นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึง สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 28 เมษายน 2566 (ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 16 ปี 2566 สคร.12 สงขลา) พบว่า ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม รวม 13,159 ราย อัตราป่วย 19.91 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 12 ราย สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วย 2,216 ราย อัตราป่วย 44.24 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 4 ราย (จังหวัดสงขลา 2 ราย, ตรัง 1 ราย และสตูล 1 ราย)
ผู้ประกอบการภาคใต้สนใจคราฟต์เบียร์สายพันธุ์ไทยจากข้าวพื้นเมือง พุ่งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูง
าคใต้มีข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลายสายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์มีศักยภาพเป็นวัตถุดิบผลิตคราฟต์เบียร์คุณภาพร่วมกับการใช้ข้าวบาร์เล่ย์ โดยดร.อิสระ แก้วชนสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ม.สงขลานครินทร์เล่าว่า คณะนักวิจัยได้หารือกับกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวภูเก็ตซึ่งสนใจอยากผลิตคราฟท์เบียร์เพื่อกลุ่มผู้บริโภคนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูงโดยใช้ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ เช่น ข้าวเบายอดม่วง ข้าวสังหยด ข้าวเล็บนก เป็นต้น โดยทีมวิจัยได้พัฒนามอลต์และสูตรคราฟต์เบียร์ 5 สูตร 10 ชนิด โจทย์สำคัญคือใช้ข้าวไทยและผลไม้ไทยในการผลิตเบียร์ ตอบสนองผู้ผลิตคราฟต์เบียร์ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ปริมาณการผลิต 100 ลิตร 1000 ลิตร และออกแบบเครื่องต้นแบบผลิตเบียร์ขนาด 200 ลิตร ซึ่งมีผู้ประกอบการสนใจเป็นผู้ผลิตเครื่องผลิตเบียร์ขนาด 200 ลิตรดังกล่าวด้วย
ม.อ.วิจัย ยกระดับยางพารา สร้างสินค้าจากหวายเทียม วัสดุยางธรรมชาติ เทอร์โมพลาสติก สร้างรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการ “การพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG” เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการประยุกต์ใช้องค์ความรู้งานวิจัยเป็นฐาน เพื่อผลิตเป็นวัสดุจักรสานสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ตอบโจทย์ BCG Economy ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” ที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนวิจัย แก่ ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ
นักวิชาการ ม.อ. แจง หาดใหญ่ฟ้าไม่ใส ไม่ใช่ “ควันอินโด”เกิดจากระบายอากาศไม่ดี ลมน้อย และมลภาวะในพื้นที่
รศ.ดร.ระชา เดชชาญชัยวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมการศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เล่าในรายการแลบ้านแลเมืองว่า “สภาพอากาศในตอนนี้ มีฝุ่น pm 2.5 ประเทศไทยอยู่ในช่วงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะฉะนั้นลมส่วนใหญ่จะมาจากทางเหนือ ค่า pm 2.5 ในพื้นที่ตอนนี้อยู่ที่ 30-50 µg/m3 ซึ่งช่วงนี้ร้อนอบอ้าวมาก ลมระดับผิวพื้นค่อนข้างต่ำมาก พอลมต่ำอัตราการระบายอากาศไม่ดี เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะฝุ่นหรือควันอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในพื้นที่มันจะถูกระบายไปข้างนอกได้ไม่ดี ลักษณะจะถูกครอบฝุ่นควันเอาไว้ ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในบริเวณภาคใต้ ทั้งควันรถ การเผา ควันจากอุตสาหกรรม ฯลฯ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านกลุ่มเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม บางส่วนเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ และมีลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดมาจากมหาสมุทรอินเดียที่พัดเพิ่มเข้ามา ทั้งนี้หากมีลมในพื้นที่เพียงพอ ปริมาณค่าฝุ่น pm 2.5 ก็จะไม่เกินมาตรฐาน
สธ.สงขลา ชวนรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” และ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566
นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่ประชาชนมีการเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ และเนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ทำให้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ ทั้งปัจจัยด้านคน และยานพาหนะ จากข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจังหวัดสงขลาใน ปี 2565 พบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขับรถเร็วกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ตัดหน้ากระชั้นชิด และทัศนวิสัย สำหรับช่วงเวลาเกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือช่วงเวลา 18.01-21.00 น.ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ (77.78) และการบาดเจ็บรุนแรงส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (66.67) และพบว่าถนนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดอุบัติเหตุสูงสุด รองลงมาคือถนนทางหลวงและทางหลวงชนบท อำเภอที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คืออำเภอหาดใหญ่ จะนะ และเมืองสงขลาตามลำดับ
ม.อ. ร่วมกับ จ.ตรัง และ กยท. จัดงานยางพาราแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ชูเทคโนโลยีนวัตกรรมยาง เพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ จังหวัดตรัง การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดตรัง จัดงานยางพาราแห่งชาติ ครั้งที่ 1 Rubber Expo 2023 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพารา รวมทั้งเป็นการสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดงาน ผศ. ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 66
สคร.12 สงขลา ย้ำเตือน ช่วงหน้าร้อน “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ห่างไกล โรคอาหารเป็นพิษ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เตือนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ช่วงนี้อากาศร้อน อาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย เสี่ยงป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ เน้นย้ำ ประชาชนระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ “กินสุก ร้อน สะอาด” รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีกลิ่นผิดปกติ ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ
กรมควบคุมโรคเตือน กินแมงดาทะเลที่มีพิษ เสี่ยงชีวิตถึงตาย
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2565) ระบบเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค พบเหตุการณ์การรับประทานแมงดาทะเลที่มีพิษ รวม 6 เหตุการณ์ มีข้อมูลผู้รับประทาน 38 ราย ในจำนวนนี้ป่วย 18 ราย และเสียชีวิตรวม 5 ราย มีอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 27.8 (เสียชีวิตประมาณ 1 ใน 3 ราย) ส่วนใหญ่เกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่มาของแมงดาทะเลมีทั้งที่จับเองและซื้อจากร้านอาหารหรือตลาด และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 มีรายงานรับประทานแมงดาทะเลมีพิษเป็นเหตุการณ์แรกของปี 2566 มีผู้ร่วมรับประทาน 7 ราย เสียชีวิต 2 ราย และป่วย 5 ราย อาการที่พบคือ คลื่นไส้ อาเจียน แขนขาไม่มีแรง หายใจผิดปกติรู้สึกชาลิ้นและปาก ปลายมือ ปลายเท้า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย หลังจากรับประทาน จะเริ่มมีอาการภายใน 3 ชั่วโมง และเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง
หน้าร้อนระวังป่วย โรคลมแดด หรือ “ฮีทสโตรก” อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมีอุณหภูมิสูงขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอาจเจ็บป่วยจากโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้แก่ 1.ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ผู้ที่ทำงานก่อสร้างหรือออกกำลังกาย 2.เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ 3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 4.ผู้ที่มีภาวะอ้วน 5.ผู้ที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ และ 6.ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ซึ่งในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้
สธ.สงขลา แนะนำการดูแลสุขภาพในช่วงถือศีลอด “เดือนรอมฎอน”
นพ.สงการนต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เดือนรอมฎอนหรือช่วงถือศีลอด เป็นช่วงที่ชาวไทยมุสลิมได้ปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ ซึ่งตามความหมายของศาสนาของอิสลาม คือ การงดเว้นการกินอาหารเครื่องดื่มทุกชนิด รวมไปถึงงดการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ หรือการกระทำที่ขัดกับคุณธรรม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และป้องกันการเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งป้องกันผลกระทบต่อการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพระหว่างการถือศีลอด ดังนี้