผู้สูงวัยจำนวนมากต้องกลายเป็นเหยื่อจากสารพัดเล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพ เหตุผลสำคัญนั่นคือ ยังขาดทักษะการใช้สื่อและบริโภคข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน มีการส่งต่อข้อมูลและภาพโดยไม่ทันกลั่นกรอง หรือตรวจความถูกต้องก่อน ผู้สูงวัยจึงมักเป็นเหยื่อของข่าวปลอมและการหลอกลวงโดยไม่รู้ตัว การสร้างภูมิต้านทานด้านสื่อให้ผู้สูงวัย จึงเป็นหนึ่งในวิธีพื้นฐานที่จะทำให้ผู้สูงวัยรับส่งข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์อย่างรู้เท่าทัน ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย
ประเทศไทยถือว่ามีความก้าวหน้ามากในภูมิภาคอาเซียน ที่กำหนดเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และมีแนวคิดเรื่อง “องค์กรอิสระ” ที่จะเป็นตัวแทนของผู้บริโภค ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นจัดทำนโยบาย มาตรการเพื่อการคุ้มครอง สะท้อนหลักการสำคัญว่า ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายและมาตรการเพื่อคุ้มครองตนเอง รวมทั้งเป็นตัวแทนในการให้ความคิดเห็นที่เป็นอิสระ รักษาผลประโยชน์ของทุกคน “เพราะทุกคนคือผู้บริโภค”
นิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทน FTA Watch ได้ย้ำถึงจุดยืน 4 ข้อของภาคประชาชนซึ่งได้รวมอยู่ใน ข้อเสนอแนะจากรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎร และข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค
ปัจจุบันธุรกิจในโลกออนไลน์ (E-commerce)กำลังเป็นที่แพร่หลาย การซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จึงเป็นสังคมแห่งข่าวสารที่เปิดกว้าง ผู้บริโภคมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศได้อย่างง่ายดายระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นแรงกระตุ้นในการส่งเสริมการค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ต มีการนำเข้าและส่งออกของสินค้าทั้งในและต่างประเทศการซื้อขายในธุรกิจประเภทนี้ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิต ผู้บริโภคจะประหยัดค่าใช้จ่าย สะดวกสบาย รวดเร็วและสามารถดูสินค้าได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปที่ร้าน แต่ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคได้เช่น อาจถูกฉ้อโกงเงิน หรือการได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพตรงตามที่โฆษณา เป็นช่องทางของมิจฉาชีพในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางลบ เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น
งานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอ ประจำปี 2564 “ความท้าทายและจินตนาการแห่งโลกใหม่: โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศหลังโควิด-19” วันอังคาร ที่ 2 , 9 และ 16 พฤศจิกายน 2564 เวทีประชุม Virtual Conference ที่รวมนักวิชาการ-นักวิจัยทีดีอาร์ไอและผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน ร่วมมองอนาคตประเทศหลังโควิด-19 เสนอแนวคิดใหม่ในสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนแนะฟื้นคุณภาพชีวิตด้วยการพัฒนาทักษะใหม่ให้กำลังคน พร้อมให้ประชาชนมีสวัสดิการพื้นฐานที่ดี และถึงเวลาที่ภาครัฐปรับบทบาททันโลกหลังโควิด เข้าใจความต้องการประชาชนเพื่อตอบสนองได้ดีขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีขับเคลื่อนให้โลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมภาคธุรกิจและระบบการเงินไทย ในการสร้างความพร้อมเพื่อปรับตัวเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เท่าทัน ทั่วถึง และมั่นคงปลอดภัย ยิ่ง “ชีวิตวิถีใหม่” ในโลกหลังโควิด 19 บริการทางการเงินดิจิทัลจะยิ่งมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและในการดำเนินธุรกิจ
นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เปิดเผยผลตรวจวิเคราะห์ยาควบคุมพิเศษ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป ที่อ้างสรรพคุณช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ จำนวน 23 ตัวอย่าง จากร้านค้าทั่วไปและร้านค้าออนไลน์ ได้แก่ ร้านค้าทั่วไป พื้นที่จังหวัด สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 16 ตัวอย่าง ร้านค้าทั่วไปในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 2 ตัวอย่าง ร้านค้าออนไลน์ Lazada และ Shopee จำนวน 5 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2564
กรมการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ หรือทางอภัยภูเบศร์ ก็มีความเห็นตรงกันว่าไม่แนะนำให้ใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการกินเอง เพื่อป้องกันโควิด เนื่องจาก พบปัญหาผู้ป่วยที่กินฟ้าทะลายโจรซึ่งกินเพื่อป้องกัน ในขนาดยาที่ต่ำติดต่อกันหลายเดือน เมื่อตรวจพบว่ามีค่าตับเพิ่มขึ้น และในช่วงนี้ต้องยอมรับว่าฟ้าทะลายโจร มีของปลอมที่สามารถปลอมได้เนียนเหมือนทุกอย่าง ทั้งเลขทะเบียนหรือผู้ผลิต การไม่ระบุสารแอนโดรกราโฟไลด์อยู่ในฉลาก จึงทำให้การตรวจสอบยากขึ้น และการขึ้นทะเบียนก็ขึ้นเป็นยาแผนโบราณ ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นอาหารเสริม เพราะผิดกฎหมาย
จากการออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง หน่วยงานต่างๆรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ซึ่งทำให้รายได้และความสามารถในการชำระหนี้ลดลง โดยได้ยกระดับจากมาตรการเดิม ให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาว เพิ่มทางเลือก มีความยืดหยุ่น และมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ไม่เป็น NPL (ค้างชำระหนี้มากกว่า 3 เดือนติดต่อกัน)
ปัญหาที่ตามมาจากการซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตหรือสื่อออนไลน์อื่นๆ เช่น ปัญหาเรื่องการฉ้อโกง กล่าวคือ สั่งซื้อสินค้าโดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารหรือผ่านบัตรเครดิตแล้วแต่ไม่ได้รับสินค้า ได้รับสินค้าชํารุดบกพร่อง สินค้าไม่ได้มาตรฐาน สินค้าไม่เป็นไปตามที่โฆษณา ติดต่อผู้ขายไม่ได้ การโฆษณาโอ้อวดเกินจริงเสมอ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมาจากผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สุจริตหวังแต่เพียงกําไรโดยไม่คํานึงถึงความเสียหายของผู้บริโภค