จากรายงานของกรมอนามัยถึงกรณีที่มีจำนวนเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น และกว่า 90% มีอาการไม่รุนแรง แต่มีกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ปกครองและคนใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19 ของคนในครอบครัว
เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง นวัตกรรมจากนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนสู่อุปกรณ์ผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในครัวเรือน KIKOWA@HOME โดยอาศัยน้ำเปล่าสะอาดและเกลือแกงผ่านระบบเทคโนโลยีทางเคมีไฟฟ้าที่ใช้วัสดุผสมระดับนาโนที่มีลักษณะเฉพาะสามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อได้ตลอดเวลา ปลอดภัยปราศจากสารเคมีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 64 ศบค.เห็นชอบต่อเวลาล็อกดาวน์พื้นที่สีแดงเข้มต่ออีกอย่างน้อย 14 วัน พร้อมขยายพื้นที่แดงเข้มเป็น 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
หน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ รับสมัครอาสาสมัครผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้การรักษาหายแล้ว บริจาคพลาสม่า(น้ำเหลือง) เพื่อนำไปช่วยเสริมการรักษา ลดความรุนแรงโรคให้แก่ผู้ป่วย COVID-19 เนื่องจากพลาสมาของผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส สามารถนำไปใช้เสริมการรักษาผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค โดยยับยั้งไวรัสก่อนที่จะเข้าไปทำลายเซลล์ปอดขั้นรุนแรงได้ ซึ่งภูมิต้านทานในพลาสมานี้เปรียบเสมือนยาใช้รักษาโรคได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของการติดเชื้อจากโควิด-19 แล้วส่งผลให้มีอาการรุนแรงหรือเสี่ยงต่อการเสียชีวิต มีหลายประการ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ที่มีภาวะอ้วนที่มักจะมีโรคร่วมหรือผลข้างเคียง ซึ่งหากมีการติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียง มีอาการที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์, สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสงขลา รวมถึงโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา จัดเตรียมโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยระบบการจัดการตามมาตรฐานของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์และสำนักงานสาธารณสุขทั้งนี้ประชาชนในพื้นที่สามารถมั่นใจกระบวนการดำเนินการที่มีความปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบกับชุมชนโดยรอบ
ส่วนขยายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (SCCC) หรือโรงพยาบาลสนาม ม.อ. ตั้งอยู่ภายในศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และศูนย์บ่มเพาะคนดี มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จ.สงขลา สามารถรองรับผู้ป่วยโควิด – 19 ที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการ ภายใต้การดูแลของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
วันที่ 14 สิงหาคม 2563 นายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการอบรมเสริมสร้างศักยภาพสื่อมวลชน จังหวัดสงขลา ปี 2563 ณ โรงแรมคริสตัล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและดูแลสุขภาพประชาชนในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ซึ่งยังมีการแพร่ระบาดทั่วโลก และยังพบจำนวน ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในหลายประเทศประกอบกับประเทศไทยยังพบผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา และมาตรการของรัฐพบว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 75 ได้รับผลกระทบด้านการประกอบอาชีพ ร้อยละ 83.6 ระบุมีรายได้ลดลง และบางส่วนร้อยละ 18.2 ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการและการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ แต่ยังพออยู่ได้ด้วยการช่วยเหลือกันในชุมชน พร้อมให้คะแนนความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล 6.39 เต็ม 10 ทั้งนี้การสำรวจ จำนวน 820 ตัวอย่าง จาก 164 ชุมชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อ.จะนะ อ.เทพา อ.นาทวีและ อ.สะบ้าย้อย ระหว่างวันที่ 21 พ.ค. – 5 มิ.ย. 2563