Category: News

Home / News

กรมควบคุมโรคเตือน กินแมงดาทะเลที่มีพิษ เสี่ยงชีวิตถึงตาย

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2565) ระบบเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค พบเหตุการณ์การรับประทานแมงดาทะเลที่มีพิษ รวม 6 เหตุการณ์ มีข้อมูลผู้รับประทาน 38 ราย ในจำนวนนี้ป่วย 18 ราย และเสียชีวิตรวม 5 ราย มีอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 27.8 (เสียชีวิตประมาณ 1 ใน 3 ราย) ส่วนใหญ่เกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่มาของแมงดาทะเลมีทั้งที่จับเองและซื้อจากร้านอาหารหรือตลาด และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 มีรายงานรับประทานแมงดาทะเลมีพิษเป็นเหตุการณ์แรกของปี 2566 มีผู้ร่วมรับประทาน 7 ราย เสียชีวิต 2 ราย และป่วย 5 ราย อาการที่พบคือ คลื่นไส้ อาเจียน แขนขาไม่มีแรง หายใจผิดปกติรู้สึกชาลิ้นและปาก ปลายมือ ปลายเท้า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย หลังจากรับประทาน จะเริ่มมีอาการภายใน 3 ชั่วโมง และเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง

หน้าร้อนระวังป่วย โรคลมแดด หรือ “ฮีทสโตรก” อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมีอุณหภูมิสูงขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอาจเจ็บป่วยจากโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้แก่ 1.ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ผู้ที่ทำงานก่อสร้างหรือออกกำลังกาย 2.เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ 3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 4.ผู้ที่มีภาวะอ้วน 5.ผู้ที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ และ 6.ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ซึ่งในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้

สธ.สงขลา แนะนำการดูแลสุขภาพในช่วงถือศีลอด “เดือนรอมฎอน”

นพ.สงการนต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เดือนรอมฎอนหรือช่วงถือศีลอด เป็นช่วงที่ชาวไทยมุสลิมได้ปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ ซึ่งตามความหมายของศาสนาของอิสลาม คือ การงดเว้นการกินอาหารเครื่องดื่มทุกชนิด รวมไปถึงงดการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ หรือการกระทำที่ขัดกับคุณธรรม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และป้องกันการเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งป้องกันผลกระทบต่อการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพระหว่างการถือศีลอด ดังนี้

เด็กไทยตายเพราะจมน้ำวันละ 2 คน ปีละ 737 คน ย้ำหลักการป้องกันและช่วยเหลือ “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” และ “ ตะโกน โยน ยื่น”

การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยสูงกว่าทุกสาเหตุ ช่วง 10 ปี (พ.ศ.2555 - 2564)  โดยเฉพาะใน เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำไปแล้วถึง 7,374 คน เฉลี่ยปีละ 737 คน หรือวันละ 2 คน โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมใหญ่ฤดูร้อน มีนาคม - พฤษภาคม เป็นเวลาสามเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด คือ 241 คน หรือวันละเกือบ 3 คน (ข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่12 เม.ย. 2565) 

สงขลา ร่วมกับ ภาคเอกชน จัดแถลงข่าวจัดงาน Venue Standards in Songkhla MICC City เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์อุตสากรรมไมซ์ พร้อมพลิกฟื้นภาคเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 66 ที่ผ่านมา นายกองเอกพุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดและแถลงข่าวการจัดงาน Venue Standards in Songkhla MICE City ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา โดยมีนายเฉลิมชนม์ วรรณทอง ผู้อำนวยการหอดูดาวภูมิภาค นางสาวดารณี ทองประชุม ผู้อำนวยการศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี นายปรีดี ปรัชญ์ดำรงค์กิจ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร. สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา ดร.ทรงสิน ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน SCEB และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

สงขลา ตั้งเป้า “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลกด้านอาหารของยูเนสโก” (UNESCO Creative Cities Network-UCCN) เตรียมยื่นพิจารณาปี68

เนื่องจากเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางธรรมชาติ ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นและเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกด้านสินค้าบริการ มีจุดแข็งด้านสินค้าและบริการหลากหลายรูปแบบที่สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เชิงวัฒนธรรมและรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ดังนั้น เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงได้จัดโครงการท่องเที่ยววิธีอาหารโดยใช้ชื่อ Songkhla Gastronomy Tourism สงขลาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร และได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชนในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อสร้างการรรับรู้ให้แก่ภาคประชาชน

