Month: December 2021

Home / 2021 / December

สถาบันยาง ม.อ จัด Mini Exhibition โชว์ผลงานเด่นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยาง

สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำนวัตกรรมที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิชาการมหาวิทยาลัยออกแสดงในรูปแบบ mini exhibition ที่ชั้น 9 อาคาร 2 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 31 มกราคม 2565 ซึ่งหลายชิ้นได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนและนำเข้าสู่เชิงพาณิชย์  เช่น ผลิตภัณฑ์ยางปูพื้น วัสดุจักสานจากยางธรรมชาติ แผ่นหนังเทียมจากยางพารา กระเป๋า ถุงมือยางที่ผสมสารที่สามารถกำจัดเชื้อโควิดได้

จุดยืน 4 ข้อของภาคประชาชน กรณีเข้าร่วมความตกลง CPTPP ของไทย

นิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทน FTA Watch ได้ย้ำถึงจุดยืน 4 ข้อของภาคประชาชนซึ่งได้รวมอยู่ใน ข้อเสนอแนะจากรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎร และข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค

U2T ม.อ. พัฒนา5ผลิตภัณฑ์เด่นและท่องเที่ยววิถีชุมชนวิถีธรรมชาติตำบลสำนักแต้ว ตอบโจทย์ ”สำนักแต้วมีดีอะไร”

U2T ม.อ. พัฒนา 5 ผลิตภัณฑ์เด่นและท่องเที่ยววิถีชุมชนวิถีธรรมชาติตำบลสำนักแต้ว ตอบโจทย์ "สำนักแต้วมีดีอะไร" ที่ตำบลสำนักแต้ว อ.สะเดา จ.สงขลา โดยพื้นที่โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย(U2T) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ซึ่งทีมงาน U2T ม.อ. รวม 38 คนประกอบด้วยบัณฑิตอาสา นักศึกษา ชาวบ้าน ลงพื้นที่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา

นักวิจัยคณะสัตวแพทย์ ม.อ. พัฒนาชุดทดสอบตรวจหาเชื้อโรคเมลิออยโดสิสในแพะเน้นความรวดเร็ว แม่นยำ ลดการแพร่เชื้อสู่แพะตัวอื่นๆและลดการแพร่เชื้อสู่คน

นักวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาชุดทดสอบตรวจหาเชื้อโรคเมลิออยโดสิสในแพะ สามารถวิเคราะห์ผลได้รวดเร็ว แม่นยำ ลดการแพร่เชื้อสู่แพะตัวอื่นๆและลดการแพร่เชื้อสู่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

มหกรรมจิตอาสาภาคใต้ครั้งที่ 4 : มหาวิทยาลัยสู่ชุมชนฝ่าวิกฤติโควิด พัฒนาอาสาสมัครเพื่อสังคมและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

วันนี้ (24 ธันวาคม 2564) ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. จัดมหกรรมจิตอาสาภาคใต้ครั้งที่ 4 : มหาวิทยาลัยสู่ชุมชนฝ่าวิกฤติโควิด รูปแบบออนไลน์ สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) มุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ม.สงขลานครินทร์ คาดวัคซีนชนิด mRNA มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดสายพันธุ์โอมิครอนได้มากกว่าชนิดเชื้อตาย

รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ฝ่ายโรงพยาบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์สายพันใหม่โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่มีการระบาดในขณะนี้นั้น ยังคงต้องรอข้อมูลจากผลการทดลองจากหลอดทดลองสักระยะหนึ่ง โดยการใช้กลไกทางระบาดวิทยาในการประเมินว่าการติดเชื้อชนิดนี้อาการรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อสายพันธุ์เดิมหรือไม่ ถือเป็นการเปรียบเทียบในเชิงระบาดวิทยา เบื้องต้นข้อมูลทางลักษณะพันธุกรรมที่บ่งชี้ถึงลักษณะหนามแหลมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมีแนวโน้มทำให้การติดเชื้อง่ายขึ้นในหลอดทดลอง ที่มีข้อมูลสำคัญคือ ข้อมูลด้านเชิงพันธุศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไวรัสชนิดเดิมซึ่งระบาดมากที่สุดขณะนี้คือเดลต้ากับโอมิครอนว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สามารถศึกษาได้ 2 แบบคือการศึกษาเพียงบางส่วนของสารพันธุกรรมและการศึกษาทั้งหมดของสารพันธุกรรม เรียกว่า “จีโนม” สามารถช่วยให้ได้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลทางด้านคลินิค ประกอบด้วยข้อมูลด้านไวรัสวิทยาคือการทดลองในหลอดทดลองว่าเชื้อสามารถติดกับเซลล์ที่สร้างขึ้นมาได้หรือไม่ หากติดได้มากขึ้นจะมีแนวโน้มแพร่ได้มากขึ้น โอกาสติดง่ายขึ้น แล้วผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีอาการอย่างไร อัตราเสียชีวิตเท่าไหร่ อัตราการนอนโรงพยาบาล การเจ็บป่วยแบบรุนแรงเท่าไหร่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลทางระบาดวิทยาจำนวนผู้ที่มีการติดเชื้อมากขึ้นหรือเปล่า สัดส่วนเท่าไหร่ของการติดเชื้อโควิดทั้งหมด

