รู้จัก ‘ยางพาราเทอร์โมพลาสติก’ นวัตกรรมเพิ่มมูลค่ายาง แก้ปัญหาขยะพลาสติก

แนวคิด ‘ยางพาราเทอร์โมพลาสติก’ เพิ่มมูลค่ายาง กระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ ลดปัญหาขยะพลาสติก พัฒนาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมจักสาน

อ่านต่อ →

Eco Block อิฐบล๊อกจากเปลือกเมล็ดยางพารา น้ำหนักเบา ลดใช้พลังงาน อิฐบล็อกรักษ์โลกผลงานคณะสถาปัตย์ ม.อ.ตรังรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมยางพารา

Eco Block คอนกรีตบล็อกจากเปลือกเมล็ดยางพารา รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมยางพาราจากงานมหกรรมยางพารา ครั้งที่ 1 จ.ตรัง เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวคิดลดการใช้พลังงาน ลดมลภาวะจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งใช้พลังงานถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของทุกภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เจ้าของผลงาน Eco Block คอนกรีตบล๊อกจากเปลือกเมล็ดยางพาราขยายความว่า ทุกกิจกรรมการก่อสร้างอาคารไม่ว่าจะกระบวนการผลิตวัสดุ ขนส่ง ขนย้าย หรือรื้อถอนติดตั้ง ล้วนปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ออกสู่ชั้นบรรยากาศทั้งสิ้น วัสดุ 3 ชนิดที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด ทั้งกระบวนการผลิต การขนส่ง การติดตั้ง การทำลาย คืออลูมิเนียม 2 เปอร์เซ็นต์ เหล็ก 10 เปอร์เซ็นต์ และ คอนกรีต 11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเยอะที่สุด โดยเฉพาะคอนกรีตอิฐบล๊อกซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจากใช้งานง่าย ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว แข็งแรง ราคาไม่สูงมาก

อ่านต่อ →

ม.อ. ร่วมกับ จ.ตรัง และ กยท. จัดงานยางพาราแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ชูเทคโนโลยีนวัตกรรมยาง เพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ จังหวัดตรัง การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดตรัง จัดงานยางพาราแห่งชาติ ครั้งที่ 1 Rubber Expo 2023 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพารา รวมทั้งเป็นการสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดงาน ผศ. ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 66

อ่านต่อ →

ม.สงขลานครินทร์ วข.ตรัง ร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย จัดงานยางพาราแห่งชาติ ครั้งที่ 1 Rubber Expo 2023

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เล่าในรายการเครือข่ายสายตรงวิทยุสถาบัน เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ช่วงสนทนาสถาบันว่า เนื่องจาก จ.ตรัง เป็นเมืองพระยารัษฎาฯ ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นอดีตเจ้าเมือง จ.ตรัง และยังเป็นบุคคลสำคัญที่นำยางพาราต้นแรกมาปลูกที่ จ.ตรัง และได้พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม จึงเป็นการร่วมมือกันของการยางแห่งประเทศไทยและจังหวัดตรัง โดยเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต (หาดใหญ่ ตรัง ภูเก็ต ปัตตานี สุราษฎร์ธานี) ซึ่งได้จัดงานขึ้นที่ จ.ตรัง เนื่องจากเป็นเมืองที่มียางพาราต้นแรกปลูกขึ้นนั่นเอง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานคือ 1.การเชิดชูเกียรติของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ซึ่งปกติเราก็มีกิจกรรมนี้ขึ้นทุกปีอยู่แล้วในเทศกาลเช็งเม้ง 2.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับยางพารา 3.การเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกร ผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพารา

อ่านต่อ →

ม.สงขลานครินทร์ จับมือการยางแห่งประเทศไทยสร้าง start up ยางพารา มุ่งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราตอบโจทย์เทรนด์สังคม

การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ม.สงขลานครินทร์ จัดประกวดผลิตภัณฑ์ยางพาราส่งเสริมและพัฒนาเกษตรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง สู่ start up ยางพารา โดยรับสมัครนิสิต นักศึกษา เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยางรวมทั้งผู้สนใจเข้าโครงการพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดงานวิจัย และนวัตกรรมยางพาราไปสู่เชิงพาณิชย์ มีการบ่มเพาะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้พร้อมสู่การแข่งขันด้วยการอบรมทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ มาตรฐานการตลาด การขนส่ง ทรัพย์สินทางปัญญา การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ฯ ความร่วมมือระหว่าง กยท. และ ม.อ.พัฒนา 4 โปรแกรม

อ่านต่อ →

สถาบันยาง ม.อ จัด Mini Exhibition โชว์ผลงานเด่นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยาง

สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำนวัตกรรมที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิชาการมหาวิทยาลัยออกแสดงในรูปแบบ mini exhibition ที่ชั้น 9 อาคาร 2 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2564 – 31 มกราคม 2565 ซึ่งหลายชิ้นได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนและนำเข้าสู่เชิงพาณิชย์  เช่น ผลิตภัณฑ์ยางปูพื้น วัสดุจักสานจากยางธรรมชาติ แผ่นหนังเทียมจากยางพารา กระเป๋า ถุงมือยางที่ผสมสารที่สามารถกำจัดเชื้อโควิดได้

อ่านต่อ →

วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน ม.สงขลานครินทร์ ไอเดียกรีนต่อยอดยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก

วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อยอดยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เป็นวัสดุจักสานต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋า ตะกร้า เสื่อ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อพัฒนายางธรรมชาติให้มีคุณสมบัติพิเศษด้วยวิธีต่างๆ มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีส่วนช่วยในการลดขยะพลาสติกสามารถนำขยะพลาสติกกลับมา Repair หรือการรู้จักซ่อมแซมฟื้นฟูสิ่งของเครื่องใช้ที่สึกหรอ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้

อ่านต่อ →

ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากยาง : แนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร

นวัตกรรมคือหนทางสำคัญในการเพิ่มมูลค่า การสร้างความหลากหลายของตัวผลิตภัณฑ์ เพราะยางพารานำไปทำผลิตภัณฑ์ได้จำนวนมาก เช่นในสถานการณ์การระบายของเชื้อโรคโควิด 19 มีการผลิตภัณฑ์จำนวนมากจากยางพารามาช่วยในการป้องกันการกระจายของเชื้อโรค โดยเชื่อมโยงกับทางการแพทย์ สุขภาพ การกีฬา การขนส่ง งานโครงสร้างอาคาร การเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังคงให้ความสำคัญกับยางพาราในทุกกระบวนการตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเพราะมีที่ตั้งของ 5 วิทยาเขตอยู่ในภาคใต้ ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้มีอยู่พร้อมในมหาวิทยาลัย เพียงแต่นำมาเชื่อมประสานให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น

อ่านต่อ →