จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2565) ระบบเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค พบเหตุการณ์การรับประทานแมงดาทะเลที่มีพิษ รวม 6 เหตุการณ์ มีข้อมูลผู้รับประทาน 38 ราย ในจำนวนนี้ป่วย 18 ราย และเสียชีวิตรวม 5 ราย มีอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 27.8 (เสียชีวิตประมาณ 1 ใน 3 ราย) ส่วนใหญ่เกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่มาของแมงดาทะเลมีทั้งที่จับเองและซื้อจากร้านอาหารหรือตลาด และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 มีรายงานรับประทานแมงดาทะเลมีพิษเป็นเหตุการณ์แรกของปี 2566 มีผู้ร่วมรับประทาน 7 ราย เสียชีวิต 2 ราย และป่วย 5 ราย อาการที่พบคือ คลื่นไส้ อาเจียน แขนขาไม่มีแรง หายใจผิดปกติรู้สึกชาลิ้นและปาก ปลายมือ ปลายเท้า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย หลังจากรับประทาน จะเริ่มมีอาการภายใน 3 ชั่วโมง และเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง
นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมีอุณหภูมิสูงขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอาจเจ็บป่วยจากโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้แก่ 1.ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ผู้ที่ทำงานก่อสร้างหรือออกกำลังกาย 2.เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ 3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 4.ผู้ที่มีภาวะอ้วน 5.ผู้ที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ และ 6.ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ซึ่งในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้
นพ.สงการนต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เดือนรอมฎอนหรือช่วงถือศีลอด เป็นช่วงที่ชาวไทยมุสลิมได้ปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ ซึ่งตามความหมายของศาสนาของอิสลาม คือ การงดเว้นการกินอาหารเครื่องดื่มทุกชนิด รวมไปถึงงดการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ หรือการกระทำที่ขัดกับคุณธรรม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และป้องกันการเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งป้องกันผลกระทบต่อการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพระหว่างการถือศีลอด ดังนี้
การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยสูงกว่าทุกสาเหตุ ช่วง 10 ปี (พ.ศ.2555 – 2564) โดยเฉพาะใน เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำไปแล้วถึง 7,374 คน เฉลี่ยปีละ 737 คน หรือวันละ 2 คน โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมใหญ่ฤดูร้อน มีนาคม – พฤษภาคม เป็นเวลาสามเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด คือ 241 คน หรือวันละเกือบ 3 คน (ข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่12 เม.ย. 2565)
เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 66 ที่ผ่านมา นายกองเอกพุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดและแถลงข่าวการจัดงาน Venue Standards in Songkhla MICE City ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา โดยมีนายเฉลิมชนม์ วรรณทอง ผู้อำนวยการหอดูดาวภูมิภาค นางสาวดารณี ทองประชุม ผู้อำนวยการศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี นายปรีดี ปรัชญ์ดำรงค์กิจ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร. สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา ดร.ทรงสิน ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน SCEB และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
เนื่องจากเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางธรรมชาติ ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นและเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกด้านสินค้าบริการ มีจุดแข็งด้านสินค้าและบริการหลากหลายรูปแบบที่สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เชิงวัฒนธรรมและรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ดังนั้น เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงได้จัดโครงการท่องเที่ยววิธีอาหารโดยใช้ชื่อ Songkhla Gastronomy Tourism สงขลาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร และได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชนในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อสร้างการรรับรู้ให้แก่ภาคประชาชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เล่าในรายการเครือข่ายสายตรงวิทยุสถาบัน เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ช่วงสนทนาสถาบันว่า เนื่องจาก จ.ตรัง เป็นเมืองพระยารัษฎาฯ ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นอดีตเจ้าเมือง จ.ตรัง และยังเป็นบุคคลสำคัญที่นำยางพาราต้นแรกมาปลูกที่ จ.ตรัง และได้พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม จึงเป็นการร่วมมือกันของการยางแห่งประเทศไทยและจังหวัดตรัง โดยเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต (หาดใหญ่ ตรัง ภูเก็ต ปัตตานี สุราษฎร์ธานี) ซึ่งได้จัดงานขึ้นที่ จ.ตรัง เนื่องจากเป็นเมืองที่มียางพาราต้นแรกปลูกขึ้นนั่นเอง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานคือ 1.การเชิดชูเกียรติของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ซึ่งปกติเราก็มีกิจกรรมนี้ขึ้นทุกปีอยู่แล้วในเทศกาลเช็งเม้ง 2.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับยางพารา 3.การเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกร ผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพารา
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบระดับจังหวัดทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสื่อมวลชนศูนย์ข่าวปลอดควัน เครือข่ายครู, เยาวชน Gen Z Gen Strong ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ จำนวน 150 คน เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ “คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” โดยมี นายเอกชัย เลิศวิบูลย์ลักษณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นประธานในการกล่าวนำ พร้อมด้วย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งนายจูรี นุ่มแก้ว ดาวติ๊กต๊อก( Influencer จูรี แหลงเล่า ) และ น.ส.นรารัตน์ ศรีเปารยะ เทพีแม่หม้าย นครหาดใหญ่ ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นสื่อมวลชนอาสาศูนย์ข่าวปลอดควันจังหวัดสงขลา
รศ.นพ.วรวัฒน์ คิดดี จักษุแพทย์ ประจำโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ให้ความรู้ว่าสาเหตุหลักของต้อหินเกิดจากความเสื่อมตามวัยทำให้เกิดความดันในลูกตาสูง ขาดการนำสัญญาณไปที่สมองส่งผลทำให้มองไม่เห็น พบผู้ป่วยต้อหินกว่า 72 ล้านคนทั่วโลก ส่วนผู้ป่วยไทยมีจำนวนประมาณ 2 ล้านคน เป็นโรคที่เส้นประสาทตาไม่ได้อยู่เฉพาะดวงตา รักษาไม่หายขาด ไม่มีอาการในระยะเริ่มต้น จนกว่าจะถึงระยะท้ายๆผู้ป่วยเริ่มมองไม่เห็นจึงเข้ารับการวินิจฉัยถึงทราบว่าตัวเองเป็นต้อหิน ทำให้การรักษามีความยากลำบาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และภาคีเครือข่าย จัดเวทีสัมมนาวิชาการ เปิดตัวหนังสือ “สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา” นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไทยและทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนป้องกันผลกระทบเชิงลบ ที่อาจเกิดขึ้นในสังคม หลังพบความพยายามเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีเจตนาสร้างค่านิยมส่งเสริมการดื่ม และทำให้มองว่าการดื่มเป็นเรื่องปกติ ขณะที่การศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ปี 2564 พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 165,450 ล้านบาท และเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สร้างความสูญเสียกับประเทศในวงกว้าง