มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดปฐมนิเทศและอบรมบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ในรูปแบบประชุมออนไลน์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปยังศูนย์ถ่ายทอดของแต่ละวิทยาเขต และห้องประชุมย่อยขององค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของแต่ละพื้นที่ที่มีการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสา รวม 80 พื้นที่ ใน 9 จังหวัด ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ได้รับการคัดเลือกจำนวน 400 คน จากผู้สมัคร 2,857 คน ได้เรียนรู้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการรวบรวมข้อมูล และการจัดเก็บอย่างมีระบบในการปฏิบัติงาน มีความรู้เบื้องต้นในการศึกษาชุมชน เพื่อการทำงานร่วมกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“สงขลานครินทร์” ทำแผนนำวิทยาศาสตร์ดิจิทัลสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เกษตร การท่องเที่ยว และสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำแผนงาน “วิทยาศาสตร์ดิจิทัลเพื่อสร้างนวัตกรรม สําหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรมนุษย์” เพื่อใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง การท่องเที่ยว และสาธารณสุข เพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัล ที่ต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นผู้ที่มีความรู้และมีทักษะที่จําเป็นสำหรับอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่และการพัฒนาประเทศตามแนว BCG Economy ที่เน้นการพัฒนาโดยอาศัยเศรษฐกิจชีวภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยความร่วมมือด้านวิชาการกับ Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา และงบประมาณสนับสนุนจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
มาตรการช่วยเหลือ นศ. ในสถานการณ์วิกฤติ COVID-19 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเปรียบเหมือนครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากและเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องมีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษา เป็นหน้าที่ของฝ่ายกิจการนักศึกษาที่ต้องดูแลเรื่องนี้
สงขลานครินทร์ ทุ่มกว่า 400 ล้านบาท ช่วยนศ. 5 วิทยาเขต จากสถานการณ์โควิด-19
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมกว่า 400 ล้านบาท ตามมาตรการช่วยเหลือนักศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ประกอบด้วยทุนการศึกษาและการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ในปลายปีการศึกษา 2562 และในปีการศึกษา 2563 ดังนี้
นโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาทุกระดับชั้น ในสถานการณ์ COVID-19 (ประกาศ ม.อ.)
ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาทุกระดับชั้น ในสถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในวงกว้าง ทำให้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การปฏิบัติงาน และการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติการศึกษาทุกระดับชั้น (ปริญญาตรี โท เอก)
สงขลานครินทร์ พัฒนาระบบและหุ่นยนต์ขนส่งตรวจวัดไข้ “ADA Robot” สนับสนุนการทำงานของแพทย์ ดูแลผู้ป่วยโควิด-19
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับภาครัฐและเอกชน พัฒนาระบบและหุ่นยนต์ขนส่งตรวจวัดไข้ “ADA Robot” ควบคุมจากระยะไกลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และเครื่องวัดอุณหภูมิระยะไกลด้วย IF อินฟราเรด สนับสนุนการทำงานของแพทย์ เพื่อช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ณ ศูนย์กักตัว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
สงขลานครินทร์ จ้างงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 400 อัตรา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 จำนวน 400 อัตรา มีค่าตอบแทน 9,000 บาทต่อเดือน ในระยะเวลาจ้างงาน 5 เดือน ทั้งนี้เพื่อสร้างงานรองรับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตและเสริมศักยภาพให้กำลังแรงงานสมัยใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะในการทำงานในด้านต่างๆ วิเคราะห์และแก้ปัญหาชุมชน การพัฒนานวัตกรรมทางสังคม ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และสังคมเฉพาะด้าน อีกทั้งยังสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในมิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ศิษย์เก่าสงขลานครินทร์ ผู้จัดระบบและวางยุทธศาสตร์รับมือโควิด-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่หลายฝ่ายต่างพยายามทุกวิถีทางเพื่อช่วยกันเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น ในนาทีนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญผู้ทุ่มเทในการวางจัดระบบและวางแผนรับมือการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข้อมูลการแพร่ระบาดและตอบข้อซักถามแก่สื่อมวลชนรายวัน
ม.สงขลานครินทร์ จัดคาราวานมอบอุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้กับ 30 โรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เคลื่อนขบวนคาราวานมอบอุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่จัดทำและได้รับบริจาคจากประชาชนให้กับ 30 โรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
30 ปี สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เชิญศิษย์เก่าคืนสู่เหย้า ระดมทุนสมทบ “กองทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์”
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เริ่มโครงการขยายการศึกษามายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 ซึ่งจากการศึกษาพบว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีศักยภาพด้านต่าง ๆ สูง เหมาะสมที่จะจัดตั้งสถานศึกษาระดับสูง เพื่อรองรับการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ได้ให้ความสนับสนุนอย่างจริงจัง โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จึงพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเป็นวิทยาเขตที่ 4 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์...