บัณฑิตอาสาตำบล U2T ม.อ.(หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย) เปิดเพจ “นัดพบที่เขาพระ”เสริมแรงพัฒนาชุมชน รุกสื่อสารออนไลน์ของดีเขาพระ

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่งบัณฑิตอาสาตำบล ปฏิบัติงานต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เสริมแรงพัฒนาชุมชนทุกมิติ โดยโครงการเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 บัณฑิตอาสาตำบลเข้าไปศึกษาศักยภาพชุมชนพบชุมชนโดดเด่นเรื่องพื้นที่ผลิตผลไม้คุณภาพ และมีศักยภาพทั้งผลิตภัณฑ์ตำบลหรือสถานที่ท่องเที่ยว คุณสุทธิยา มหาเจริญและคุณอาอีฉ๊ะ แหละหล๊ะ บัณทิตอาสาตำบลเขาพระ เล่าให้ฟังว่า หลังจากบัณฑิตอาสาเข้าไปศึกษาต้นทุนของเขาพระและนำมาวิเคราะห์พบว่าสามารถยกระดับเพิ่มศักยภาพหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น เครื่องแกงภูต้นหยี น้ำผึ้งชันโรงสวนพี่นนท์ โดยบัณฑิตอาสาได้นำวิทยากรเข้าไปอบรมให้ชาวบ้าน และการพัฒนาการตลาดผลไม้ของบ้านคลองกั่ว

ตลาดนัดผู้บริโภค : กฎหมายร่วมสมัย รู้เท่าทันซื้อขายออนไลน์

ปัจจุบันธุรกิจในโลกออนไลน์ (E-commerce)กำลังเป็นที่แพร่หลาย การซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จึงเป็นสังคมแห่งข่าวสารที่เปิดกว้าง ผู้บริโภคมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศได้อย่างง่ายดายระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นแรงกระตุ้นในการส่งเสริมการค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ต มีการนำเข้าและส่งออกของสินค้าทั้งในและต่างประเทศการซื้อขายในธุรกิจประเภทนี้ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิต ผู้บริโภคจะประหยัดค่าใช้จ่าย สะดวกสบาย รวดเร็วและสามารถดูสินค้าได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปที่ร้าน แต่ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคได้เช่น อาจถูกฉ้อโกงเงิน หรือการได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพตรงตามที่โฆษณา เป็นช่องทางของมิจฉาชีพในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางลบ เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมมือ ม.สงขลานครินทร์ จัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ รองรับการตรวจทุกสายพันธุ์

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการการจัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ Center for Emerging SARS-CoV-2 Lineage Investigation in Southern Thailand (CESLIST) หวังพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจัยสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ในภาคใต้ โดยวางเป้าในการสุ่มตรวจตัวอย่างเดือนละ 300 ตัวอย่าง

ปตท.สผ.ทม.สิงหนคร ร่วมกับ มทร.ศรีวิชัย ถ่ายทอดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์พื้นปูทางเดินและผลิตภัณฑ์กระถางต้นไม้จากขยะพลาสติก ยกระดับศักยภาพชุมชนบ้านทะเลนอก

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ที่ผ่านมา บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เทศบาลเมืองสิงหนคร ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สนับสนุนงานวิจัยถ่ายทอดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์พื้นปูทางเดิน และผลิตภัณฑ์กระถางต้นไม้จากขยะพลาสติกให้แก่ชุมชนบ้านทะเลนอก อ.สิงหนคร จ.สงขลา พร้อมสาธิตการใช้เครื่องบดขยะพลาสติก โดยชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตอย่างครบวงจร

  • 1
  • 2