ม.สงขลานครินทร์ วข.ตรัง ร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย จัดงานยางพาราแห่งชาติ ครั้งที่ 1 Rubber Expo 2023

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เล่าในรายการเครือข่ายสายตรงวิทยุสถาบัน เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ช่วงสนทนาสถาบันว่า เนื่องจาก จ.ตรัง เป็นเมืองพระยารัษฎาฯ ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นอดีตเจ้าเมือง จ.ตรัง และยังเป็นบุคคลสำคัญที่นำยางพาราต้นแรกมาปลูกที่ จ.ตรัง และได้พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม จึงเป็นการร่วมมือกันของการยางแห่งประเทศไทยและจังหวัดตรัง โดยเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต (หาดใหญ่ ตรัง ภูเก็ต ปัตตานี สุราษฎร์ธานี) ซึ่งได้จัดงานขึ้นที่ จ.ตรัง เนื่องจากเป็นเมืองที่มียางพาราต้นแรกปลูกขึ้นนั่นเอง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานคือ 1.การเชิดชูเกียรติของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ซึ่งปกติเราก็มีกิจกรรมนี้ขึ้นทุกปีอยู่แล้วในเทศกาลเช็งเม้ง 2.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับยางพารา 3.การเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกร ผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพารา

รวมพลังภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ 14 จังหวัดภาคใต้ ร่วมประกาศเจตนารมณ์ “คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบระดับจังหวัดทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสื่อมวลชนศูนย์ข่าวปลอดควัน  เครือข่ายครู, เยาวชน Gen Z Gen Strong ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ จำนวน 150 คน เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ “คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”  โดยมี นายเอกชัย เลิศวิบูลย์ลักษณ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นประธานในการกล่าวนำ  พร้อมด้วย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งนายจูรี นุ่มแก้ว ดาวติ๊กต๊อก(  Influencer จูรี แหลงเล่า ) และ น.ส.นรารัตน์ ศรีเปารยะ เทพีแม่หม้าย นครหาดใหญ่ ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นสื่อมวลชนอาสาศูนย์ข่าวปลอดควันจังหวัดสงขลา

“ต้อหิน”สาเหตุตาบอดถาวรอันดับหนึ่งของโลก ไม่มีสัญญาณเตือน เกิดจากความเสื่อมตามวัยและพันธุกรรม รักษาไม่หายแต่ชะลอไม่ให้เกิดภาวะตาบอดถาวรได้

รศ.นพ.วรวัฒน์  คิดดี จักษุแพทย์ ประจำโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ให้ความรู้ว่าสาเหตุหลักของต้อหินเกิดจากความเสื่อมตามวัยทำให้เกิดความดันในลูกตาสูง ขาดการนำสัญญาณไปที่สมองส่งผลทำให้มองไม่เห็น พบผู้ป่วยต้อหินกว่า 72 ล้านคนทั่วโลก ส่วนผู้ป่วยไทยมีจำนวนประมาณ 2 ล้านคน  เป็นโรคที่เส้นประสาทตาไม่ได้อยู่เฉพาะดวงตา รักษาไม่หายขาด ไม่มีอาการในระยะเริ่มต้น จนกว่าจะถึงระยะท้ายๆผู้ป่วยเริ่มมองไม่เห็นจึงเข้ารับการวินิจฉัยถึงทราบว่าตัวเองเป็นต้อหิน ทำให้การรักษามีความยากลำบาก

สสส. ร่วมกับ ศวส.และภาคีเครือข่าย เปิดตัวหนังสือ “สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา” ชี้ ประเด็นคุมเข้มห้ามโฆษณา สกัดการตลาดน้ำเมา ควบคุมราคาซื้อ-ขาย เป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และภาคีเครือข่าย จัดเวทีสัมมนาวิชาการ เปิดตัวหนังสือ “สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา” นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไทยและทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนป้องกันผลกระทบเชิงลบ ที่อาจเกิดขึ้นในสังคม หลังพบความพยายามเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีเจตนาสร้างค่านิยมส่งเสริมการดื่ม และทำให้มองว่าการดื่มเป็นเรื่องปกติ ขณะที่การศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ปี 2564 พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 165,450 ล้านบาท และเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สร้างความสูญเสียกับประเทศในวงกว้าง