บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด โดยการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ให้ส่วนราชการและชุมชนมีข้อมูลชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือชาวบ้านตรงความต้องการที่แท้จริง
สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม ม.สงขลานครินทร์ ผนึกความร่วมมือกับหน่วยงานพื้นที่จัดประกวดทุเรียนพื้นบ้าน เก็บข้อมูลและพัฒนา เพิ่มมูลค่าทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำนักงานทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม ม.สงขลานครินทร์ ได้รับงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ทำโครงการวิจัย สำรวจ คัดเลือกและศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมทุเรียนพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป้าหมายเพื่อค้นหา เก็บข้อมูล พัฒนาคุณภาพและช่องทางการตลาดของทุเรียนพื้นบ้านภาคใต้ โดยเฉพาะเฟ้นหาทุเรียนที่มีศักยภาพเทียบเท่าหรือมากกว่าทุเรียนดัง "มูซานคิง"
สงขลานครินทร์ รับน้องสร้างสรรค์ป้องกันโควิด19
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมีการวางมาตรการป้องกัน และเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายการเรียนการสอนแบบปกติ และการสอนแบบออนไลน์ควบคู่กันไป รวมถึงการกำหนดแนวทางจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์พร้อมทั้ง ขอความร่วมมือคณะและหน่วยงานจัดทำและติดตั้ง QR Code “PSU Care” ณ สถานที่ตั้งของคณะและหน่วยงานนั้น ๆ ทำการสแกน QR Code “PSU Care” เช็คอิน (Check-in) ก่อนเข้ามาในอาคาร/ห้องเรียน และเช็คเอาท์ (Check-out) ก่อนออกจากอาคาร/ห้องเรียนทุกครั้งเพื่อเป็นกรอกรายงานสุขภาพเบื้องต้น
ม.อ.พร้อมดูแล นศ. ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 “นักศึกษาเรียนได้ มีทุนการศึกษาให้”
ผศ.สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ม.อ. ได้เปิดเผยข้อมูลว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 13 ก.ค. 63 โดยการสอนจะเป็นการสอนแบบปกติ (เว้นระยะห่างของนักศึกษา) และการสอนแบบออนไลน์ควบคู่กันไป ทุกการดำเนินการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นไปตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และเป็นการดูแลความปลอดภัย และป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ความมั่นใจมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พร้อมดูแลนักศึกษาทั้ง 5 วิทยาเขต “นักศึกษาเรียนได้ มีทุนการศึกษาให้”
ลดจน-ลดเจ็บ-เพิ่มสุข-เพิ่มศักยภาพชุมชน เป็นเป้าหมายของวิทยาเขต ม.อ. เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนภาคใต้
“แต่ละวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีบริบทที่ต่างกันไป และมีการการหนุนเสริมตามทุนที่เรามีอยู่ คือศิษย์เก่าที่มีศักยภาพทั้งในความเป็นนักวิชาการและในวิชาชีพของเขาเหล่านั้น เป็นทุนที่ดีของพื้นที่ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายไปที่การ “ลดจน” ทั้งด้านเศรษฐกิจและศึกษา การ “ลดเจ็บ” คือการดูแลสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบในเชิงกว้าง การ “เพิ่มสุขและสันติภาพ” และการ “เพิ่มศักยภาพของพื้นที่” ’ในมิติของเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งโครงการต่างๆ ต้องทำให้เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์จึงจะได้รับการยอมรับจากพื้นที่ ทุกคณะทุกหน่วยงานจึงต้องมีการตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อทำให้สำเร็จ”
ม.สงขลานครินทร์ ต้อนรับที่ปรึกษา รมต. เกษตรฯ ประชุมขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) จ.สงขลา
วันที่ 26 มิถุนายน 2563 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยอาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและการเงิน ผศ.ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ต้อนรับ นายอลงกรณ์ พลบุตร ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เพื่อประชุมขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) (Agritech and Innovation Center หรือ AIC)จังหวัดสงขลา และเยี่ยมชมนิทรรศการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
“สงขลานครินทร์” ตั้งเป้าเป็นแหล่งเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และใช้เทคโนโลยีในการจัดการปัญหาพื้นที่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งวิสัยทัศน์โดยรวมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมของทั้ง 5 วิทยาเขต คือ ปัตตานี หาดใหญ่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง เพื่อเป็นรากฐานให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยแต่ละวิทยาเขตมีทั้งความเหมือนและมีจุดเด่นในคณะวิชาหลักๆ ที่ต่างกัน มีความทันสมัย ความเข้มแข็งของการเรียนการสอน การสามารถนำไปใช้กับชีวิตจริงได้ เน้นการทำประโยชน์เพื่อสังคม
ม.สงขลานครินทร์ คิดค้นอุปกรณ์หนุนสะโพกจากยางธรรมชาติ สร้างความปลอดภัยให้ผู้สูงอายุ
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์หนุนสะโพก จากยางธรรมชาติ ประกอบด้วย แผ่นหนุนสะโพก และ ชุดหนุนสะโพกทำด้วยผ้ายืด ออกแบบเป็นเข็มขัดรัด สามารถลดแรงกระแทกได้ถึง ร้อยละ 37 มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อสะดวกต่อทุกสถานที่ในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถปรับได้ตามต้องการ ผลงานได้รับมาตรฐาน มอก. ๒๙๕๘-๒๕๖๒ และได้รับอนุสิทธิบัตรการออกแบบ และกระบวนการผลิต (หมายเลข 1703000630 และ 1703000631)
สงขลานครินทร์ สานต่อโครงการ “ทักษะการสื่อสารเพื่อรับมือปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษา” รุ่นที่2
วันนี้ (19 มิถุนายน 2563) ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "ทักษะการสื่อสารเพื่อรับมือปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษา รุ่นที่ 2" โดยมีการบรรยายและฝึกปฏิบัติในหัวข้อ "สุนทรียสนทนา" และ "การดูแลด้วยหัวใจ"
สงขลานครินทร์ ลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดโปรตีน แก่ บริษัท วธูธร จำกัด บริษัท ฮายาลิต้า กรุ๊ป จำกัด และบริษัท พี เอส ยู นวัตวาณิชย์
วันที่ 17 มิถุนายน 2563 เวลา 12.00 – 13.00 น. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) จัดพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยโครงการ กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดโปรตีนจากน้ำเลี้ยงเชื้อ lactobacilus rhamnosus และ lactobacilus casei แก่บริษัทจำนวน 3 บริษัท ดังนี้ 1.บริษัท พี เอส ยู นวัตวาณิชย์ 2.บริษัท วธูธร จำกัดและ3. บริษัท ฮายาลิต้า กรุ๊ป จำกัด ณ ห้อง AG06 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จ.สงขลา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่